โครงหาฝึกอบรมเชิงปฏิบัติงานระบบบำเหน็จค้ำประกันในส่วนภูมิภาค หลักสูตรสำหรับส่วนราชการ

โครงหาฝึกอบรมเชิงปฏิบัติงานระบบบำเหน็จค้ำประกันในส่วนภูมิภาค หลักสูตรสำหรับส่วนราชการ
ผู้บันทึก :  นางปวันณัฐ จันทร์ภักดี
  กลุ่มงาน :  งานบริหารทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 21 ธ.ค. 2553   ถึงวันที่  : 21 ธ.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  ศูนย์เทคโนโลยี่สารสนเทศกรมบัญชีกลาง
  จังหวัด :  สุราษฎร์ธานี
  เรื่อง/หลักสูตร :  โครงหาฝึกอบรมเชิงปฏิบัติงานระบบบำเหน็จค้ำประกันในส่วนภูมิภาค หลักสูตรสำหรับส่วนราชการ
  วันที่บันทึก  7 มี.ค. 2554

 รายละเอียด
               ๑. ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการอบรม/ประชุม/สัมมนา ครั้งนี้ ๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ บริหารการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่ ๑ บำเหน็จค้ำประกัน พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๓ เหตุผลในการประกาศใช้ – เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของผู้รับบำนาญ – ส่งเสริมการสงทุนอันเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม ผู้รับบำนาญที่สามารถใช้สิทธิได้ – เป็นผู้รับบำนาญปกติ (ไม่เป็นสมาชิก กบข.) และหรือบำนาญพิเศษเหตุ ทุพพลภาพ – มีทายาทตามกฎหมายบำเหน็จบำนาญ และหรือมีผู้ที่แสดงเจตนาให้รับบำเหน็จ ตกทอด (แบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด) – ยินยอมให้ส่วนราชการผู้เบิก หักบำนาญและเงินอื่นที่ได้รับในแต่ละเดือนชำระ คืนเงินกู้ให้แก่ธนาคารตามสัญญากู้เงิน – ยินยอมให้เปิดเผยข้อมูล -๒- ทายาทตามกฎหมายบำเหน็จบำนาญ – บิดา มารดา – คู่สมรส – บุตร (บุตรบุญธรรม) – หนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการ คลังกำหนด (ไม่เกินสามคน) กรณีฐานข้อมูลไม่มีทายาทลำดับใด – นำหลักฐานการเป็นทายาทไปแสดงที่ส่วนราชการ(ติดต่อนายทะเบียน) – ทำหนังสือแสดงเจตนาให้ถูกต้อง หลักฐานการเป็นทายาท – นายทะเบียนผู้รับบำเหน็จบำนาญจะบันทึกข้อมูลทายาทผู้มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอด ลงในระบบบำเหน็จตกทอดลงในระบบบำเหน็จบำนาญให้ครบถ้วน ถูกต้อง – จากหลักฐานที่ท่านนำไปแสดง หลักฐานของทายาท ๑. สำเนาทะเบียนบ้านของทายาททุกคน ๒. หลักฐานการเป็นบิดา มารดา คู่สมรส บุตร (บุตรบุญธรรม) ๓. หลักฐานการตายาของ บิดา มารดา คู่สมรส บุตร (บุตรบุญธรรม) ๔. สำเนาการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล หลักฐานของบุคคลซึ่งท่านได้แสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด สำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลที่ท่านแสดงเจตนาไว้ หนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด ตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ข้าราชการและผู้รับบำนาญ ระบุชื่อบุคคลธรรมดา ไม่เกิน ๓ คน (กำลังแก้กฎหมาย) ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ / ให้ลงลายมือชื่อรับหนังสือในหน้าที่ ๒ ให้ท่านเก็บคู่ฉบับหนังสือไว้ ๑ ฉบับ การคำนวณบำเหน็จตกทอดกรณีผู้รับบำนาญตาย บำนาญ + เงิน ช.ค.บ. X ๓๐ หัก บำเหน็จดำรงชีพที่ได้รับไปแล้ว -๓- ส่วนที่ ๒ บำเหน็จดำรงชีพ รับครั้งแรก – ๑๕ เท่าของบำนาญ – ไม่เกินสองแสนบาท รับครั้งที่ ๒ เมื่ออายุครบ ๖๕ ปีบริบูรณ์แล้ว – ๑๕ เท่าของบำนาญ – ไม่เกินสองแสนบาท เลือกรับครั้งเดียวเมืออายุ ๖๕ ปี บริบูรณ์แล้ว – ๑๕ เท่าของบำนาญ – ไม่เกินสี่แสนบาทถ้วน วงเงินประกันการกู้เงิน จำนวนเงินอย่างสูงที่ใช้เป็นหลักประกันการกู้เงินซึ่งมีจำนวนไม่เกินสิทธิใน บำเหน็จตกทอดที่ได้หักบำเหน็จดำรงชีพออกแล้ว เมื่อผู้รับบำนาญบำเหน็จตกทอดไปค้ำประกันการกู้เงินแล้วจะขอบำเหน็จดำรงชีพ ที่เหลืออีกไม่ได้จนกว่าการกู้เงินตามสัญญาจะสิ้นสุดลง


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ กฎระเบียบ ขั้นตอน กระบวนการ การดำเนินการ เรื่อง การนำเงินบำเหน็จตกทอดเพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันเงินกู้


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
               ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน ด้านการนำผลการพัฒนาไปใช้ประโยชน์

(346)

Comments are closed.