ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทําวารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและสาธรณสุขภาคใต้ (SC-Net)

ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทําวารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและสาธรณสุขภาคใต้ (SC-Net)

แบบฟอร์มสําหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

วันที่บันทึก : 20 สิงหาคม 2557

ผู้บันทึก : นางสาวบุญธิดา เทือกสุบรรณ

ประเภทการปฏิบัติงาน (เช่น ประชุม อบรม ฯลฯ) : ประชุม

วันที่ 9 – 10 มิถุนายน 2557

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

สถานที่จัด : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

เรื่อง : ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทําวารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและสาธรณสุขภาคใต้ (SC-Net)

รายละเอียด

เพื่อเข้าร่วมเป็นกองบรรณาธิการวารสารและตรวจบทความงานวิจัย และการจัดทําวารสารเครือข่าย SC net

เนื้อหาการประชุมโดยสรุป :

ขั้นตอนการจัดทําวารสาร

1. ลงทะเบียนรับบทความ

2. ให้รหัสบทความ

3. ตอบรับเรื่องตามแบบฟอร์ม

4. บรรณาธิการคัดกรอง และให้ความเห็น

5. ตั้ง reviewer 2-3 คน

6. ส่ง review ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนหรือ อีเมล์

7. ติดตามผลทาง reviewer

8. สรุปผลการ review และสรุปข้อเสนอแนะ

เพื่อเข้าร่วมเป็นกองบรรณาธิการวารสารและตรวจบทความงานวิจัย และการจัดทําวารสารเครือข่าย SC net

9. ทําจดหมายแจ้งสรุปการแก้ไข accept/reject พร้อมสรุปข้อเสนอแนะ (draft1)

10. ทวง draft จากนั้นแก้ไขสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ส่ง draft 2

11. ตรวจ format ของวารสาร

12. ตรวจภาษาอังกฤษ

13. ตรวจ reference

14. บรรณาธิการตรวจความถูกต้องทั้งหมด ก่อนส่งทํา Art work (AW1)

15. ส่งทํา AW 1,2,3

16. ส่ง author ผู้จัดการตรวจสอบ AW1,2,3

17. ส่ง AW2 ให้โรงพิมพ์

18. โรงพิมพ์วารสาร (ต้องสุ่มตรวจ หน้าอาจไม่ครบ)

การควบคุมคุณภาพบทความ

1. บรรณาธิการตรวจสอบคุณภาพบทความว่าเข้าข่ายจะตีพิมพ์ในวารสารหรือไม่ หากไม่เข้าข่ายให้ปฏิเสธตั้งแต่แรก ไม่ต้องนํามาเข้ากระบวนการ review

2. การคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาบทความ-เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ มีเวลาอ่านและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์

3. กองบรรณาธิการผู้รับผิดชอบบทความนั้นๆสรุปข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิให้ครบถ้วยสาระและอาจเติมในประเด็นที่ขาด

4. กองบรรณาธิการที่รับผิดชอบบทความต้องตรวจสอบการแก้ไขจนกว่าจะถูกต้อง ครบถ้วน (เฉลี่ย 2-3 รอบ)

5. บรรณาธิการตรวจสอบคุณภาพของทุกบทความ ความถูกต้องของเนื้อหา ระเบียบวิธีวิจัย ก่อนส่งให้ผู้จัดการดําเนินการจัดพิมพ์

1. กองบรรณาธิการวารสารส่งตัวเล่มวารสารย้อนหลัง 3 ปี หรือตัวเล่มวารสารที่ตีพิมพ์ไม่น้อยกว่า 6 ฉบับ (นับจากปีปัจจุบัน) พร้อมทั้งข้อมูลการบริหารจัดการวารสาร (แบบฟอร์มการคัดเลือกวารสารเพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI และ สําเนาผลการประเมินบทความของผู้ทรงวุฒิที่พิจารณาบทความ (ปีปัจจุบัน)) มายังศูนย์ TCIวารสารด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140

การนําวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI

1. กองบรรณาธิการวารสารส่งตัวเล่มวารสารย้อนหลัง 3 ปี หรือตัวเล่มวารสารที่ตีพิมพ์ไม่น้อยกว่า 6 ฉบับ (นับจากปีปัจจุบัน)พร้อมทั้งข้อมูลการบริหารจัดการวารสาร (แบบฟอร์มการคัดเลือกวารสารเพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI และ สําเนาผลการประเมินบทความของผู้ทรงวุฒิที่พิจารณาบทความ (ปีปัจจุบัน)) มายังศูนย์ TCIวารสารด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140

2. ศูนย์ TCI พิจารณาตัวเล่มวารสารตามเกณฑ์ในการคัดเลือกวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI

3. ศูนย์ TCI แจ้งผลการพิจารณากลับไปยังกองบรรณาธิการวารสาร

4. ศูนย์ TCI ดําเนินการบันทึกข้อมูลการตีพิมพ์และข้อมูลการอ้างอิงของวารสารที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก เข้าสู่ฐานข้อมูล TCI

5. ศูนย์ TCI จะประกาศค่า T-Journal Impact Factors (T-JIF) ทุกวันที่ 15 กรกฎาคมของทุกปี

การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI

1. บทความทุกบทความต้องมีการควบคุมคุณภาพจากผูทรงคุณวุฒิ (peer review) โดยมีข้อมูลประกอบดังนี้

1.1 สําเนาผลประเมินของผู้ทรงวุฒิที่ เชิญพิจารณาบทความตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 – 31 ธันวาคม 2557

1.2 รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิของข้อ 1.1 (ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล์) โดยทาง TCI จะเก็บข้อมูลเป็นความลับ

วารสารที่ไม่ส่งข้อมูลดังกล่าวจะไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินข้อนี้

2. วารสารต้องออกตรงตามเวลาที่กําหนด (ทุกฉบับของปี พ.ศ. 2557 ต้องออกตีพิมพ์ทั้งหมดภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2557)

1. วารสารต้องมีอายุการตีพิมพ์บทความวิชาการไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือ ตีพิมพ์ อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 6 ฉบับ

2. วารสารต้องมี citation ที่ตรวจสอบได้จากฐานข้อมูล TCI

3. วารสารต้องมีการกําหนดกติกาและรูปแบบการตีพิมพ์อย่างชัดเจน

4. วารสารต้องมีกองบรรณาธิการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิมาจากหลากหลาย

5. วารสารต้องตีพิมพ์บทความที่มีผู้นิพนธ์มาจากหลากหลายหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก

6. วารสารต้องมีการตีพิมพ์บทความที่มีรูปแบบการตีพิมพ์และรูปเล่มที่ได้มาตรฐาน ได้แก่

7. วารสารต้องมีเว็บไซต์ที่ มีข้อมูลกติกาและรูปแบบการตีพิมพ์ และมี การปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง

8. วารสารต้องมีระบบการส่งบทความแบบออนไลน์ หรือระบบ Online Journal System (OJS) ที่ ไม่ใช่การส่งบทความโดยใช้อีเมล์

เพิ่มแหล่งการเผยแพร่งานวิจัยของอาจารย์ในวิทยาลัย

มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการจัดทําวารสารงานวิจัย

การนํามาประยุกต์ใช้ในองค์กร

เป็นข้อมูลสําหรับฝ่ายบริหารให้รับทราบว่ามีแหล่งเผยแพร่ผลงานวิชาการของอาจารย์ในหน่วยงาน

-กระตุ้นให้อาจารย์ในวิทยาลัยผลิตผลงานวิจัยและบทความทางวิชาการเพิ่มขึ้น

เนื่องจากมีแหล่งในการเผยแพร่งานวิจัยที่มีอาจารย์ในวิทยาลัยอยู่ในกองบรรณาธิการวารสาร (497)

Comments are closed.