Author Archives: admin

ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาบุคลากรในการใช้ระบบฐานข้อมูลคลังความรู้ทางวิชาการ

ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาบุคลากรในการใช้ระบบฐานข้อมูลคลังความรู้ทางวิชาการ

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

 วันที่บันทึก :  6   สิงหาคม    ๒๕๕๖

 ผู้บันทึก :  ดร. รัถยานภิศ  พละศึก และ  นางสาวปิยะนุช  ชูเกิด 

 กลุ่มงาน : งานวิจัย ผลงานวิชาการ และการจัดการความรู้

 ประเภทการปฏิบัติงาน : ประชุม

 วันที่   2   สิงหาคม    2556

 หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก

 สถานที่จัด : ณ   โรงแรม  เบสท์  เวสเทิร์น  พลัส  แกรนด์  ฮาวเวิร์ด  กรุงเทพมหานคร

  เรื่อง    ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาบุคลากรในการใช้ระบบฐานข้อมูลคลังความรู้ทางวิชาการ

 รายละเอียด

การใช้ระบบคลังความรู้ทางวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก จากที่ได้ไปประชุมมาเมื่อ  วันที่  2   สิงหาคม  2556  สรุปหัวข้อหลักๆที่สำคัญได้ดังนี้

  1. ใช้ระบบฐานข้อมูลคลังความรู้ทางวิชาการ โดยเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลงานวิจัย และการจัดการความรู้
  2. โดยจะมีเมนูในระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร MIS  เกี่ยวกับระบบงานวิจัย เมนูหลักดังนี้

-          เมนูค้นหางานวิจัย

-           เมนูจำนวนประเภทผลงาน

-           เมนูคะแนนงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่

-           เมนูข้อมูลผลงานทางวิชาการ

-           เมนูการจัดการข้อมูล

-           เมนูการจัดการข้อมูลส่วนกลาง   สำหรับ  Link  ไปยังผู้ดูแลฐานข้อมูลสถาบันพระบรม  ราชชนก

-           เมนูรายงานประเภทต่างๆ

-           เมนูออกจากระบบ

 หมายเหตุ  เมนูทั้งหมดนี้จะเข้าไปเพิ่ม  บันทึก  แก้ไข  ต้องเป็น  Admin  ผู้ที่ดูแลระบบงานวิจัยเท่านั้นถึงจะเข้าข้อมูลทั้งหมดนี้ได้  โดยต้องมีรหัสเข้าระบบ

  1. เมนูทั้งหมดนี้จะเกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพ องค์ประกอบต่อไปนี้

องค์ประกอบที่  4   

องค์ประกอบที่  4.2.1 

องค์ประกอบที่  4.2.3 

องค์ประกอบที่  4.3

องค์ประกอบที่  7.2 

  ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

การจัดทำฐานข้อมูลการวิจัย (301)

การคิดบวกคิดสร้างสรรค์

การคิดบวกคิดสร้างสรรค์

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

วันที่บันทึก :  6   ธันวาคม  2556

ผู้บันทึก : นายสิงห์  กาญจนอารี

กลุ่มงาน : งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

ฝ่าย: บริหาร

ประเภทการปฏิบัติงาน : ประชุม

วันที่  25  พฤศจิกายน  2556   ถึงวันที่   26  พฤศจิกายน  2556  

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  แก้วกัลยาสิกขาลัย สถาบันพระบรมราชชนก

สถานที่จัด  ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ กรุงเทพมหานคร   

เรื่อง   :   การคิดบวกคิดสร้างสรรค์

รายละเอียด

วิธีการฝึกคิดบวก 12 ขั้นตอน ง่ายๆ ต่อไปนี้

1. ให้มองไปข้างหน้า อย่ามองย้อนหลัง ทุกคนเคยทำผิดมาแล้วทั้งนั้น แต่ต้องไม่จมอยู่กับอดีตที่

ผิดพลาด เพราะชีวิตต้องดำเนินต่อไป จงวางเป้าหมายเล็กๆที่เป็นไปได้ และพยายามทำให้สำเร็จ

2. รู้จักให้อภัยตัวเองและผู้อื่น สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต เป็นผลพวงมาจากการกระทำของตนเองทั้งสิ้น ในบางครั้งบางคราว เราต่างตัดสินใจผิดพลาด แต่เมื่อรู้สำนึกแล้ว ก็ต้องปล่อยให้มันผ่านไป เรียกว่าเป็นการให้อภัย และต้องให้อภัยตัวเองเมื่อทำผิดพลาด เพื่อที่จะเดินหน้าต่อไป รวมทั้งใช้ความผิดพลาดจากอดีตเป็นบทเรียน เพื่อก้าวย่างที่ดีกว่าในอนาคต

3. ถ้าแก้วมีน้ำแค่ครึ่งเดียว จงเติมให้เต็มแก้ว การมองว่า มีน้ำเหลืออยู่ครึ่งแก้ว หรือน้ำหายไปครึ่งแก้วนั้น ถูกทั้ง 2 อย่าง อยู่ที่ว่าผู้มองเป็นคนมองโลกในแง่ดีหรือร้าย และไม่ผิดอะไรที่จะเติมน้ำให้เต็มแก้ว

4. มองหาบุคคลต้นแบบ ทุกคนควรมีบุคคลต้นแบบที่เป็นแรงบันดาลใจ คนคนนั้นอาจเป็นผู้ที่เอาชนะอุปสรรคใหญ่ๆได้สำเร็จ และประสบความสำเร็จอย่างงดงามในที่สุด หรือเป็นผู้ที่ทำงานหนักและสัมฤทธิ์ผล จงเอาคนนั้นเป็นแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิต

5. พาตัวเองเข้าไปอยู่ในแวดวงของคนที่ประสบความสำเร็จและมอง โลกในแง่ดี มันเป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่พลังอำนาจของคนอื่น สามารถส่งผลกระทบต่อพลังในตัวเราได้ คนที่คิดในด้านบวกจะช่วยกระตุ้นและเป็นแรงบันดาลใจให้เรา เชื่อมั่นในตัวเองว่า เราสามารถทำสิ่งที่มุ่งมั่นไว้ให้สำเร็จได้ จำไว้ว่า..จงอยู่ให้ห่างคนที่คิดแต่แง่ร้าย ซึ่งจะขัดขวางการเดินหน้าของคุณ ดังพุทธศาสนาสุภาษิตที่ว่า “คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล”

6. เห็นคุณค่าสิ่งดีๆในชีวิต เมื่อเราพอใจกับทุกเรื่องดีๆที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม มันจะช่วยให้เราขจัดความคิดในด้านลบออกไป การโฟกัสแต่สิ่งดีๆเหล่านี้ จะทำให้อุปสรรคที่เราเผชิญอยู่ กลายเป็นเรื่องเล็กน้อยที่เราจัดการได้ง่ายขึ้น

7. รู้จักบริหารเวลาอย่างชาญฉลาด อย่าเสียเวลากับเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับสิ่งที่คุณตั้งเป้าไว้ในชีวิต ข้อสำคัญคือ มุ่งทำในเรื่องที่ทำให้ชีวิตของคุณเป็นไปดังที่หวังไว้ ซึ่งจะส่งผลให้คุณมีทัศนคติที่ดี

8. จินตนาการว่ามีสิ่งดีๆเกิดขึ้น แปลกแต่จริงที่ว่า คนส่วนมากมักชอบวาดภาพเรื่องเลวร้ายกำลังเกิดขึ้น โดยมักจะพูดว่า “ถ้ามันเกิดขึ้น…” จงฝึกนึกถึงเรื่องดีๆกำลังเกิดขึ้น มองเห็นภาพงานที่กำลังทำเดินไปด้วยดี (ไม่ว่าจะเป็นงานที่บ้านหรือที่ทำงาน) และได้รับคำชมจากคนรอบข้างว่า“เยี่ยมมาก” เพราะนั่นจะเป็นกำลังใจให้คุณคิดบวกต่อไป

9. ความผิดพลาดมีไว้ให้เรียนรู้ มิใช่แส้ที่เอาไว้เฆี่ยนตี ทุกคนล้วนเคยทำผิดทั้งนั้น และถึงแม้ว่าได้พยายามอย่างดีที่สุดแล้ว แต่ก็ยังทำพลาด ขอให้จำไว้ว่า ยังมีโอกาสให้เริ่มต้นใหม่ ความผิดพลาดต่างๆที่ผ่านมาถือเป็นบทเรียน เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข สิ่งที่จะทำต่อไปในอนาคต

10. อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ถ้ารอบๆตัวเต็มไปด้วยข้าวของวางระเกะระกะ กระจัดกระจายไปทั่วห้อง ลองหาเวลาจัดเก็บ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งจะช่วยให้คุณเปลี่ยนมุมมอง ความคิดได้มาก ใครจะมองโลกในแง่ดีได้ ถ้าต้องอยู่ท่ามกลางสภาพสกปรกรกรุงรังตลอดเวลา เพราะสภาพแวดล้อมที่ดี จะช่วยสร้างและเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดทัศนคติด้านบวก

11. รับข้อมูลข่าวสารที่ดี หมั่นอ่านบทความที่สร้างแรงจูงใจ หรือฟังธรรมะที่กระตุ้นให้รู้สึกตื่นตัว และเกิดปัญญา ซึ่งจะช่วยให้มองโลกและชีวิตได้อย่างเข้าใจ มีความหวัง และความสุข

12. ให้คำมั่นสัญญากับตัวเอง และบอกตัวเอง ซ้ำๆ เพราะคำมั่นสัญญาดีๆมีผลต่อกระบวนการคิดของตัวเอง เช่น ถ้าคุณมีอาการซึมเศร้าเป็นประจำ คำมั่นสัญญาของคุณก็คือ “ฉันมีความสุข ฉันควบคุมตัวเองได้” บอกตัวเองเช่นนี้หลายๆครั้งในแต่ละวัน แล้วคุณจะรู้สึกถึงพลังความคิดด้านบวกที่เกิดขึ้น

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

 การเป็นวิทยากรและกระบวนกร /สอนวิชา กระบวนการคิด

 ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

 

  (378)

การจัดการและการดูแลผู้สูงอายุ ที่มีโรคหลอดเลือดสมอง

การจัดการและการดูแลผู้สูงอายุ ที่มีโรคหลอดเลือดสมอง

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก : 19   กรกฎาคม  2556                       

ผู้บันทึก : นางสาวภาวดี  เหมทานนท์      

กลุ่มงาน : การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช  สังกัดศูนย์ความเป็นเลิศด้านการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

ประเภทการปฏิบัติงาน :   อบรม

วันที่   11   กรกฎาคม 2556    ถึงวันที่  12   กรกฎาคม 2556   

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย

สถานที่จัด

เรื่อง    การจัดการและการดูแลผู้สูงอายุ ที่มีโรคหลอดเลือดสมอง

 รายละเอียด

  แนวทางการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

               1) การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในระดับปฐมภูมิ (Primary prevention)     หมายถึง     การป้องกันการเกิดและการแก้ไขปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยการส่งเสริมสุขภาพเพื่อคงไว้ซึ่งการมีสุขภาพดีให้นานที่สุดเท่าที่สุขภาพพื้นฐานของผู้สูงอายุแต่ละคนทำได้

               2) การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในระดับทุติยภูมิ (Secondary prevention) หมายถึงการป้องกันการลุกลามของพยาธิสภาพหลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมองขึ้นแล้ว โดยการตรวจสุขภาพเพื่อตรวจหาและให้การดูแลรักษาพยาธิสภาพดังกล่าวตั้งแต่ในระยะแรก ให้หมดไปหรือสามารถควบคุมได้ ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตัวอย่างเช่น การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุที่เกิด Transient ischemic attack (TIA) หรือป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำ (Recurrent stroke ….ซึ่งเป็นประเด็นที่แตกต่างจากโรคอื่น) ในกรณีที่เคยมีโรคหลอดเลือดสมองแล้ว

               3) การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในระดับตติยภูมิ (Tertiary prevention) หมายถึง การป้องกันความพิการที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจากที่ผู้สูงอายุเกิดโรคหลอดเลือดสมองขึ้นแล้ว ตลอดจนการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่มักจะเกิดขึ้นได้บ่อย เช่น การดูแลรักษาในระยะเฉียบพลัน การดูแลผู้ป่วยด้วยวิธีการทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู การป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการสูญเสียความสามารถในการเดิน เพื่อคงไว้ซึ่งการมีคุณภาพชีวิตที่ดีให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้

 คำแนะนำในการดูแลปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง

               1) พันธุกรรมและประวัติโรคหลอดเลือดสมองในครอบครัว

                    – ซักประวัติครอบครัว จะช่วยค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้

                    – ไม่แนะนำการตรวจคัดกรองพันธุกรรมในประชากรทั่วไปเพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรก

                    – การส่งต่อผู้ป่วยเพื่อให้คำปรึกษาทางพันธุกรรมอาจพิจารณาทำในผู้ป่วยที่มีโรคพันธุกรรมบางชนิดที่พบน้อยมาก

                    – ไม่แนะนำให้ตรวจหาหลอดเลือดโป่งพองในสมอง (Intracranial aneurysm) ในญาติสายตรงของผู้ป่วยที่มีเลือดออกภายใต้เยื่ออะแรคนอยด์ (Subarachnoid hemorrhage) หรือหลอดเลือดโป่งพองในสมอง (Intracranial aneurysm) ยกเว้นในกรณีต่อไปนี้ที่อาจพิจารณาตรวจหา ได้แก่ มีญาติสายตรงอย่างน้อย 2 คนที่มีเลือดออกภายใต้เยื่ออะแรคนอยด์ หรือหลอดเลือดโป่งพองในสมอง ผู้ป่วย Adult polycystic kidney disease (ADPKD) ที่มีญาติอย่างน้อย 1 คน ที่มี ADPKD และเลือดออกภายใต้เยื่ออะแรคนอยด์ หรือหลอดเลือดโป่งพองในสมอง

               2) ความดันโลหิตสูง

                    – ควรมีการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูงเป็นระยะตามเกณฑ์แนะนำ และให้การรักษาที่เหมาะสม ตลอดจนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม

                    – การลดความดันเลือดสามารถป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้ ผู้ป่วยที่เคยเกิดโรคหลอดเลือดสมองหรือ TIA มาก่อน การลดความดันเลือดสามารถป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำทั้งในผู้ที่มีความดันเลือดปกติและมีโรคความดันเลือดสูง ผลของยาลดความดันเลือดในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากเกิดจากระดับความดันเลือดที่ลดลงแล้ว ยังอาจเกิดผลด้านอื่นๆของยาอีกด้วย

                    – ในผู้ป่วยที่มีความดันเลือดสูงกว่า 130/80 มม.ปรอท ควรปรับเปลี่ยนลักษณะการดำเนินชีวิต ได้แก่ การลดน้ำหนักที่มากเกิน การลดอาหารเค็ม การรับประทานผักและผลไม้ การลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง การออกกำลังกาย เป็นต้น ถ้าความดันเกิน 140/90 มม.ปรอท หรือ ๑๓๐/85 มม.ปรอท ในรายที่มีหารบกพร่องของการทำงานของไตหรือหัวใจวาย หรือ 130/80 มม.ปรอท ในกรณีที่เป็นโรคเบาหวานแล้วไม่สามารถคุมความดันเลือดโดยการปรับเปลี่ยนลักษณะการดำเนินชีวิต ได้ภายใน 6 – 12 เดือน ควรพิจารณารักษาด้วยยา

                    – การใช้ยาลดความดันเลือด ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่ายาประเภทใดดีกว่ายาชนิดอื่นๆ แต่มีแนวโน้มว่าการใช้ยาขับปัสสาวะ หรือยาขับปัสสาวะร่วมกับ Angiotensin converting enzyme inhibitor (ACEI) ได้ประโยชน์ในการลดอุบัติการณ์การเกิดโรคหลอดเลือดสมอง อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละรายมากกว่า ว่ามีข้อบ่งชี้ต่างๆที่เหมาะสมกับยาใดมากกว่า เช่น มีการทำงานของไตบกพร่อง โรคหัวใจหรือเบาหวานร่วมด้วย ในการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ถ้าผู้ป่วยมีความดันเลือดสูงอาจพิจารณาใช้ ACEI จะได้ผลป้องกันโรคหลอดเลือดสมองดีกว่ายาขับปัสสาวะ ยา Losartan ได้ผลดีกว่า Atenolol แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความดันเลือดปกติ การใช้ยา Ramipril และการใช้ Perindopril ร่วมกับ Indapamide ได้ผลดีกว่ายาหลอก

           3) โรคเบาหวาน

                    – ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานให้ใกล้เคียงปกติ และมีระดับ Hb A1C เท่ากับ 7 กรัมต่อเดซิลิตร หรือน้อยกว่า จะลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากโรคหลอดเลือดเล็กลงได้ และอาจลดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากโรคหลอดเลือดใหญ่

                    – ควรควบคุมความดันเลือดในผู้ป่วยเบาหวานให้ต่ำกว่า 130/80 มม.ปรอท และควบคุมระดับโคเลสเตอรอลชนิด LDL ให้ต่ำกว่า 70 มก/ดล. จะสามารถป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้

                    – การควบคุมความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเบาหวานด้วยยา ACEI หรือ Angiotensin II receptor blocker (ARB) ได้ประโยชน์

                    – การให้ Statins ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ลดการเกิดโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรกได้

                    – การให้ Fibrate ในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง อาจได้ประโยชน์ในผู้ป่วยเบาหวาน

               4) ไขมันในเลือดสูง

                    – ผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ถ้าผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือด 1 ข้อหรือไม่มี ควรควบคุมระดับโคเลสเตอรอลชนิด LDL ให้ต่ำกว่า 160 มก./ดล.

                    – ถ้าผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไปและมีความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจที่ 10 ปี น้อยกว่าร้อยละ 20 ควรควบคุมให้ต่ำกว่า 130 มก./ดล.

                    – ถ้าผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไปและมีความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจที่ 10 ปี ร้อยละ 20 ขึ้นไป หรือผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ควรควบคุมให้โคเลสเตอรอลชนิด LDL ให้ต่ำกว่า 100 มก./ ดล.

                    – ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดสมองหรือ TIA ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ มีโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือมีหลักฐานของภาวะหลอดเลือดแข็งกระด้าง ควรได้รับการควบคุมไขมันในเลือดตาม NCEP III โดยการปรับเปลี่ยนลักษณะการดำเนินชีวิต การควบคุมอาหารและการใช้ยา เพื่อควบคุมระดับโคเลสเตอรอลชนิด LDL ให้ต่ำกว่า 100มก./ดล. แต่ถ้าผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงมากต่อการเกดโรคโรคหลอดเลือดตีบดังกล่าวข้างต้น ให้ลดลงต่ำกว่า 70 มก./ดล.

           5) สูบบุหรี่

               – แนะนำให้ไม่สูบบุหรี่ในคนที่เดิมไม่สูบบุหรี่ และงดการสูบบุหรี่ในคนที่สูบเดิม เพราะการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบและเลือดออกใต้เยื่อแรคนอยด์

               – สำหรับข้อมูลในการได้รับควันบุหรี่ในสิ่งแวดล้อมว่าสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่ ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด อย่างไรก็ตามก็ควรแนะนำให้หลีกเลี่ยงการได้รับควันบุหรี่ในสิ่งแวดล้อม

               – ควรซักประวัติการสูบบุหรี่ของผู้ป่วยทุกราย และใช้วิธีการต่างๆในการช่วยให้ผู้ป่วยหยุดบุหรี่ เช่น การให้คำปรึกษาแนะนำ การใช้สารทดแทนนิโคติน การให้ยาอดบุหรี่ เป็นต้น

           การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

               ภายหลังจากการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ไม่ว่าจะเป็นภาวะสมองขาดเลือดหรือมีเลือดออกในสมอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการอ่อนแรงครึ่งซีก ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการเดินและการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหาเรื่องการสื่อภาษา การเคี้ยวอาหารและการกลืนอาหาร รวมถึงการกลั้นปัสสาวะและอุจจาระด้วย ส่งเหล่านี้เป็นปัญหาทางด้านร่างกายที่ทั้งผู้ป่วยและครอบครัวต้องประสบกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ในระยะนี้หากได้รับการประคับประคองจากทีมผู้รักษาที่เข้าใจถึงตัวโรค การดำเนินโรค รวมทั้งกระบวนการฟื้นฟูผู้ป่วยอย่างถูกต้อง ย่อมทำให้การเปลี่ยนแปลงในเรื่องการปรับตัวปรับใจเป็นไปได้อย่างราบเรียบมากขึ้น

               ระยะของการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่

                    1) ระยะเฉียบพลัน การฟื้นฟูจะเริ่มเมื่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีสัญญาณชีพคงที่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากตัวโรคและการไม่ได้เคลื่อนไหว ซึ่งได้แก่ หลอดเลือดดำส่วนลึกอุดตัน ปอดอักเสบจากการสำลัก แผลกดทับ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น โปรแกรมที่เหมาะสม คือ การกระตุ้นการเคลื่อนไหวให้เร็วที่สุด โดยคำนึงถึงพยาธิสภาพของโรคหลอดเลือดสมองและสภาวะของระบบประสาท

                    2) ระยะฟื้นฟู จะเริ่มเมื่อผู้ป่วยมีสภาวะทางอายุรกรรมและระบบประสาทคงที่ มีจุดประสงค์เพื่อฝึกความสามารถในการช่วยเหลือตนเองให้เต็มศักยภาพของผู้ป่วย ควรเริ่มทันทีเมื่อผู้ป่วยพร้อม พบว่าการเริ่มระยะฟื้นฟูภายใน 1 เดือนหลังการเกิดโรค จะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้มากกว่าการฟื้นฟูหลัง 1 เดือนไปแล้ว โปรแกรมที่เหมาะสมคือ โปรแกรมการฟื้นฟูแบบองค์รวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม โดยทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟู ที่ทำงานร่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อาจจะมีความสามารถในการช่วยเหลือตนเองบกพร่องไปหลายด้าน เช่น การเคลื่อนไหว เคลื่อนที่ ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวัน บางรายอาจมีปัญหาเรื่องกลืน การสื่อสาร ร่วมด้วย ในระยะฟื้นฟู ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะได้รับการดูแลโดยทีม                 สหวิชาชีพแบบองค์รวม ให้ผู้ป่วยมีความสามารถเต็มศักยภาพ ทั้งผู้ป่วยและครอบครัวสามารถยอมรับได้กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและพร้อมที่จะดูแลต่อเนื่องได้

                    3) ระยะกลับบ้าน เริ่มเมื่อผู้ป่วยมีความสามารถในการช่วยเหลือตนเองตามเป้าหมายที่กำหนด มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปดำเนินชีวิตในสังคมตนเองให้ใกล้เคียงเดิมมากที่สุด โปรแกรมที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง คือ การฝึกออกกำลังกายและฝึกความสามารถที่ได้รับฝึกฝนไป เพื่อคงความสามารถนั้นๆไว้ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ส่วนโปรแกรมสำหรับครอบครัวนั้น นอกจากความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองแล้ว ทักษะการดูแลที่ถูกต้อง รวมทั้งการเตรียมสิ่งแวดล้อมทางกายภาพให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้ป่วย จะช่วยลดอุปสรรคทางกายในการดำเนินชีวิตที่บ้าน การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ไม่ทอดทิ้งให้อยู่อย่างโดดเดี่ยวหรืออยู่กับผู้ดูแลที่ไม่ใช่สมาชิกในครอบครัว ย่อมช่วยประคับประคองจิตใจของผู้ป่วยให้ยอมรับกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆได้

 

ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

การจัดการเรียนการสอน การวิจัย งานศูนย์ความเป็นเลิศด้านการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุการใช้ในการปฏิบัติงาน

รู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

การเรียนการสอนรายวิชาที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ สุขภาพจิตและจิตเวช

การบริการวิชาการ

การพัฒนาบุคลากร                  

 การวิจัยและ/ผลงานทางวิชาการ

ด้านสมรรถนะ

ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ  การทำผลงาน (5588)

การประชุมเตรียมความพร้อมการจัดประชุมวิชาการตลาดนัดความดี ครั้งที่ 4

การประชุมเตรียมความพร้อมการจัดประชุมวิชาการตลาดนัดความดี ครั้งที่ 4

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 วันที่บันทึก : 6  ธันวาคม  2556

 ผู้บันทึก : นายสิงห์  กาญจนอารี

 กลุ่มงาน : งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

ฝ่าย : บริหาร

 ประเภทการปฏิบัติงาน : ประชุม

 วันที่   20   พฤศจิกายน    ๒๕๕๖    ถึงวันที่   20  พฤศจิกายน  ๒๕๕๖

 หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  แก้วกัลยาสิกขาลัย สถาบันพระบรมราชชนก 

สถานที่จัด : ณ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารสุข  จ. นนทบุรี  

เรื่อง    การประชุมเตรียมความพร้อมการจัดประชุมวิชาการตลาดนัดความดี ครั้งที่ 4 

รายละเอียด

                     การประชุมเตรียมความพร้อมการจัดประชุมวิชาการตลาดนัดความดี ครั้งที่ 4 เพื่อการเตรียมความพร้อม โดย มีประธานที่ประชุม คือ ดร.กฤษดา  แสวงดี เป็นประธาน ที่ประชุม มีระเบียบวาระการประชุมและผลการประชุมดังนี้

ระเบียบวาระที่ 1  ประธานแจ้งเพื่อทราบ

                     :  แนะนำ ดร.กฤษดา  แสวงดี  รอ.ผอ. สบช. ที่ดูแล แก้วกัลยาสิกขาลัย ระเบียบวาระที่ 2  ทบทวนคณะกรรมการทำงาน

                     :  เป็นไปตามคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการจัดประชุมวิชาการตลาดนัดความดี สู่การพัฒนาจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ภายใต้นวัตกรรมระบบครอบครัวเสมือน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี มหามงคล 86 พรรษา 

ระเบียบวาระที่ 3  พิจารณากำหนดการ

                      :  ที่ประชุม เปลี่ยนแปลงพิธีเปิดเพื่อให้กระชับเวลา และเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดย ให้มีการแสดงในพิธีเปิดก่อน แล้ว ค่อยเป็นการชมวีดีทัศน์

 ระเบียบวาระที่ 4  เรื่องพิจารณา

                      :  ที่ประชุมทบทวนหน้าที่ ของคณะกรรมการและวิทยาลัยที่รับผิดชอบ โดย วพบ.จักกรีรัช รับผิดชอบพิธีการ/ พิธีเปิด และการแสดง, วพบ.นครศรีธรรมราช รับผิดชอบนิทรรศการ/วีดีทัศน์/บันทึกวีดีโอบรรยากาศนอกห้องประชุม, วพบ.ราชบุรี รับผิดชอบ บันทึกภาพและวีดีโอในห้องประชุม

                      : เปลี่ยนแปลงผู้ดำเนินการอภิปรายหัวข้อ ประสบการณ์การเรียนรู้การสร้างสุขภาวะ หนึ่งวิทยาลัยหนึ่งตำบล เป็น อ.สิงห์ กาญจนอารี

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

 ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

  (410)

การพัฒนาบุคลากรเพื่อการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2558 ของสถาบันพระบรมราชชนก

การพัฒนาบุคลากรเพื่อการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2558 ของสถาบันพระบรมราชชนก

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :  6   ธันวาคม  2556

ผู้บันทึกนางสาวอุทุมพร  ดุลยเกษม 

กลุ่มงานวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

ฝ่ายวิชาการ

ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม

วันที่      25   พฤศจิกายน  2556    ถึงวันที่   26   พฤศจิกายน    2556

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก

สถานที่จัดณ  โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี

เรื่อง : การพัฒนาบุคลากรเพื่อการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2558 ของสถาบันพระบรมราชชนก

รายละเอียด

                        การจัดทำคำขอครุภัณฑ์ทางการแพทย์ จะจัดให้มีทุกปี ซึ่งผู้รับผิดชอบหรือผู้ใช้ครุภัณฑ์     ดังกล่าวได้จัดเตรียมข้อมูลไว้ให้พร้อม ซึ่งข้อมูลควรประกอบด้วย ราคา และคุณสมบัติ (Spec) ของครุภัณฑ์นั้นๆ (ซึ่งได้มาจากบริษัทผู้จำหน่าย)ควรมีบริษัทที่มีครุภัณฑ์ที่มีลักษณะหรือคุณสมบัติใกล้เคียงกันอย่างน้อย 2 บริษัท เพื่อที่จะสามารถนำมาประมูลต่อรองราคาได้ (ถ้าครุภัณฑ์นั้นมีบริษัทจำหน่ายเพียงบริษัทเดียวก็จะไม่สามารถจัดซื้อได้)ในกรณีที่แต่ละบริษัทเสนอรายการครุภัณฑ์ตัวเดียวกัน คุณสมบัติหรือรหัสเหมือนกัน จะไม่สามารถนำมาพิจารณาจัดซื้อได้เช่นเดียวกัน  การเขียน Spec ควรเขียนคุณสมบัติเป็นกลางๆ ไม่ระบุรายละเอียดเหมือนในรายการที่ทางบริษัทเสนอมา เพราะจะเป็นการส่อเจตนาลำเอียงที่จะซื้อของบริษัทนั้นๆเลย ซึ่งจะนำไปสู่การถูกฟ้องร้องได้  การเขียนเหตุผลเพื่อขอซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ขอให้เป็นเหตุผลเพื่อการศึกษาหรือเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนเท่านั้น เช่น ยังไม่มีอุปกรณ์ดังกล่าว / ต้องการซื้อเพิ่มเพราะไม่เพียงพอ เนื่องจากมีการขยายหลักสูตร หรือจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้น / ของเก่าชำรุด ขอซื้อทดแทน เป็นต้น  สถาบันพระบรมราชชนก ขอให้ทุกวิทยาลัยปรับระบบการจัดเก็บ ควบคุมครุภัณฑ์ต่างๆที่วิทยาลัยมีอยู่ ให้เป็นปัจจุบันและขอให้ทำเป็นฐานข้อมูลที่สามารถตรวจสอบได้ง่าย และสามารถเชื่อมกับระบบฐานข้อมูลของสถาบันพระบรมราชชนกได้ด้วย ภายใน 1 ปี

ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

การสำรวจความพร้อมและการเตรียมความพร้อมห้องปฏิบัติการพยาบาลสูติศาสตร์

 ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

การเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลมารดาทารกฯ

การบริหารงานห้องปฏิบัติการสูติศาสตร์ (379)