Author Archives: admin

การรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข ในระบบสอบตรง

การรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข ในระบบสอบตรง

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :    ๑๓  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๗

ผู้บันทึกนางปิยรัตน์จีนาพันธุ์

 กลุ่มงาน :  งานทะเบียน   วัดและประเมินผลการศึกษา

 ฝ่าย : กิจการนักศึกษา


ประเภทการปฏิบัติงาน
: อบรม

วันที่   -

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก

สถานที่จัด :   โรงแรมรามากาเดนท์  กรุงเทพมหานคร 

เรื่อง : การรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข ในระบบสอบตรง

 รายละเอียด

ปีการศึกษา ๒๕๕๗  สถาบันพระบรมราชชนก ดำเนินการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรต่างๆ

ในระบบสอบตรง และสอบกลาง  แต่สืบเนื่องจาก สทศ. เลื่อนการสอบ GAT PAT จึงมีการเปลี่ยนแปลงระบบสอบตรง  ส่วนสอบกลางยังเป็นไปตามเดิม

สิ่งที่เปลี่ยนแปลงในระบบสอบตรง

ปฏิทินการรับสมัคร  ใช้ตามประกาศฯ ลงวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๗

ผู้สมัครเลือกหลักสูตรได้เพียง ๑ อันดับ

เรียกผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์ ป.ตรี ๑.๕ เท่า  ต่ำกว่า ป.ตรี ๓ เท่าของจำนวนโควตา

ยกเลิกการเข้าร่วมระบบเคลียริ่งเฮาส์

เกณฑ์การรับสมัคร

๑.สำเร็จการศึกษาชั้น ม. ๖ ใช้ผลการเรียน ๖ ภาคการศึกษา

๒.มี G PAX ไม่น้อยกว่า ๒.๐๐

๓. มี GPA กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า ๒.๐๐

๔. มีหน่วยกิตกลุ่มสาระวิชาครบตามที่กำหนด

๕. มีผล O Net ม.๖ ครบ ๕ กลุ่มสาระ

องค์ประกอบ น้ำหนัก และเกณฑ์ที่ใช้ในการประมวลผล

๑.คะแนน O net ร้อยละ ๘๐

ไทย     ๑๐

สังคม    ๑๐

วิทย์     ๔๐

คณิต    ๒๐

อังกฤษ ๒๐

 

๒. คะแนนสัมภาษณ์  ร้อยละ ๒๐

สัมภาษณ์         ๑๕

แฟ้มสะสมงาน   ๕

โดยให้วิทยาลัยดำเนินการตาม  ประกาศ  และเอกสาร แนวทางปฏิบัติในการรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระบบสอบตรง

และวิทยาลัยดำเนินการ

๑.     เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ระบบการรับสมัครนักศึกษา ตามโรงเรียนในจังหวัดที่เป็นพื้นที่

๒.    แต่งตั้งคณะกรรมการรับบุคคลเข้าศึกษา

๓.    ให้วิทยาลัยดำเนินการตามกำหนด ในแนวทางปฏิบัติ

 ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

ได้แนวทาง  ข้อปฏิบัติ  สำหรับนำมาใช้ในการรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๗

 

 

  (356)

การติดตามเยี่ยมคณะอาจารย์และนักศึกษาในโครงการแลกเปลี่ยนระหว่าง วพบ.นศ. กับสถาบันการศึกษา

การติดตามเยี่ยมคณะอาจารย์และนักศึกษาในโครงการแลกเปลี่ยนระหว่าง วพบ.นศ. กับสถาบันการศึกษา

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

วันที่บันทึก: วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๖

ผู้บันทึก: นางสาวอุทุมพร ดุลยเกษม

กลุ่มงาน: กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

ฝ่าย: วิชาการ

ประเภทการปฏิบัติงาน: การไปราชการต่างประเทศ

วันที่ ๖ – ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๖

หน่วยงาน: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

สถานที่จัด: IHS of Rajawali, IHS of Kendal, และ IHS of Bali ประเทศอินโดนีเซีย

เรื่อง: การติดตามเยี่ยมคณะอาจารย์และนักศึกษาในโครงการแลกเปลี่ยนระหว่าง วพบ.นศ. กับสถาบันการศึกษา

พยาบาล ประเทศอินโดนีเซีย

รายละเอียด:

ในการไปราชการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ติดตามเยี่ยมคณะอาจารย์และนักศึกษาที่ไปแลกเปลี่ยน

เรียนรู้ด้านวิชาการและวัฒนธรรมในแวดวงการดูแลสุขภาพและงานด้านสาธารณสุขของประเทศอินโดนีเซีย ๒)

เพื่อประเมินผลความสำเร็จของโครงการ ๓) เพื่อขยายเครือข่ายความสัมพันธ์กับสถาบันการ ศึกษาอื่นๆเพิ่มเติม

โดยจากการติดตามเยี่ยมทั้ง ๓ สถาบันการศึกษาปรากฏผลดังนี้

เป็นอย่างดี

อาจารย์ได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งกับอาจารย์ด้วยกันและกับนักศึกษาทั้งในชั้นเรียนและการฝึ

กภาคสนาม ส่วนนักศึกษาได้มีโอกาสเข้ารับฟังการสอนพิเศษที่จัดให้แก่นักศึกษาโดยเฉพาะจาก ดร. Shen

ซึ่งเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคหัวใจทุกวัน ขณะฝึกภาคปฏิบัติในหน่วย CCU ของโรงพยาบาล Rajawali

ขณะเดียวกันนักศึกษาได้มีโอกาสลงพื้นที่ชุมชนต่างๆ เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตและระบบการให้บริการสุขภาพ

จากการสอบถามจากนักศึกษาพบว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเข้าโครงการในครั้งนี้

๑.๑.๑ IHS of Rajawali พบว่าทั้งอาจารย์และคณะนักศึกษาได้รับการต้อนรับและดูแล

๑.๑.๒ IHS of Kendal พบว่าทั้งอาจารย์และคณะนักศึกษาได้รับการต้อนรับและดูแล

เป็นอย่างดีเช่นเดียวกัน อาจารย์มีส่วนร่วมในการสอนในชั้นเรียนหลายครั้ง

ส่วนนักศึกษาได้รับประสบการณ์ในการลงฝึกภาคปฏิบัติในชุมชน

ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ

และจากการสอบถามจากนักศึกษาพบว่านักศึกษามีความพึงพอใจและมีความสุขต่อการเข้าโครงการในครั้งนี้

รวมถึงการมีเพื่อนใหม่และการได้รับประสบการณ์ในการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น

๑.๑.๓ IHS of Bali เป็นการไปราชการเพื่อขยายเครือข่ายความสัมพันธ์กับสถาบันการ

ศึกษาให้มากขึ้น ทั้งนี้หวังผลเพื่อการอาจมีโอกาสได้ร่วมมือเชิงวิชาการ การทำวิจัยร่วมระหว่างประเทศ

ซึ่งจากการพบปะสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ และจากการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันอย่างเป็นทางการ

ได้ความว่าทั้ง ๒ ฝ่ายต่างรู้จักซึ่งกันและกันมากขึ้น รวมถึงมองเห็นแนวทางเป็นไปได้ในการทำวิจัยร่วมกัน

โดยเฉพาะประเด็นการศึกษาเกี่ยวกับผู้สูงอายุ

ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน:

- การไปราชการในครั้งนี้ทำให้ทราบถึงศักยภาพและความพร้อมของทั้งอาจารย์และนักศึกษาในเชิง

ภาษาที่ต้องใช้ในประชาคมอาเซียนว่ามีความพร้อมมากน้อยเพียงใด สามารถก้าวทันเพื่อนบ้านในกลุ่ม ASEAN

หรือไม่และสามารถนำมาพัฒนาต่อเนื่องได้

- ทำให้เข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรม สภาวะทางด้านสาธารณสุขของประเทศเพื่อนบ้าน อันจะ

นำไปสู่การเตรียมความพร้อมในโอกาสการแลกเปลี่ยนต่อไปในอนาคต

ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ:

- เตรียมความพร้อมทั้งอาจารย์และนักศึกษาก่อนไปโครงการแลกเปลี่ยนในอนาคต ด้านภาษาและการ

ปรับตัวด้านชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรม

และการเตรียมความรู้ด้านวิชาการต่างๆเพื่อไปแลกเปลี่ยนให้ได้กว้างขวางขึ้น (334)

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL) สำหรับวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL) สำหรับวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :   3   กุมภาพันธ์    2557

 

ผู้บันทึก       นางสาวจันทิมา ช่วยชุม

นางสาวจามจุรี แซ่หลู่

นางสาวอรุณรัตน์ โยธินวัฒนบำรุง

นางสาววรนิภา กรุงแก้ว

นางพิมพวรรณ เรืองพุทธ

นางวันดี แก้วแสงอ่อน

กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลพื้นฐานและพื้นฐานวิชาชีพ และกลุ่มการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุและบริหารการพยาบาล

 ฝ่าย :  วิชาการ

ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม

วันที่   30   -  31 มกราคม 2557

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนนก

สถานที่จัด :   ณ โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต รังสิต จังหวัดปทุมธานี

เรื่อง : การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL) สำหรับวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

 รายละเอียด

             ปัจจุบันได้มีการพัฒนาหลักสูตร  และปฏิรูป รูปแบบการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษากันอย่างกว้างขวางด้วยเหตุผลหลายอย่าง อาทิเนื้อหาแน่นมาก และไม่สอดคล้องกับการนำไปใช้ในสถานการณ์จริงที่บัณฑิตจะออกไปทำงาน การเรียนการสอนเน้นการท่องจำมากกว่าการคิดและการแก้ปัญหา การเรียนการสอนไม่ได้เตรียมผู้เรียนให้มีการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีพ ผู้เรียนไม่สามารถทำงานเป็นทีมได้ การเรียนเรียนไปเพื่อสอบ  เป็นต้น   การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based learning : PBL) เป็นทั้งวิธีการพัฒนาหลักสูตรและวิธีการสอน ในด้านการพัฒนาหลักสูตร เป็นวิธีการจัดหลักสูตรให้มีกิจกรรมการเรียนรู้โดยอาศัยปัญหาที่เป็นจริงในการปฏิบัติของวิชาชีพ    ลักษณะสำคัญของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักประกอบด้วย (๑) ใช้ปัญหาที่สอดคล้องกับสถานการณ์จริงเป็นตัวกระตุ้นหรือจุดเริ่มต้นในการแสวงหาความรู้ (๒) การบูรณาการเนื้อหาความรู้ในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น (๓) เน้นกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ (๔) เรียนเป็นกลุ่มย่อย โดยมีครูหรือผู้สอนเป็นผู้สนับสนุนและกระตุ้น ผู้เรียนต้องร่วมกันสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้เกิด ขึ้นในกลุ่ม (๕) เน้นกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตนเองหรือกลุ่มตั้งไว้

กระบวนการและขั้นตอนในการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL)

ประกอบด้วย  ๓ ระยะ  ๗ ขั้นตอน

ระยะที่ ๑        เปิดโจทย์ปัญหา

ระยะที่ ๒        ค้นคว้าหาความรู้

ระยะที่ ๓        ปิดโจทย์ปัญหา

ระยะที่ ๑ เปิดโจทย์ปัญหา   มี ๕ ขั้นตอน

๑. Clarify terms and concepts    นักศึกษาทั้งกลุ่มร่วมกันอ่านโจทย์/สถานการณ์ ทำความเข้าใจกับศัพท์และแนวคิดให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน

๒. Identify the problem   ระบุปัญหาของโจทย์ / สถานการณ์

๓. Analyse the problem   วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ความเชื่อมโยงของปัญหา

๔. Formulate hypotheses  ตั้งสมมติฐานที่เป็นสาเหตุของปัญหา จัดลำดับความสำคัญ

๕. Formulate learning objectives  ตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหา

ระยะที่ ๒ ศึกษาหาความรู้

๖. Collect additional information outside the group   รวบรวมข้อมูลนอกกลุ่ม โดยต่างคนแยกย้ายกันศึกษาหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่าง ๆตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้

ระยะที่ ๓ ปิดโจทย์ปัญหา

๗. Synthesize and test the newly acquired and identify information generalization and principles derived from studying this problem   กลุ่มกลับมาพบกันใหม่ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาเพื่อพิสูจน์สมมุติฐาน และสรุปเป็นหลักการสำหรับการนำไปใช้ต่อไปในอนาคต

 ประเด็นสำคัญในการเรียนแบบ PBL

๑. ผู้เรียนต้องเผชิญกับโจทย์ปัญหาหรือสถานการณ์โดยที่มิได้มีการเตรียมตัวล่วงหน้า หรือเรียนเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับโจทย์นั้นมาก่อน

๒. โจทย์ปัญหาหรือสถานการณ์ จะต้องสร้างให้คล้ายคลึงกับปัญหาหรือสถานการณ์จริงที่ผู้เรียนจะต้องไปเผชิญในอนาคต

๓. ผู้เรียนจะต้องศึกษาโจทย์ดังกล่าวในลักษณะของการใช้เหตุ ใช้ผล และการประยุกต์ใช้ความรู้อย่างเหมาะสมกับระดับความรู้ของตน

๔. โจทย์ปัญหาหรือสถานการณ์นั้น จะต้องเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการสร้างวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในระหว่างการอภิปรายในกระบวนการกลุ่ม

๕. ความรู้และทักษะที่ได้จากการศึกษาหาความรู้จะต้องถูกนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการแก้ปัญหาเพื่อจะได้สามารถประเมินประสิทธิภาพการเรียนรู้

๖. เครื่องมือที่ใช้วัดผลต้องสอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ โดยต้องวัดทั้งเนื้อหาความรู้ การแก้ปัญหา ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ประสิทธิภาพของกระบวนการกลุ่ม

ประโยชน์ของ PBL

          ๑. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหา

          ๒. ผู้เรียนเกิดการใฝ่รู้และสามารถที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองไปตลอดชีวิต

เงื่อนไขที่สนับสนุนการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ

          ๑. Activation of prior knowledge

          การเรียนแบบ PBL ขั้นตอนที่จะระบุปัญหาและวิเคราะห์ปัญหา จะต้องใช้ความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีอยู่ จึงเป็นการเรียนที่มีการกระตุ้นความรู้เดิมมาใช้

๒. Endoding specificity

PBL ใช้โจทย์ปัญหาที่พบจริง หรือคล้ายคลึงกับปัญหาที่พบในวิชาชีพ ทำให้ผู้เรียนจะระลึกได้เมื่อพบปัญหานี้อีกในอนาคต

๓. Elaboration of knowledge

ในการเรียนแบบ PBL เมื่อผู้เรียนไปศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองมาแล้ว จะต้องนำความรู้ที่ได้มาอภิปราย ต่อเติมเสริมความรู้ซึ่งกันและกัน

จุดเด่นของ PBL

          ๑. ใช้กรณีศึกษาในวิชาชีพมาเป็นตัวกระตุ้นในการเรียนวิชาพื้นฐานต่าง ๆ ทำให้มีความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาช่วยตัดเนื้อหาวิชาพื้นฐานที่ไม่เกี่ยวข้องและล้าสมัย

          ๒. มีบูรณาการระหว่างสาขาวิชา ทำให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงทางวิชาชีพ และมีการรวบรวมคัดเลือดเนื้อหาสำคัญที่เป็นแกนหลัก ช่วยลดเนื้อหาที่ต้องเรียนกันมากมายโดยไม่จำเป็น

          ๓. ผู้เรียนจะต้องเปลี่ยนจาก passive learner มาเป็น active learner

          ๔. เสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและการปฏิบัติงานทางวิชาชีพ เช่น การแก้ปัญหา การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม

          ๕. สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ เพราะใช้ปัญหาจริงมาเป็นตัวกระตุ้น

          ๖. กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างเข้าใจแทนการท่องจำ เพราะต้องประยุกต์ความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหา

          ๗. เป็นการเรียนรู้แบบความคิดสร้างสรรค์ (Constructivism)เพราะต้องใช้ความรู้เดิมที่มีอยู่มาคิดในการสร้างความรู้ใหม่ที่จำเป็นเพื่อต่อเติมเสริมเข้ากับความรู้เดิม

 จุดอ่อนของ PBL

          ๑. ความรู้ทีได้ อาจเป็นการเรียนรู้อย่างไม่เป็นระบบ ไม่รู้ว่าอะไรสำคัญ อะไรไม่สำคัญ ผิดกับการสอนของครูที่มักมีการสอนอย่างเป็นระบบ

          ๒. อาจต้องใช้เวลาในการเรียนรู้มากกว่าที่ครูสอน

          ๓. การลงทุนด้านทรัพยากรค่อนข้างสูง

          ๔. ครูไม่สามารถใช้ความรู้ของตนมาถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้โดยตรง จึงอาจไม่เกิดแรงจูงใจในการสอน

          ๕. จำเป็นต้องพัฒนาความสามารถของครูในด้านกระบวนการกลุ่มย่อย

          ๖. ขาดแบบอย่างของครูที่ดีที่จะเป็น role model เช่นในระบบเดิม

 บทบาทครูในการกระตุ้นและสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้

          ครูใน PBL จะเปลี่ยนจากผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้หรือข้อมูลต่าง ๆ ให้แก่นักศึกษาโดยตรง มาเป็นผู้สนับสนุนหรือกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนบรรลุถึงเป้าหมาย (facililator) โดยบทบาทของครู มีดังนี้

๑. ครูต้องส่งเสริมให้นักศึกษาเกิด metacognitive skill คือ

                    – การคิดใคร่ครวญ ตรึกตรองอย่างแยบคายในการแก้ปัญหา

                   – ทบทวนความรู้และประสบการณ์เดิมนำมาใช้กับปัญหาใหม่ได้

                   – สร้างสมมุติฐาน ตัดสินใจว่า ควรสังเกต ไต่ถาม ค้นคว้าเพิ่มเติมเรื่องใด จากแหล่งวิทยา

การใด

                   – รู้จักพิจารณาข้อมูลข่าวสารที่ได้มาว่าถูกต้องหรือไม่

                    – ครูต้องพยายามกระตุ้นให้นักศึกษาคิดโดยการใช้คำถาม

                   – ครูไม่ทำตัวเป็นผู้ป้อนข้อมูลโดยตรงให้แก่นักศึกษา

                   – ครูหลีกเลี่ยงการให้ความเห็นต่อการอภิปรายของนักศึกษาว่าผิดหรือถูกโดยตรง

๒. ช่วยให้นักศึกษาเรียนรู้โดยผ่านขั้นตอนทีละขั้น ไม่เรียนลัด เช่น ในการปัญหา ต้องมีการกล่าวถึงสมมุติฐานหรือพยายามอธิบายสาเหตุให้หมดก่อนจะไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม

๓. ช่วยให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจในเรื่องที่เรียนได้อย่างลึกซึ่ง สามารถดึงความรู้ ความคิดที่ซ่อนอยู่ในใจออกมาได้

๔. กระตุ้นให้นักศึกษาอภิปรายโต้ตอบกันเอง โดยครูไม่ทำตัวเป็นศูนย์กลางของการโต้ตอบ

๕. ช่วยให้ทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมของกลุ่มป้องกันไม่ให้คนที่พูดเก่งทำตัวเด่นในกลุ่มมากไป ไม่ปล่อยให้คนไม่ช่างพูดถอนตัวจากกลุ่ม

๖. ปรับเปลี่ยนสภาพการเรียนการสอนไม่ให้เกิดความเบื่อหน่ายเมื่อปัญหาง่ายไป หรือท้อแท้เมื่อปัญหายากไป

๗. ต้องดูแลความก้าวหน้าของนักศึกษาทุกคนในกลุ่มฝึกให้รู้จักประเมินตนเอง และช่วยกันเองในกลุ่มเมื่อมีปัญหาการเรียนรู้เกิดขึ้น

๘. ทำความรู้จักกับกลุ่มเป็นอย่างดี เมื่อเกิดปัญหาพฤติกรรมกลุ่มทำให้กลุ่มไม่ก้าวหน้า ครูต้องพยายามทำให้กลุ่มตระหนักและหาทางแก้ไขด้วยความสามารถของกลุ่มเองไม่ใช่ครูลงไปแก้ไขให้แต่แรกโดยตรง

 บทบาทครูในการประเมินผล

          ๑. Formative evaluation การประเมินความก้าวหน้าของนักศึกษาเป็นระยะตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ หาข้อมูลว่าผู้เรียนมีความสามารถและมีจุดอ่อนในการเรียนรู้อย่างไรบ้าง เพื่อให้เกิดการปรับปรุงแก้ไข

          ๒. Summative evaluation ตัดสินว่าผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงระดับมาตรฐานที่สมควรผ่านไปศึกษา Block ต่อไปหรือเลื่อนไปเรียนในปีถัดไปได้หรือไม่

ความรู้และทักษะของครูที่ควรมี

          ๑. ความรู้ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและของ block ที่ตนสอนเป็นอย่างดี

          ๒. ความรู้ความเข้าใจในกระบวนการกลุ่ม พฤติกรรมกลุ่ม

          ๓. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รวมทั้งมีทักษะในการเข้าในปัญหาและการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น

คุณลักษณะและเจตคติที่สำคัญของครู

          ๑. ต้องมองปัญหาให้ยืดหยุ่นและกว้างขวาง ครอบคลุมแง่มุมต่าง ๆ ของปัญหา

          ๒. ต้องรู้ว่าตนเองมิใช่ผู้วิเศษที่จะรู้ทุกอย่างและตอบได้ทุกคำถามและต้องไม่พยายามป้อนหรือยัดเยียดความรู้ของตนเองให้กับนักศึกษา

          ๓. ต้องสนใจและเอาใจใส่นักศึกษาทั้งด้านพฤติกรรมและการเรียน สามารถค้นพบเมื่อเกิดปัญหาในการเรียนรู้และช่วยในการแก้ไข

          ๔. มีความเชื่อมั่นตนเองในการให้ Feedback ที่ตรงไปตรงมากับนักศึกษา

          ๕. ต้องไม่แสดงตนเป็นผู้มีอำนาจเต็มในชั้นเรียน แต่ให้ความนับถือนักศึกษาในฐานะเพื่อนร่วมงาน และสามารถเรียนรู้ร่วมกันกับนักศึกษา

          ๖. ต้องตระหนักถึงการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมโดยสอดแทรกแนวคิดและทางปฏิบัติเมื่อมีโอกาส

          ๗. ต้องมีความรับผิดชอบสูง ปฏิบัติตามสัญญา เพื่อเป็นตัวอย่างแก่นักศึกษา

การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลัก จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียน เนื่องจากผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ มากกว่าการรับฟังเนื้อหาจากครูผู้สอนเพียงฝ่ายเดียว สิ่งสำคัญก็คือสถานการณ์ปัญหา  ที่นำมาใช้เป็นแรงกระตุ้นและผลักดันให้ผู้เรียนนำความรู้ หรือประสบการณ์ที่มีอยู่เดิมมาใช้แก้ปัญหา ดังนั้นลักษณะของปัญหาต้องมีความน่าสนใจ ท้าทายและน่าค้นหาคำตอบ รวมทั้งควรเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้เรียน เพื่อผู้เรียนจะได้แสดงความสามารถในการแก้ปัญหาโดยการระบุประเด็น โครงสร้าง และเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

-ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงานการจัดการเรียนการสอนให้ผลผลิตคือนักศึกษาพยาบาล เป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีคุณภาพต่อไป

ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

 การเรียนการสอนและการพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบของนักศึกษา

ด้านสมรรถนะ

     การวางแผนการสอน

 

 

 

 

 

 

 

  (388)

การแลกเปลี่ยนทางวิชาการของอาจารย์และนักศึกษากับสถาบันการศึกษาจากประเทศอินโดนีเซีย

การแลกเปลี่ยนทางวิชาการของอาจารย์และนักศึกษากับสถาบันการศึกษาจากประเทศอินโดนีเซีย

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :   6   กุมภาพันธ์   2557

 ผู้บันทึก :   นางสาวจันทิมา ช่วยชุม  และนางชุติมา รักษ์บางแหลม

 กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลพื้นฐานและพื้นฐานวิชาชีพ และกลุ่มการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุและบริหารการพยาบาล

 ฝ่าย :  วิชาการ

ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม

วันที่   28    ตุลาคม ถึง    9   พฤศจิกายน 2556

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :

 สถานที่จัด :   ณ Institute of Health Science, Kendal

เรื่อง : การแลกเปลี่ยนทางวิชาการของอาจารย์และนักศึกษากับสถาบันการศึกษาจากประเทศอินโดนีเซีย

 รายละเอียด

                การร่วมกิจกรรมโครงการการแลกเปลี่ยนทางวิชาการของอาจารย์และนักศึกษากับสถาบันการศึกษาจากประเทศอินโดนีเซียก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเริ่มตั้งแต่การเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนที่อาศัยอยู่ในประเทศอินโดนีเซียที่ต้องดำเนินชีวิตด้วยความเสี่ยงเพราะยานพาหนะที่ใช้เดินทางส่วนใหญ่เป็นรถจักรยานยนต์ประกอบกับความเจริญทางถนนหนทางก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร จึงส่งผลให้ Top 5 ของโรคที่ประเทศนั้น คือ การบาดเจ็บที่ศีรษะ หากแต่บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะยังไม่เห็นเด่นชัดหรือมีแนวทางที่ชัดเจน นอกจากนี้ยังสามารถเรียนรู้ถึงการจัดระบบการศึกษาของประเทศ วัฒนธรรม การเมืองและการปกครองที่เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อสถานศึกษาด้วย โดยระบบการศึกษาจะจัดให้หลักสูตรพยาบาลมีการเรียนการสอน 2 หลักสูตร นั่นคือ หลักสูตรพยาบาล 4 ปี เทียบได้กับพยาบาลเทคนิคของไทย และหลักสูตรพยาบาล 5 ปี เทียบได้กับพยาบาลวิชาชีพของไทย ซึ่งในปีที่ 5 จะเน้นการฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วยทั้งปีโดยผลัดเปลี่ยนไปยังหอผู้ป่วยต่างๆ ทั้งตึกอายุรกรรม ศัลยกรรม ห้องคลอด เด็ก ผู้สูงอายุ จิตเวช และชุมชน อีกทั้งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นก็จะมีบทบาทหนึ่งในการส่งเสริมสนับสนุนระบบการศึกษาให้มีความคล่องตัวและสอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาของเมืองนั้นๆ สำหรับวัฒนธรรมมีความแตกต่างกับไทยค่อนข้างมากในเรื่องอาหารการกินโดยจะเน้นอาหารที่มีเครื่องเทศเป็นส่วนประกอบหลักทำให้กลิ่นค่อนข้างแรง ในเรื่องการทักทายก็จะใช้การจับมือและกอดสำหรับเพศเดียวกัน ส่วนต่างเพศกันจะใช้เพียงการจับมือเท่านั้น และในเรื่องการมีคู่ครองในอายุที่ค่อนข้างน้อย เป็นต้น เมื่อกล่าวถึงเนื้อหาทางวิชาการที่นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนั้นทำให้ทราบว่าการจัดการศึกษาของวิทยาลัยของเราค่อนข้างครอบคลุมและเจาะลึกสามารถให้การพยาบาลบุคคลที่มีความซับซ้อนทั้งโรคทางกายและทางจิตรวมถึงครอบครัวอันสอดคล้องกับความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง หากแต่ในการแลกเปลี่ยนทางวิชาการครั้งนี้คณะอาจารย์ของเราทั้งสองท่านก็ยังมีโอกาสในการสอนให้ความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการ     ปวดหลัง การแก้ปัญหาจริยธรรมทางการพยาบาล แก่นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 และการพยาบาลผู้ป่วย       โรคลมชักแก่นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ซึ่งบรรยากาศการเรียนการสอนในครั้งนั้นเป็นไปด้วยดีเพราะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทั้งนักศึกษาและครูด้วยความเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน สอบถามข้อสงสัยต่างๆ ด้วยความสนใจ

          สิ่งที่ได้รับจากโครงการนี้ถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์ นั่นคือ การมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลระหว่างไทยและอินโดนีเซีย รวมถึงการต่อยอด    การพัฒนางานวิจัยทางการพยาบาลอันเป็นประโยชน์แก่ทั้งสองประเทศด้วย

ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน      

-ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน

-การจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบททางการศึกษาของไทย

-การพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสาร

-การปรับทัศนคติให้มุ่งมั่นกับการทำงานให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดแก่องค์กร

-สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาแนวทางการทำข้อสอบเพื่อวัดและประเมินผลนักศึกษาพยาบาลให้ตรงตาม-วัตถุประสงค์และเกิดประสิทธิภาพในการวัดผลสูงสุด

ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

การเรียนการสอนและทัศนคติที่

 การพัฒนาบุคลากร                                   

การวิจัยและ/ผลงานทางวิชาการ

-ด้านสมรรถนะ

     การวางแผนการสอน

     การพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษ

     การสร้างเครือข่ายทางการวิจัย/ผลงานวิชาการ

-ด้านอื่น ๆ

-ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน

 

  (355)

ประชุมวิชาการประชุมวิชาการตลาดนัดความดีสู่การพัฒนาจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้นวัตกรรมระบบครอบครัวเสมือน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปีมหามงคล ๘๖ พรรษา

ประชุมวิชาการประชุมวิชาการตลาดนัดความดีสู่การพัฒนาจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้นวัตกรรมระบบครอบครัวเสมือน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปีมหามงคล ๘๖ พรรษา

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :   20  ธันวาคม 2556

ผู้บันทึก :  นางสาวจตุพร ตันตะโนกิจและคณะอาจารย์จำนวน 11  คน นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตจำนวน 20  คน

กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาสูติศาสตร์

ฝ่าย :  วิชาการ

ประเภทการปฏิบัติงาน:ประชุม

วันที่    2 – 3  ธันวาคม 2556

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : -

สถานที่จัด :   ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

เรื่อง : ประชุมวิชาการประชุมวิชาการตลาดนัดความดีสู่การพัฒนาจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้นวัตกรรมระบบครอบครัวเสมือน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปีมหามงคล ๘๖ พรรษา

 รายละเอียด

วันจันทร์ที่ ๒  ธันวาคม ๒๕๕๖

หัวข้อ  ปาฐกถาพิเศษ : PLC (Professional Learning Communities) สู่สถานบริการและชุมชน

โดย ศ.ดร.วิจารณ์ พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล

          องค์ประกอบ  PLC   ประกอบไปด้วย การแลกเปลี่ยนคุณค่าและวิสัยทัศน์,วัฒนธรรมความร่วมมือ, มุ่งเน้นการตรวจสอบและปรับปรุงผลการเรียนรู้, การสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และภาวะผู้นำ,การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปฏิบัติส่วนบุคคล

          การเรียนรู้ด้วยจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

๑.  การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ คือ ความรักความเมตตา,ใส่ใจข้อมูลของผู้รับบริการ,มีความคิดเชิงระบบ,ตัดสินใจได้ด้วยตนเอง

๒. สุนทรียสนทนา ประกอบด้วย มีความเท่าเทียมกัน,รับฟัง, บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ซึ่งสุนทรียสนทนา หมายถึง ความสามารถในการสนทนาอย่างครุ่นคิด  

 

การสะท้อนคิด ช่วยในการทำให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งการใช้เวลาเป็นเงื่อนไขของการสะท้อน

คิด การสะท้อนคิดช่วยพัฒนาการเรียนรู้ ๖ ขั้น คือ สร้างความตระหนักใช้สถานการณ์กระตุ้นความรู้สึกและความคิดเห็น, ทบทวนและตระหนักถึงความรู้สึก บันทึกและแลกเปลี่ยน,ทบทวนข้อเท็จจริง เขียนบันทึก นำไปแลกเปลี่ยน,หาข้อมูลวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจเหตุการณ์นั้นๆ,ปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ ปรับมุมมอง ความคิด ซึ่งเป็นผลมาจากการเรียนรู้,ประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่

๑. การคิดเชิงระบบ ประกอบด้วย มองภาพ,แยกแยะระบบใหญ่เป็นระบบย่อยเพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

๒.  การเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรม ประกอบด้วย ความเท่าเทียมกัน,การรับฟัง,มีความคิดและนวัตกรรม,มีโครงการร่วมกัน

ข้อคิด “ เรายังชีพด้วยสิ่งที่เราได้มา แต่เรามีชีวิตได้โดยสิ่งที่เราให้”

วันอังคารที่  ๓ ธันวาคม ๒๕๕๖

การจัดกระบวนการเรียนรู้สู่การพัฒนาจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ผ่านกระบวนการ  PLC (Professional Learning Community)

โดย  รศ.ดร.วิชัย  วงษ์ใหญ่นำเข้าสู่การบรรยาย โดย การกล่าวถึงคติของบุคคล ดังนี้

 

“คนที่มีการศึกษา คือ คนที่มีความรักและความเกลียดอันถูกต้อง ” Lin  Yutang  “การเรียนแต่ไม่คิดนับว่าสูญเปล่า การคิดแต่ไม่เรียนรู้นับว่าอันตราย” ขงจื๊อ “ I  am  a  slow  walker, but  I  never  walk.

ข้าพเจ้าเป็นคนเดินช้า แต่ไม่เคยเดินย้อนหลัง ” Abraham  Lincon

 

          “ โลกให้ความยุติธรรมกับมนุษย์ชาติ คือ เวลา” ใครบริหารเวลาไม่เป็นคนนั้นเสียเปรียบ

และวิทยากรถามที่ประชุมด้วยคำถาม ต่อไปนี้ …

  1. เวลาอะไรที่ดีที่สุด
  2. ใครที่สำคัญ ที่สุด

๓.  อะไร สำคัญที่สุด               

คำตอบ

๑. เวลาที่ดีที่สุดคือปัจจุบัน

๒. คนที่สำคัญที่สุดคือคนที่อยู่ข้างหน้า

๓. ภารกิจที่อยู่กับเราในขณะนี้

และวิทยากรได้สรุปจบการนำเข้าสู่การบรรยายด้วยข้อคิด 

“ความสุขจากการให้ มากว่าความสุขที่เรามี ความดีความสุขในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญ”

 

เค้าโครงการบรรยาย

๑.รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้สู่การพัฒนาจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ผ่านกระบวนการ PLC (Professional Learning Community)

๒.  Live  &  Learn  ในยุค  ๓G

๓. Generation  Meกับการเรียนรู้

๔.  การเรียนรู้ด้วยจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

๕.  Soft  Skills  Super  Mentor  &  Coaching

 

.รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้สู่การพัฒนาจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ผ่านกระบวนการ  PLC (Professional Learning Community)

 

 

 

 

 

 

ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ(Professional  Learning  Community:  PLC

 

ความเป็นมืออาชีพ(Professional)

PLC

 

 

 

 

 

                       ชุมชนแห่งการเรียนรู้(Learning  Community

 

องค์ประกอบของ  PLC

๑. การแลกเปลี่ยนคุณค่าและวิสัยทัศน์  (share  value  and  vision)

๒. วัฒนธรรมความร่วมมือ (collaboration culture)

๓. มุ่งเน้นการตรวจสอบและปรับปรุงผลการเรียนรู้ (focus  on  examining  outcomes to  improvestudent  learning)

๔. การสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และภาวะผู้นำ (support  and  share  leadership)

๕. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปฏิบัติส่วนบุคคล (shared  personal  practice)

ซึ่งแต่ละองค์ประกอบจะมีความสัมพันธ์กัน

 

 

 

PLC      การรวมกลุ่มของผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะเชิงวิชาชีพและคุณภาพของ

ผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ ร่วมมือร่วมใจ (collaborative learning) การเรียนรู้จากประสบการณ์การปฏิบัติในพื้นที่  (field) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  (sharing  learning)  อย่างต่อเนื่อง โดย จุดเน้นของ  PLC เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน  มากกว่าการสอน(focus on learning rather  than  on  teaching) การทำงานร่วมกัน (work collaborative) ความรับผิดชอบต่อตนเอง (self – accountable)

           การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) ต้องการสนับสนุนให้เกิดความมุ่งมั่นในระยะยาว (Long term Commitment)วิสัยทัศน์ร่วมเป็นแรงผลักดันภายในจิตใจของแต่ละคนแรงปรารถนาส่วนบุคคลShared  Vision คุณค่าที่เป็นจริงและเห็นร่วมกันเป็นวิสัยทัศน์ที่มีชีวิตภายในองค์กร

ทุกคนล้วนมีวิสัยทัศน์ส่วนตน  (Personal  Vision)  คือ  ต้องตระหนักรู้ชัดว่าตนเองต้องการอะไรอยากเป็นอะไร วิสัยทัศน์มีความหมายลึกกว่า เป้าหมาย (Goal) หรือวัตถุประสงค์  (Objective) วิสัยทัศน์เป็นเป้าหมายที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมที่ต้องบรรลุได้ มีความใฝ่ฝันที่จะต้องบรรลุให้ได้ เมื่อรู้ความปรารถนาสูงสุดของตนที่จะไปให้ถึงแล้ว ความมุ่งมั่นพัฒนาตน หรือศักยภาพในการพัฒนาตน  เพื่อไปสู่อนาคตที่พึงปรารถนานั้นเป็นสิ่งสูงสุด  คนเราไม่ได้เรียนเพื่อเรียน แต่เรียนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายบางอย่าง

การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม  (Shared  Vision)  การกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน จะเป็นบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างแท้จริง จะทำให้เห็นศักยภาพและพลังของผู้อื่น

๒. Live  &  Learn  ในยุค  ๓G

๓. Generation  Meกับการเรียนรู้

“Less  Time  Teaching More  Time  Learning”

นวัตกรรมเชิงเทคโนโลยี(Technological  Innovation)

    นวัตกรรมเชิงความคิด   (Ideological  Innovation)

          PLC มีการกำหนดเป้าหมายร่วม สอนน้อย เรียนรู้มาก (teach less learn more) การเรียนภายในภายนอกห้องเรียน ให้เกิดแนวคิดใหม่ การคิดวิเคราะห์ สร้างแรงบันดาลใจ สร้างความมุ่งมั่นเพื่อการแสวงหาความรู้ เน้นคุณภาพและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

การสอนให้น้อย…เรียนรู้ให้มาก (Teach Less  Learn  More:  TLLM)มีกรอบแนวคิด ๓ประเด็น คือ

๑.เหตุผลของการจัดการเรียนรู้ (why we teach) : เพื่อตอบสนองความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้ได้มากที่สุด ให้ตรงตามต้องการสนใจ แรงบันดาลใจ จะช่วยผู้เรียนให้เกิดแนวคิด เกิดการเรียนรู้ในสาระสำคัญของสิ่งที่เรียน กระตุ้นผู้เรียนให้ใช้ศักยภาพของตนในการเรียนรู้และเตรียมผู้เรียนไปสู่การดำรง

ชีวิตในอนาคต มากกว่าการทดสอบต่างๆ

๒. สิ่งที่จัดการเรียนการรู้ (what we teach)   คุณภาพของผู้เรียน ดึงศักยภาพ ความอยากรู้

ความเชื่อมั่นในตนเอง การคิดวิจารณญาณ กระบวนการเรียนรู้  ค่านิยม เจตคติ และระบบคิดที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น

๓. วิธีการจัดการเรียนรู้ (how we teach) เชื่อมโยงสิ่งที่จัดการเรียนรู้ไปสู่การลงมือปฏิบัติ

เอื้ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ แนะนำเป็นตัวแบบ ให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับผู้เรียนรายบุคคลประเมินผลการเรียนรู้เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาและส่งเสริมจิตใจนวัตกรรม (spirit of innovation) การประกอบกิจการ ความกล้าหาญในการสร้างสิ่งใหม่ ( นวัตกรรมสอนน้อย…เรียนรู้ให้มาก less time teach more time learn  นวัตกรรมเข้าถึงเทคโนโลยี)

ลักษณะของ  Generation  M (Millennial)มองตนเองสำคัญที่สุด เป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งทุกอย่าง มีความมั่นใจมากเรียนรู้ได้รวดเร็ว  พร้อมที่จะปรับตัวเข้ากับโลก  ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมองโลกในแง่บวก มีความคิดสร้างสรรค์เป็นนักปฏิบัติที่ดี   สามารถแก้ปัญหาได้      

มุมมองหนึ่งเป็นเรื่องที่มีคนกล้าคิดออกมาให้คนอื่นๆ  เห็นบางเรื่องเข้าท่า  ช่วยไปทดลองทำ

เกิดผลเปลี่ยนแปลงทางที่ดีขึ้น อีกมุมหนึ่งความเห็นจำนวนไม่น้อยเป็นเครื่องมือเลือกใช้เพื่อสร้างความเป็นฉันเพื่อให้คนมาหลงใหลมากขึ้น

          กำลังใหญ่คับโลก  Online  เป็นผลมาจากปฏิกิริยาทางเคมีทางวิทยาศาสตร์  “เทคโนโลยี”  เป็นตัวเร่งที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยานำไปสู่ผลลัพธ์อย่างรวดเร็ว ด้วยพื้นที่เปิดกว้างและอิสระใครอยากทำอะไรก็ทำได้เต็มที่ ทำให้โลก  Online  เป็นแหล่งบ่มเพาะสร้าง Gen Me  ออกมาจำนวนมาก

การอยู่ร่วมกับ  Generation  M

๑.ให้อิสระในการควบคุมตารางงานของตนเอง

๒.กำหนดเกณฑ์และหลักในการพิจารณาที่ชัดเจน

๓.ยืดหยุ่นสถานที่ทำงาน โดยเข้าอินเทอร์เน็ต เฟสบุ๊ค  ยูทูป  เวปไซต์ต่างๆ เพื่อค้นหาข้อมูล ไอเดีย แรงบันดาลใจ การติดต่องานผ่านสมาร์ทโฟนตามที่ตนถนัด  เพื่อผลงานที่มีคุณภาพ

๔.Update เติมความรู้ให้อย่างสม่ำเสมอ

๕.Gen M  กลัวมากที่สุด  คือ  ความล้าสมัย

๖.การใช้ภาษาอังกฤษ  เทคโนโลยี  เพื่อนำมาใช้ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

๗.เปิดพื้นที่ให้แสดงความคิดเห็น แต่ไม่จำเป็นต้องทุกเรื่อง

๘.การเข้าถึงบุคคลที่สามารถตัดสินใจในการแก้ปัญหาเพราะต้องการคำตอบที่แก้ปัญหาได้

จริง

๙.การให้อำนาจ (empower) ในขอบข่ายหน้าที่ความรับผิดชอบ

๑๐.การควบคุมคุณภาพและความสมบูรณ์ของผลงาน

 

๔.  การเรียนรู้ด้วยจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

วิทยากร รศ.ดร.วิชัย  วงษ์ใหญ่และดร. ดร.มารุต  พัฒผล ด้นำเสนอ รูปแบบ การจัดการเรียนรู้ รูปแบบสมมติฐาน (hypothesis  model)  การบูรณาการพัฒนาการคิดเชิงระบบโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ดังรายละเอียด

 

รูปแบบสมมติฐาน (hypothesis  model) การบูรณาการพัฒนาการคิดเชิงระบบโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

 

การเรียนรู้ด้วยจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์                              คุณลักษณะผู้เรียน

          ๑.  การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์                       ๑. การเรียนรู้อย่างมีความสุข

          ๒.  สุนทรียสนทนา                                              ๒. การคิดเชิงระบบ       

          ๓.  การคิดเชิงเป็นระบบ                                         ๓. จิตบริการด้วยหัวใจความ

          ๔.  การเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรม                                  เป็นมนุษย์

 

 

 

คุณลักษณะของผู้เรียน

๑. การรับฟังอย่างลึกซึ้ง

๒. การมีส่วนร่วม

๓. ความเท่าเทียม

๔. การคิดเชิงระบบและนวัตกรรมสุขภาพ

 

 

 

 

 

.การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

๑.ความรักความเมตตา

๒.ใส่ใจข้อมูลของผู้รับบริการ

๓.มีความคิดเชิงระบบ

๔.ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (คิด ทำ ตัดสินใจ)

๕.ตัดสินใจได้ด้วยตนเองผู้นำ ต้องเสียสละ มีศรัทธา และ มองภาพรวม =สู่การคิดเชิงระบบ

คิด  เพื่อตนเอง สังคมรอบข้าง (ครอบครัว คิดถึงสังคมมากขึ้น )

ความเหลื่อมล้ำทางปัญญาและโอกาสยังมีมากในสังคมไทยเมื่อความจำเป็นพื้นฐานได้รับการตอบสนองในระดับหนึ่งแล้ว ประชาชนจะสนใจเรื่อง  “สิทธิ”  และ “ความเท่าเทียม” มากขึ้น และยังมีปัญหาความไม่เป็นธรรมแฝงเร้นอยู่ในระบบอีกจำนวนมาก ที่ยังไม่ได้รับการดูแล ปัญหาความไม่เป็นธรรมเป็นปัญหาเชิงระบบที่กระทบถึงรากฐานคุณธรรม  จริยธรรมของสังคม การปะทุของปัญหาจะเกิดขึ้นในวันใดวันหนึ่งดังนั้นจึงต้องนำกระบวนการเรียนรู้ การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ มองภาพรวม ลดทอนความคิดถึงตัวเองลงและกลับมาคิดถึงคนรอบข้าง คิดถึงครอบครัว คิดถึงสังคมมากขึ้น โดยไม่ต้องให้ใครมาสอนจริยธรรม

          ลงพื้นที่ศึกษา : ประเด็น ข้อมูล ความเชื่อมโยง  ตัวแสดง  พื้นที่  ธรรมชาติของพื้นที่ แผนที่เดินดิน

ใช้สติและการวิเคราะห์พูดอะไรต้องรู้จริง  ไม่ใช่แค่รู้  แล้วก็พูด ความรับผิดชอบต่อการกระทำ

การเรียนรู้ด้านในเป็นคุณภาพ และคุณค่าที่แท้จริง

ทำความดีด้วยความเพียรเมล็ดพันธุ์แห่งความดี ดอกไม้แห่งความสุข

. สุนทรียสนทนา

๑. มีความเท่าเทียมกัน

๒.  การรับฟังอย่างลึกซึ้ง

๓.  การเฝ้าดูจิตใจและความคิดที่เกิดขึ้น

สุนทรียสนทนา  (Dialogue)  คือ ความสามารถในการสนทนาอย่างครุ่นคิด และผลิดอกออกผลเป็นกระบวนการพูดจา เพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยผ่านการครุ่นคิดอย่างลึกซึ้งเพื่อให้เกิดความคิดใหม่  มุมมองใหม่ ที่ผลิดอกออกผล การสนทนาแบบนี้จะทำให้แต่ละคนพยายามฟังคนอื่น  และตั้งคำถามเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ร่วมกัน

การสร้างพื้นที่ทางสังคมใหม่ที่เอื้อต่อการคิดร่วมกันอย่างเสมอภาคการสนทนาที่นำไปสู่การคิดร่วมกัน ฟังซึ่งกันและกันโดยไม่มีการตัดสินข้อสรุปใดๆ

ความคิดที่ดี  เกิดจากการฟังที่มีคุณภาพการตั้งใจฟังกัน  การเข้าใจ  การเทใจมารวมกัน สมาธิอยู่กับตัวเอง  และเสียงที่ได้ยิน ให้ความเข้าใจกับเสียงผู้อื่น กำหนดใจรับรู้ความเงียบด้วยความรู้สึกเชิงบวก

การสะท้อนคิด(reflective  thinking

กระบวนการช่วยให้เกิดการเรียนรู้  โดยใช้การคิดผ่านประสบการณ์ที่มีผลต่ออารมณ์และความรู้สึก

-  ช่วยให้บุคคลหยั่งรู้และค้นพบตนเอง

-  การเขียนบันทึกการสะท้อนคิด  ช่วยให้ข้อมูลเชิงประจักษ์ สำหรับการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

 การใช้เวลาเป็นเงื่อนไขแห่งการสะท้อนคิด

          ๑.  Reflection – on – action เกิดขึ้นหลังจากประสบการณ์ เป็นการมองย้อนสถานการณ์  เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้น

๒.  Reflection – in – action เกิดขึ้นในขณะที่อยู่ในสถานการณ์ ที่ไม่มีคำตอบชัดเจน

และทำให้หยุดคิด  เพื่อหาทางออกแก้ปัญหาขณะทำกิจกรรม

๓.  Reflection – for – action  เปิดความคิดที่มุ่งจะวางแผน การแก้ไขปัญหาในอนาคต

 การสะท้อนคิดช่วยพัฒนาการเรียนรู้  ๖ขั้น

          ๑.  สร้างความตระหนัก  ใช้สถานการณ์กระตุ้นความรู้สึกและความคิด

๒.  ทบทวนและตระหนักถึงความรู้สึก  บันทึก  และแลกเปลี่ยน

๓.  ทบทวนข้อเท็จจริง  เขียนบันทึก  นำไปแลกเปลี่ยน

๔.  หาข้อมูล  วิเคราะห์  เพื่อทำความเข้าใจเหตุการณ์นั้น

๕.  ปรับเปลี่ยนการเรียนรู้  ปรับมุมมอง  ความคิด  ซึ่งเป็นผลมาจากการเรียนรู้

๖.  ประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่

 .  การคิดเชิงระบบ

๑.  มองภาพรวม

๒.  แยกแยะระบบใหญ่เป็นระบบย่อย

๓.  เพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

การคิดอย่างเป็นระบบ  (System  Thinking)

๑.   สภาวะที่เป็นจริงของธรรมชาติมีความสัมพันธ์เป็นวงกลม

๒.  แต่เรามักเห็นมันเป็นเส้นตรง  เพราะกรอบความคิดแบบเชิงเส้น(Linear  Thinking)

๓.  ภาษาแบบเชิงเส้น เราจะเห็นเพียงการแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ 

๔.  ภาษาแบบวงกลมเราจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างกัน

๕.  ปัญหาปัจจุบันเกิดจากการแก้ปัญหาในอดีต

๖.  แรงกดดันยิ่งมาก แรงต้านยิ่งเยอะ

๗.  สิ่งต่างๆ ดูเหมือนจะดีในตอนต้น แต่กลับแย่ลงในตอนหลัง

๘.  ทางออกง่ายๆ จะพาเรากลับมาที่เดิม

 .  การเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรม

๑.  ความเท่าเทียมกัน

๒.  การรับฟัง

๓.  มีความคิดและนวัตกรรม

๔.  มีโครงการร่วมกัน

๕.  Teach  Less  Learning  More :  TLLM

 ลักษณะร่วมของการคิดเป็นระบบ  สุนทรียสนทนาการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

การเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรม

          ๑.  ความเท่าเทียม

๒.  การรับฟังอย่างลึกซึ้ง

๓.  การมีส่วนร่วม

๔.  ความคิดเชิงระบบและนวัตกรรม

 ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่  ๒๑

๑.  ทักษะชีวิตและอาชีพ

๒.  ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม

๓.  ทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเน้นการรู้เท่าทัน  ICT  Literacy

 การจัดกิจกรรมทักษะชีวิต

มุ่งเน้นให้นักเรียน

          -  มีการสะท้อนคิดด้วยตนเอง  (self – reflection)

          -  การสะท้อนคิดเป็นกลุ่ม  (group  reflection)

          -  ให้ผู้เรียนเป็นผู้คิดและจัดการเรื่องต่างๆ ด้วยตนเอง

 การพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นสากล

I am,  I have  และ  I can

เพื่อผู้เรียนจะได้มีพลังตัวตน พลังสิ่งแวดล้อม  สามารถจัดการตนเองได้

 การทำงานร่วมกันระหว่างจิตกับกาย

          ประกอบด้วย  ๔ส่วน

๑.  จิตสำนึก  (conscious)

๒.  ตัวขวางจิต  (psychic  barrier)

๓.  จิตใต้สำนึก  (subconscious)

๔.  กาย  (body)

 การเรียนรู้

เป็นขั้นตอนแรกของทุกกิจกรรมการดำเนินชีวิตการเรียนรู้ได้ดีภายใต้ สภาวะจิตสำนึก

ที่แจ่มใส มีสมาธิ การเรียนรู้เป็นการจัดเก็บข้อมูลเข้าสู่จิตสำนึก การทำให้จิตสำนึก มีความพร้อมในการเรียนรู้ คือ  การมีสมาธิ

การรับรู้ เป็นการบันทึกข้อมูลสู่จิตสำนึก เป็นขั้นตอนต่อจากการเรียนรู้ แต่ละคนมีความสามารถในการเรียนรู้แตกต่างกัน การบรรลุข้อมูลอย่างเป็นระบบ  เกิดการเรียนรู้แจ้งเห็นจริง

การเกิดศรัทธา  เป็นขั้นตอนจากการรู้แจ้งเห็นจริง จะเกิดเป็นภาพจินตนาการที่สอดคล้องกับข้อมูลเดิมในจิตใต้สำนึก  

การไม่มีศรัทธา ทำให้ภาพในจินตนาการจากจิตสำนึกสลายตัวไป ไม่ถูกเก็บลงสู่จิตใต้สำนึก

จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับจิตใต้สำนึก

การปฏิบัติตามศรัทธาและเห็นผลในการปฏิบัติจะเสริมพลังศรัทธา ภาพจินตนาการให้ชัดเจนยิ่งขึ้น 

การปฏิบัติซ้ำอย่างต่อเนื่อง จะเกิดทักษะของจิตใต้สำนึก สั่งกายได้อย่างอัตโนมัติเกิดเป็นนิสัยใหม่

  . Soft Skill  Super Mentor & Coaching

 เป้าหมายของ  Supper Mentor

๑.  สามารถจัดการเรียนการสอนแนวใหม่

๒.  สามารถชี้แนะให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง

๓.  พัฒนาให้ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์

๔.  มีความรับผิดชอบ  มีจิตสำนึกต่อสังคม

๕.  รู้จักที่จะสร้างสิ่งใหม่ให้กับสังคม

พี่เลี้ยง  (Mentor) หมายความว่า อยู่ห่างๆ ไม่ทำอะไรให้ บอกอย่างเดียว ให้กำลังใจ ให้เขาลงมือทำเอง เราอาจเสนอความเห็น ให้เขาไปคิดเอง วันหนึ่งเขาทำได้   เขาก็จะไม่ต้องวิ่งมาหาเรา

โค้ช (Coach) หมายความว่าการฝึกสอนให้เขาเก่ง บอกจุดด้อย จุดที่ควรปรับปรุง เราอาจจะลงมือ   ทำให้ดูก่อน แล้วให้เขาทำตาม พร้อมทั้งติชม เพื่อดึงศักยภาพของเขาออกมา

ความแตกต่างระหว่าง  Coaching  และ  Mentoring

Coach  เป็นผู้ค้นหาความสามารถของผู้ที่ได้รับการโค้ชแล้วกระตุ้นให้ใช้ความสามารถของตัวเองอย่างถูกต้อง

Coach เริ่มที่งาน จะให้ผลในงานชัดเจน

Mentoring เริ่มที่ใจ อาจไม่ได้รับผลตามที่คาดหวัง ชี้แนวทาง ทางเลือกสุดท้าย ผู้รับการ Mentor จะเป็นผู้ตัดสินใจเอง ทั้ง Coaching และ Mentoring คือเรื่องส่วนตัว ความดีงาม  สร้างศรัทธา  ความรัก  ความผูกพัน

 ทฤษฎีการปิ๊งแวบ

ใช้หัวใจในการทำงาน  การ coaching และ mentoring

การฟังอย่างแท้จริง  เขารู้สึกว่าได้สิ่งที่เขาต้องการ

ทำให้ชีวิตมีพลัง  มีความชัดเจน 

รู้ว่ากำลังทำอะไร สามารถดึงศักยภาพออกมา

 หัวข้อ  :   เสวนา การประยุกต์ใช้นวัตกรรมกระบวนการเรียนรู้การสร้างชุมชนสุขภาวะ หนึ่งวิทยาลัย หนึ่งชุมชน

 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น อสม นำมาอบรม เป็นตัวตัวหลักในการให้บริการ

ครอบครัวเสมือน ๒๔ครอบครัว โดยให้ขอนแก่น ผู้สูงอายุเป็นหัวใจหลัก เป็นแผนในปีนี้ ครอบครัวเสมือนจะไปดูแลครอบครัวในชุมชน มีโครงการจะขยายครอบครัวเพิ่ม ๔-๕หลังคาเรือน

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช เริ่มโครงการตั้งแต่ปี ๒๕๕๒  ย่างเข้าสู่ปีที่ ๕แล้ว วัตถุประสงค์คือพัฒนานักศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรม และบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์  ภายในวิทยาลัยมีทั้งหมด ๒๐ครอบครัวย่อย มีอาจารย์ บุคลากร ในบ้านครอบครัว สร้างรักสร้างสุขสู่สังคม  นำความสามารถไปสู่สังคมภายนอกได้ คือ คุณธรรมจริยธรรม  จิตอาสา รักสิ่งแวดล้อม  ใช้ระบบสุนทรียสนทนา ทำกิจกกรมร่วมกันในครอบครัว แต่ละปีจะเดินไปทีละก้าวและมั่นคง ภายในวิทยาลัยจะมีการจัดดูอาวุโสเข้าครอบครัว  พี่พยาบาลบนโรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช  ร่วมเข้าครอบครัวในวิทยาลัยด้วย ได้อบรทสุนทรียสนทนา เพื่อดูแลผ่านการอบรมมาแล้ว  ใช้ชุมชนนาเคียนเป็นกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีมุสลิม ๘๐-๙๐%  ส่วนใหญ่จะเป็นผู้พิการ นอนอยู่กับที่ ขาดการดูแล จึงใช้ระบบครอบครัวเข้าไปพัฒนา มีการประสานงานกับสถานีอนามัย และองค์การบริหารส่วนตำบล โดยเริ่มแรกใช้ระบบรับสมัครอาจารย์ นักศึกษาที่สนใจ ประมาณ ๕๐-๖๐คน ดูแลผู้พิการ แบ่งนักศึกษาเข้าระบบครอบครัว๙  หมู่บ้าน ให้อาจารย์เป็นผู้ใหญ่บ้าน  นักศึกษาเป็นสมาชิกของบ้าน เจ้าหน้าที่อนามัยเป็นพี่เลี้ยงแต่ละครอบครัวมีการดูแลผู้พิการ  มีพันธะสัญญาร่วมกัน  ดูแลแล้วดีขึ้น ได้รับการดูแล ร่วมกิจกรรมในชุมชนได้  ส่วนหนึ่งสามารถผลิตชิ้นงานได้ สร้างรายได้

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักกรีรัช ชุมชนสุขภาวะ อัตลักษณ์ของวิทยาลัย คือ ใช้ครอบครัวเสมือนร่วมกับรักจักกรีรัช เริ่มใช้ในปี พ.ศ.๒๕๕๑จนถึงปัจจุบัน   ผอ ท่านใหม่มีแนวคิดการบูรณาการร่วมกับพันธกิจ มีนโยบาย ปรับระบบครอบครัว จาก ๒๐เหลือ ๙ครอบครัว โดยมี ปู ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ เป็นผ้สูงอายุในครอบครัว ทำพันธะสัญญาร่วมกัน กระบวนการเข้มแข็งมากขึ้น มีการทำกิจกรรม ใช้สุนทรียสนทนาและถอดบทเรียน  เก่ง ดี มีสุข คาดหวัง ของวิทยาลัยได้รับการพัฒนามากขึ้น นำไปสู่สุขภาวะชุมชนมากขึ้น

 หัวข้อ    สะท้อนการเรียนรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรม ตลาดนัดความดีสู่การพัฒนาจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้นวัตกรรมระบบครอบครัวเสมือน ครั้งที่ ๔ระหว่างวันที่ ๒-๓ธันวาคม ๒๕๕๖

          จากการเข้าร่วมงานตลาดนัดความดีครั้งที่ ๔ที่ผ่านมาทั้ง๒วัน ได้มีโอกาสรร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างวิทยาลัยในสังกัดพระบรมราชชนกและหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งตัวดิฉันเองรับหน้าที่ในการเป็นตัวแทนประจำบู๊ทของวิทยาลัย ซึ่งได้มีโอกาสพูดคุยและตอบคำถามของผู้ที่มาเยี่ยมชมบู๊ทของวิทยาลัย เกี่ยวกับความเป็นมารวมไปถึงการดำเนินกิจกรรมของวิทยาลัย ภายใต้นวัตกรรมระบบครอบครัวเสมือน ซึ่งได้รับคำชมจากผู้ที่มาเยี่ยมเยือนบู๊ท เกี่ยวกับโครงการ ๑ตำบล ๑วิทยาลัย เกี่ยวกับแนวคิดของการดำเนินโครงการที่ทางวิทยาลัยได้จัดให้มีครอบครัวอุปถัมป์เกิดขึ้นซึ่งได้รับการชื่นชมว่าถือเป็นแนวคิดที่ดี ที่ได้มีการจัดให้นักศึกษาได้ลงไปเรียนรู้วิถีชีวิตของคนในชุมชนด้วยตนเอง ซึ่งดิฉันเองได้อธิบายว่า ทั้งนี้ก็เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ที่จะอยู่กับชุมชนและเข้าใจในชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคลตามสภาพ ซึ่งนักศึกษาจะได้นำการเรียนรู้ในส่วนนี้มาปรับใช้ในการเรียน รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ของนักศึกษาพยาบาล เนื่องจากเราจำเป็นที่จะต้องอยู่ร่วมกับคนในชุมชน ซี่งตัวแทนจากวิยาลัยพยาบาล สุรินทร์ บอกว่าจะนำแนวคิดดังกล่าวนี้ไปปรับใช้ภายในวิทยาลัยของตนเอง เพราะทางวิทยาลัยพยาบาลที่สุรินทร์ ส่วนใหญ่แล้วจะทำกิจกรรมภายในวิทยาลัยเป็นส่วนใหญ่ ยังไม่ได้ดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม จึงจะนำแนวคิดเกี่ยวกับ ๑ตำลบ ๑วิทยาลัยของทางวิทยาลัยของเราไปลองปรับใช้

          นอกจากนี้ยังได้มีโอการเยี่ยมชมบู๊ทอื่นๆด้วย ซึ่งมีอยู่หลายสถาบันที่มาเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เช่นได้เยี่ยมชมบู๊ทของมหาวิทยาลัยสยาม ซึ่งทางมหาวิทยาลัยสยามได้จัดทำโครงการภายใต้ชื่อ FAM NURSE ซึ่งเป็นโครงการที่ต่อยอดมาจากโครงการ Family Nurse ซึ่งเป็นโครงการของทางคณะพยาบาลได้จัดทำขึ้น โดยกิจกรรมของทางมหาวิทยาลัยสยามจะเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกับชุมชนภาษีเจริญซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่หลังมหาวิทยาลัย ซึ่งทางนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสยามได้จัดทำโครงการ พยาบาลประจำบ้านซึ่งจะมีนักศึกษาจากคณะพยาบาลของทางมหาวิทยาลัยประจำอยู่ในแต่ละบ้าน และยังมีโครงการที่ให้ชาวบ้านในชุมชนช่วยกันทำความสะอาดภายในชุมชน โดยทางอาจารย์และนักศึกษาได้สอนชาวบ้านในชุมชนในการทำไม้กวาดจากขวดน้ำอัดลมพลาสติก เนื่องจากมีความคงทนและเป็นการลดปริมาณของขยะภายในชุมชนอีกด้วยซึ่งนอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับทางสำนักงานเขตภาษีเจริญ ในการจัดส่งเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดมาร่วมด้วยนอกจากนั้นทางมหาวิทยาลัยสยามก็ได้มีการใช้แนวคิดของครอบครัวเสมือนเช่นเดียวกัน แต่จะเป็นโครงการที่ทำขึ้นภายในคณะโดยมีอาจารย์ นักศึกษาแต่ละชั้นปีภายในครอบครัว ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือกันภายในครอบครัว

          วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีชลบุรี ซึ่งทางวิทยาลัยได้จัดกิจกรรมโครงการ ค่ายอาสาที่ภาคอีสานขึ้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกับชุมชนและนักเรียน ซึ่งจากการเยี่ยมชมบู๊ทและได้พูดคุยก็ได้แนวคิดในการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนเพิ่มมากขึ้นและได้เยี่ยมชมบู๊ทของวิทยาลัยอื่นๆอีก เช่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีขอนแก่นซึ่งได้เยี่ยมชมบู๊ทและได้แลกเปลี่ยนในส่วนของการดำเนินกิจกรรมครอบครัวร่วมกัน โดยลักษณะของโครงการก็คล้ายกับวิทยาลัยของเราเอง เพราะมีการแบ่งนักศึกษา อาจารย์เป็นครอบครัวและมีชุมชนสำหรับเป็นชุมชนที่มีส่วนร่วมกิจกรรมกับวิทยาลัยด้วย

.  ด้านทางการพัฒนาและใช้ประโยชน์

๑. สิ่งแรกเลยที่ได้รับในเรื่องของการกล้าแสดงออก การกล้าที่จะคิด กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น เพราะเราเชื่อว่า หากเพียงแค่คุณกล้าที่จะคิด กล้าที่จะทำ เมื่อคุณอะไรอยู่ เมื่อคุณแสดงมันออกมา จะทำให้คนอื่นทราบความต้องการของคุณ จะได้ช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น

๒. เราเชื่อว่าทุกคนมีศักยภาพ และมีความคิดที่ต่างกัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าความคิดของใครคนใดคนหนึ่งจะถูก หรือความคิดของใครจะผิด เพียงแต่เราจะได้นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

๓. ได้สัมพันธภาพระหว่างเพื่อนต่างสถาบันกัน ระหว่างเพื่อนในรุ่นเดียวกัน และระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้องกัน

๔. ได้ความสามัคคี ในเรื่องของการทำงานร่วมกันเป็นทีม เป็นหมู่คณะ

๕. ได้ฝึกทักษะการพูด การเป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดี

๖. นำความรู้ที่แปลกใหม่ไปพัฒนาและประยุกต์ใช้กับวิทยาลัย

๗. นำไปใช้กับการปฏิบัติงาน และในชีวิตประจำวัน สังคมและครอบครัวต่อไป

๘. ได้แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้สู่การพัฒนาจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

๙. การนำแนวคิดไปปรับใช้ในการทำงาน

๑๐.นำความรู้ไปประยุกต์ใช้เกิดนวตกรรมการบริการโดยบริการ

๑๑.ได้เห็นต้นแบบประกอบการทำความดีสามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาโครงการเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวมต่อไปได้

๑๒.นำแบบอย่างการพัฒนานวตกรรมไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสถาบัน

๑๓.นำความรู้ที่ได้จากการประชุมไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

๑๔.นำความรู้ไปถ่ายทอดให้ถึงบุคลากรในวิทยาลัยให้เกิดการเรียนรู้และรู้จักการให้บริการแบบจิตอาสา

๑๕.นำไปพัฒนาและนำรูปแบบไปใชัในหน่วยงานซึ่งจะเป็นโอกาสพัฒนาตนเองหลังจากได้ฟัง PLC

    เห็นจุดเริ่มต้น พัฒนาจริยธรรม

 . ปัญหาและอุปสรรค

๑. เรื่องของเวลา เริ่มตั้งแต่การออกเดินทางจากวิทยาลัย ที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะออกเดินทางในเวลา ๖ โมงเช้า แต่ด้วยความที่จะทำภารกิจ ต่างๆมากมาย ตั้งแต่การขนสัมภาระ แต่อุปกรณ์ต่างๆมี่นำไปจัดนิทรรศการ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมของรถ และความพร้อมของนักศึกษาทำให้เวลาล้าช้ากว่าที่กำหนดไว้

๒. เรื่องของการไม่ตรงเวลาในขณะที่เข้าร่วมประชุม เมื่อในที่ประชุมตกลงกันว่าหลังจากพักรับประทานอาหารกันเรียบร้อยแล้ว ให้มาพร้อมกัน แต่เมื่อถึงเวลาบางคนอาจจะยังทำภารกิจไม่เสร็จเรียบร้อย บางกลุ่มก็นั่งกันอยู่ด้านนอกหอประชุม นั่งพูดคุยกันไม่เข้ามานั่งฟัง ถือเป็นการไม่ให้เกียรติผู้พูด และไม่สามารถเป็นผู้ฟังที่ดีได้

๓. การจัดนิทรรศการในแต่ละวิทยาลัย  บางซุ้มมีการจัดที่สวยงาม ดึงดูดความสนใจเป็นอย่างมาก แต่ไม่มีผู้ที่คอยให้คำบรรยาย หรือแนะนำมาเสนอ ทำให้ผู้ที่มีความสนใจ หรือต้องการจะหาความรู้ ไม่สามารถรับความรู้ได้ตามที่ต้องการ

๔. ในเรื่องของการตอบคำถามและการแสดงความคิดเห็น โดยส่วนมากที่ไปตลาดนัดความดีนั้น นักศึกษาที่ไปนั้น เป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่๑ ส่วนใหญ่ เวลาตอบ

๕. คำถามหรือเสวนาจึงพูดได้ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากยังขาดทั้งความรู้และประสบการณ์ในเรื่องของระบบครอบครัวเสมือน ถ้าเป็นไปได้อยากจะให้พี่ๆไปร่วมด้วยมากกว่า เพราะพี่ๆจะมีประสบการณ์มากกว่า และอาจจะแสดงความคิด ได้ดีกว่าน้องปี๑

 

 

 

 

  (475)