Author Archives: admin

ระเบียบและเวลาให้บริการ

ระเบียบการใช้ห้องปฏิบัติการ

ข้อปฏิบัติการยืม -คืน วัสดุ วัสดุอุปกรณ์ห้องปฏิบัติการพยาบาล

การยืมวัสดุ/ครุภัณฑ์

๑. ผู้ขอใช้บริการติดต่อเขียนแบบฟอร์มการยืม ใส่ตระแกรงที่เตรียมไว้หน้าเคาน์เตอร์

๒. กรณีต้องการยืมวัสดุ/ครุภัณฑ์ใช้ในวันจันทร์ ติดต่อเขียนแบบฟอร์มการยืม ในวัน ศุกร์ก่อนเวลา 14.00 น.

๓. กรณียืมวัสดุ/ครุภัณฑ์ ใช้ในการเรียนการสอนประจำรายวิชา ให้ทำหนังสือแจ้งความจำนงผ่านภาควิชาล่วงหน้าก่อนเปิดภาคเรียนการศึกษาอย่างน้อย ๓ สัปดาห์

๔. กรณีผู้ขอใช้บริการเป็นนักศึกษาและมีความจำเป็นต้องใช้วัสดุ/ครุภัณฑ์เร่งด่วน สามารถติดต่อ ขอยืมได้ โดยให้อาจารย์นิเทศลงนามยอมรับรองความจำเป็น

ขั้นตอนการรับวัสดุ/ครุภัณฑ์

๑. วัสดุ/ครุภัณฑ์ที่มีการจัดเตรียมไม่ยุ่งยาก สามารถรับวัสดุ/ครุภัณฑ์ที่ยืมได้ทันที

๒. ผู้ขอใช้บริการต้องตรวจสอบสภาพวัสดุ/ครุภัณฑ์ทุกครั้งก่อนลงนามรับ

ขั้นตอนการคืนวัสดุ/ครุภัณฑ์

๑. ผู้ขอใช้บริการติดต่อคืนกับเจ้าหน้าที่ประจำเคาน์เตอร์เท่านั้น

๒. ผู้ขอใช้บริการต้องการยืนยันการตรวจสอบสภาพวัสดุ/ครุภัณฑ์กับเจ้าหน้าที่ทุกครั้ง ก่อนลงนามส่งคืน

๓. ผู้ขอใช้บริการจะต้องรับผิดชอบค่าความเสียหายของวัสดุ/ครุภัณฑ์ กรณีเกิดการชำรุดเสียหายตามราคาวัสดุ/ครุภัณฑ์ โดยจัดทำหนังสือถึงหัวหน้าห้องปฏิบัติการเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

๔. กรณีคืนช้ากว่ากำหนด ผู้ขอใช้บริการจะต้องชำระค่าปรับตามข้อกำหนดของวิทยาลัยในอัตรา ๓ บาท/ชิ้น/วัน

๕. กรณีทีมีความจำเป็นต้องการใช้วัสดุ/ครุภัณฑ์ต่อหรือไม่สามารถคืนวัสดุ/ครุภัณฑ์ได้ตามวันที่กำหนด ให้ติดต่อแจ้งเจ้าหน้าที่ด้วยตนเองหรือทางโทรศัพท์ เพื่อต่อระยะเวลาการยืมการคืนวัสดุ/ครุภัณฑ์

 

วัสดุ/ครุภัณฑ์ที่ให้บริการ

วัสดุ แยกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

วัสดุสิ้นเปลือง เช่น สาลี ผ้าก๊อส ไม้พันสาลี น้ำยา และยาต่าง ๆ เป็นต้น

วัสดุ เช่น อับสาลี กระบอกฉีดยาชนิดแก้ว ชามรูปไต กระปุกพร้อมปากคีบ และ ชุดฝึกปฏิบัติการทางการพยาบาลต่าง เป็นต้น

– ครุภัณฑ์ เช่น หูพัง เครื่องวัดความดันโลหิต ชิ้นส่วนต่างๆ เป็นต้น

หมายเหตุ  ระยะเวลาในการยืม ครั้งละไม่เกิน 3 -7 วัน หากมีความจำเป็นใช้อุปกรณ์ต่อไป สามารถยืมต่อได้ที่ห้องปฏิบัติการพยาบาล ถ้าไม่ปฏิบัติตามจะไม่มีสิทธิ์ยืมอุปกรณ์อีก

– ผู้รับบริการติดต่อขอรับอุปกรณ์ที่ยืมพร้อมตรวจนับอุปกรณ์ และตรวจสภาพก่อนการใช้งานทุกครั้งก่อนรับอุปกรณ์ออกจากห้องปฏิบัติการพยาบาล

 

 

แนวทางปฏิบัติของผู้ใช้ห้องปฏิบัติการทางการพยาบาลเพื่อศึกษาด้วยตนเอง

 

ขั้นตอนในการจอง

๑. ติดต่อขอแบบฟอร์มจากเจ้าหน้าที่และกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนและให้ผู้ยืมเก็บสำเนาการยืมไว้  ให้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการพยาบาล ล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน ก่อนฝึกปฏิบัติการและสำหรับหน่วยงานและ/หรือบุคลากรภายนอกวิทยาลัยให้ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช ล่วงหน้าอย่างน้อย ๑ สัปดาห์พร้อมระบุผู้ที่ติดต่อกลับให้ชัดเจน

๒. ระบุกิจกรรมที่ต้องการฝึกปฏิบัติให้ชัดเจน

๓. จองครั้งละไม่เกิน 8 คน ต่อ 1 กิจกรรม (อาจเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม)

๔. หากจองแล้วนักศึกษาไม่มาใช้ตามวัน เวลาที่กำหนด จะต้องจ่ายค่าปรับ ครั้งละ ๕๐ บาท

ขั้นตอนการใช้บริการ

   ก่อนและขณะฝึกปฏิบัติ

๑. แต่งกายเครื่องแบบนักศึกษาหรือเครื่องแบบสุภาพทุกครั้งที่เข้าใช้ห้องปฏิบัติการพยาบาล

๒. ถอดรองเท้าก่อนเข้าห้องปฏิบัติการ และจัดวางในชั้นให้เป็นระเบียบทุกครั้ง

๓. ข้อห้าม

– ห้ามนำอาหาร เครื่องดื่ม เข้ามาในห้องปฏิบัติการพยาบาล

– ห้ามส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น

– ห้ามขีดเขียนข้อความใดๆ ลงในตัวหุ่น ตู้ ฉาก หรืออุปกรณ์อื่นๆ

๔. ห้ามนำอาหาร เครื่องดื่ม ขนม เข้ามารับประทานภายในห้องปฏิบัติการพยาบาล

๕. ห้ามนำกระเป่า ถุง ย่าม เข้ามาในห้องปฏิบัติการการพยาบาล ยกเว้น ของมีค่า

๖. ตรวจเช็ครายการอุปกรณ์ และตรวจสอบสภาพการใช้งานทุกครั้งก่อนฝึกปฏิบัติการ

๗. ขณะฝึกปฏิบัติหากวัสดุ อุปกรณ์ หรือหุ่นฝึกปฏิบัติชำรุดหรือมีปัญหาให้รีบติดต่อแจ้ง เจ้าหน้าที่ให้ทราบ

เพื่อดำเนินการแก้ไขทันที ในการฝึกปฏิบัติ นักศึกษาควรฝึกตามคู่มือที่จัดเตรียมไว้แต่ละกิจกรรม

 หลังฝึกปฏิบัติ

๑.  เมื่อเสร็จการฝึกปฏิบัติการ ให้นำอุปกรณ์ต่างๆไปล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อย พร้อมตรวจสภาพความ

เรียบร้อยรวมทั้งนับจำนวนอุปกรณ์ก่อนจัดเก็บให้อยู่ในสภาพเดิม

๒. ปิดแอร์ ไฟ พัดลม และหน้าต่างหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกปฏิบัติการทุกครั้ง

๓. ก่อนออกจากห้องปฏิบัติการพยาบาล ให้เจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการพยาบาลตรวจสอบความเรียบร้อย

ของอุปกรณ์และสภาพแวดล้อมก่อนทุกครั้ง หากไม่แจ้ง และเจ้าหน้าที่มาตรวจพบภายหลังว่า วัสดุอุปกรณ์

มีการชำรุด เสียหาย นักศึกษาที่เข้าฝึกปฏิบัติช่วงเวลานั้น ต้องเขียนรายงานเหตุการณ์ ต่อรองฝ่ายวิชาการ

เพื่อพิจารณาการชดใช้ค่าเสียหายต่อไป

๔. ลงชื่อในแบบตรวจสอบความพร้อม เวลาเข้า-ออก ส่งคืนเจ้าหน้าที่เพื่อเก็บสถิติ

หมายเหตุ ในการฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง นักศึกษาต้องปฏิบัติตามระเบียบของห้องปฏิบัติการอย่างเคร่งครัด

 

 

การบริการ

รูปแบบการบริการ 

๑.    ให้บริการจัดเตรียมอุปกรณ์และสถานที่เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ ที่ต้องอาศัยการฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการทางการพยาบาล

๒.    ให้บริการยืม-คืนอุปกรณ์และสื่อที่เกี่ยวข้องกับการฝึกปฏิบัติทางการพยาบาลรวมทั้งใช้สถานที่ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

๓.    ให้ความร่วมมือในการสอน การวิจัย การประเมินผล และเป็นที่ปรึกษาด้านการฝึกทักษะการปฏิบัติทางการพยาบาล

๔.    อำนวยความสะดวกเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองเกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติทางการพยาบาล

 

 

ผู้มีสิทธิใช้บริการ ยืมวัสดุ/ครุภัณฑ์ ของห้องปฏิบัติการทางการพยาบาล

๑. บุคลากรภายในวิทยาลัยพยาบาลประกอบด้วย นักศึกษาแต่ละชั้นปี อาจารย์และบุคลากรสังกัดวิทยาลัยพยาบาล

๒. นักศึกษาหลักสูตรอื่นหรือบุคลากรสาธารณสุขอื่น (แจ้งขอใช้บริการเป็นครั้งคราว พิจารณาตามความจำเป็น)

๓. บุคลากรอื่นซึ่งอยู่ในดุลยพินิจของผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาล

ข้อปฏิบัติผู้ใช้ห้องปฏิบัติการพยาบาล

อาจารย์

๑. อาจารย์เจ้าของวิชาที่ต้องการใช้ห้องปฏิบัติการพยาบาล ให้จัดทำแผนการใช้ห้องและเสนอให้ผู้ประสานงานกลุ่มวิชาที่รับผิดชอบห้องปฏิบัติการพยาบาลพิจารณาก่อน

๒. อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาที่รับผิดชอบให้นักศึกษาทำความสะอาด ตรวจความเรียบร้อย และนับจำนวนอุปกรณ์ หลังสิ้นชั่วโมงปฏิบัติทุกครั้ง ก่อนนำอุปกรณ์ส่งคืนที่เจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการพยาบาล

๓. หากมีนักศึกษาทำอุปกรณ์ชำรุดหรือเสียหาย ให้อาจารย์ผู้ประสานงานกลุ่มรับผิดชอบในการติดตามให้นักศึกษากรอกแบบฟอร์มรายงานเหตุการณ์ เพื่อเสนอหัวหน้าวิชาที่รับผิดชอบห้องปฏิบัติการพยาบาล รวมทั้งให้นักศึกษาดำเนินการส่งซ่อมหรือซื้อคืนภายใน ๓๐ วัน

นักศึกษา

๑. แต่งเครื่องแบบนักศึกษาหรือเครื่องแบบที่คณะกำหนดทุกครั้งที่จะเข้าฝึกปฏิบัติการ

๒. ตรวจสภาพการใช้งานของอุปกรณ์ก่อนและหลังการใช้เสมอ หากพบว่ามีการชำรุดหรือเสียหายให้รีบรายงานต่ออาจารย์เจ้าของวิชา หรืออาจารย์ประจำกลุ่ม หรือเจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการพยาบาลทันที

๓. ไม่หยิบของหรืออุปกรณ์อื่นใดในห้องปฏิบัติการพยาบาลออกไปโดยไม่ได้รับอนุญาต

๔. รักษาความสะอาดเรียบร้อยภายในห้อง ห้ามนำอาหาร ขนม หรือสิ่งรบกวนผู้อื่นเข้ามาในห้องปฏิบัติการพยาบาล

๕. สิ่งของต่างๆ ที่นำติดตัวมาให้เก็บไว้ที่ตู้หน้าห้องปฏิบัติการพยาบาล

๖. ไม่ส่งเสียงดังหรือทำเสียงรบกวนผู้อื่น

๗. ผ้าต่างๆ เมื่อใช้เสร็จแล้วให้ปฏิบัติ ดังนี้

– ผ้าผืนเล็ก เช่น ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดตัวผืนเล็ก ผ้าห่อของ ผ้าเช็ดเตียง เมื่อใช้เสร็จแล้วให้ซักและตากให้เรียบร้อย

ผ้าผืนใหญ่ เช่นผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่ เสื้อ กางเกง ผ้าถุง เมื่อใช้เสร็จแล้วให้นำไปใส่ตะกร้าที่เตรียมไว้ให้เพื่อซักด้วยเครื่องซักผ้าอัตโนมัติพร้อมกัน

๘. เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกปฏิบัติการแล้วให้นำอุปกรณ์ไปล้าง ทำความสะอาด หรือตรวจสอบความเรียบร้อย รวมทั้งนับจำนวนทุกครั้งก่อนนำอุปกรณ์ส่งคืนที่เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการพยาบาล

๙. ปิดแอร์ ไฟ พัดลม และหน้าต่างหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกปฏิบัติการทุกครั้ง