คุณอำนวย อ. จตุพร ตันตโนกิจ คุณลิขิต อ. นอลีสา สูนสละ ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค์ที่ส่งผลต่อความล่าช้า 1. ครอบครัวมีสมาชิกหลายคน ทำให้อาจารย์ที่ปรึกษารู้จักนักศึกษาไม่ครบ และขาดความสนิทสนมกับนักศึกษา 2. เมื่อนักศึกษามีปัญหามักจะเลือกปรึกษาอาจารย์ที่สนิท แต่อาจารย์ที่สนิทขาดการส่งต่อ อาจารย์ที่สนิทไม่ได้เดินตาม flow chart ทำให้อาจารย์ที่มีหน้าที่หลักเป็นแม่ในบ้าน ทราบปัญหาภายหลังที่ดำเนินไปแล้ว และจากสาเหตุข้างต้นพบว่ามีคนทราบข้อมูลนักศึกษาที่เป็นความลับโดยไม่ได้ตั้งใจ 3. อาจารย์ไม่ได้บริหารกิจกรรมการเรียน การสอน งาน ให้เหมาะสมและตรงกับข้อตกลงตามนโยบายที่วิทยาลัยกำหนด 4. ไม่ตระหนักและเห็นภึงความสำคัญของการเข้าร่วมกิจกรรมครอบครัว ทำให้มีความรู้สึกต่อต้าน ไม่ยอมรับ ไม่เปิดใจ ระบบครอบครัว 5. สมาชิกครอบครัวมีความรู้สึกว่าถูกบังคับให้เข้าครอบครัว 6. ประกาศให้ติดตามประเมินผล แนวทางที่ดีในกระบวนการให้คำปรึกษา 1. จัดทำแฟ้มประวัตินักศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมมีบันทึกรายงานผลการพบนักศึกษารายสัปดาห์และรายเดือน 2. มีเส้นทางในการส่งต่อนักศึกษา 3. สร้างความตระหนักและเจตคติที่ดี และร่วมกันหาแนวทางที่ดี เพื่อดำเนินกิจกรรมครอบครัว 4. มีการละลายพฤติกรรม ภายใต้ความเอื้ออาทร 5. ให้อาจารย์ทุกท่านนำระบบครอบครัวมาใช้ในการให้คำปรึกษา
คุณอำนวย อ. เกษรา วนโชติตระกูล คุณลิขิต อ. ปิยะรัตน์ จินาพันธ์ ประเด็นการจัดทำ มคอ๓ และมคอ.๔ ได้แนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้ 1. ฝ่ายวิชาการจัดทำแบบฟอร์ม มคอ.๓ และ มคอ.๔ เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกัน 2. กลุ่มวิชามอบหมายให้ผู้ประสานงานรายวิชาจัดทำมคอ.๓ และมคอ.๔ โดยพิจารณาการกระจายความรับผิดชอบผลการเรียนรู้แต่ละรายวิชา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดผลการเรียนรู้ที่ต้องการ วิธีการวัดผล การประเมินผล 3. คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณา มคอ.๓ และ มคอ.๔ ในประเด็นความครอบคลุม ความเหมาะสม ความสอดคล้องของกิจกรรม จำนวนชิ้นงาน การบูรณาการกับการบริการวิชาการ การวิจัย สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 4. ผู้ประสานงานรายวิชาดำเนินการบริหารรายวิชาตามแผน รวมทั้ง ควบคุม ติดตาม กำกับการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอน 5. คณะกรรมการบริหารหลักสูตรควบคุม ติดตาม กำกับการดำเนินการจัดการเรียนการสอน 6. ผู้ประสานงานรายวิชาจัดทำรายงาน มคอ.๕ และ มคอ.๖ ภายใน 30 …
คุณอำนวย อ. จามจุรี แซ่หลู่ อ. จรรยา ศรีมีชัย คุณลิขิต อ. ขจิต บุญประดิษฐ ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์เพื่อเพิ่มคุณภาพการใช้กระบวนการพยาบาล ผู้รับผิดชอบ นางสาวจามจุรี แซ่หลู่ และนางจรรยา ศรีมีชัย ความเป็นมาและความสำคัญ กระบวนการพยาบาลเป็นกระบวนการที่สำคัญที่พยาบาลต้องนำไปใช้ในการปฏิบัติเพื่อเพิ่มคุณภาพในการบริการพยาบาล เพราะเป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยการประเมินสภาพผู้รับบริการ โดยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการเก็บข้อมูลจากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมทั้งผลการตรวจพิเศษต่างๆ เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อให้ทราบถึงปัญหาทางการพยาบาลที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย แล้วจึงนำมาวางแผนการพยาบาล โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดวิธีการให้การพยาบาลเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และกำหนดเกณฑ์การประเมินผล และขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการพยาบาลคือ การประเมินผลเพื่อให้ทราบว่าการพยาบาลที่ให้สามารถช่วยแก้ปัญหาให้ผู้รับบริการได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ ก็ต้องปรับแผนการพยาบาลเพื่อให้เหมาะกับปัญหาที่เกิดขึ้นต่อไป ในการจัดการเรียนการสอนวิชาการพยาบาล จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจในกระบวนการพยาบาลโดยการให้ความรู้ในเชิงทฤษฎี และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับผู้รับบริการโดยการนำไปฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยในการเรียนวิชาปฏิบัติทางการพยาบาล เพื่อให้นักศึกษาเกิดทั้งความเข้าใจและสามารถนำกระบวนการพยาบาลไปใช้เป็นแนวทางในการให้การพยาบาลผู้รับบริการอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อจบการศึกษาไปเป็นพยาบาลวิชาชีพ จากการจัดการเรียนการสอนในการให้ความรู้เรื่องกระบวนการพยาบาล และการฝึกปฏิบัติเรื่องการนำกระบวนการพยาบาลไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยในหอผู้ป่วย พบว่าผู้เกี่ยวข้องในขณะที่ฝึกปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นตัวนักศึกษา อาจารย์พยาบาล และพยาบาลประจำการ เกิดปัญหาในการใช้กระบวนการมากมาย ดังนี้ 1) ด้านนักศึกษา ไม่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลผู้รับบริการได้อย่างครอบคลุม ไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้จึงส่งผลให้ไม่สามารถกำหนดปัญหาทางการพยาบาลได้ ไม่สามารถวางแผนการพยาบาลได้อย่างครอบคลุม และไม่สามารถกำหนดเกณฑ์การประเมินผลได้อย่างถูกต้อง 2) ด้านอาจารย์ อาจารย์จะเกิดความรู้สึกเหนื่อยและเบื่อที่ต้องแนะนำนักศึกษาเกี่ยวกับการใช้กระบวนการพยาบาลบ่อยครั้งแต่นักศึกษาก็ยังไม่สามารถปรับปรุงตนเองได้ และ …
คุณอำนวย อ. วรัญญา จิตรบรรทัด คุณลิขิต อ. เกษร ปิ่นทับทิม การใช้กระบวนการคุณภาพในการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ผู้รับผิดชอบ นางวรัญญา จิตรบรรทัด และ นางเกสร ปิ่นทับทิม ความเป็นมาและความสำคัญ การจัดการความรู้ในองค์กรถือเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการองค์ความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ในองค์กรให้เป็นหมวดหมู่ และเผยแพร่สู่บุคลกรทุกคนในองค์กรให้รับทราบทั่วถึงกัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดแนวปฏิบัติงานที่ดี หรือความรู้ใหม่ๆ นวัตกรรมใหม่ขึ้นมาได้ ในปีการศึกษา ๒๕๕๒ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช ได้จัดให้บุคลากรดำเนินการในเรื่องการจัดการความรู้ขึ้น พบว่าได้รับแนวทางปฏิบัติที่ดีและสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานได้ แต่ยังไม่ทั่วถึงทั้งองค์กร ในปีการศึกษา ๒๕๕๓ ผู้รับผิดชอบได้จัดการความรู้ในเรื่อง “การใช้กระบวนการคุณภาพในการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้” จึงได้จัดประชุมขึ้นเพื่อต่อยอดการจัดการความรู้ให้ครอบคลุมบุคลากรในองค์กร วิธีการดำเนินการ ในการดำเนินการจัดการความรู้ครั้งนี้ใช้แนวคิดของระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา ดังนี้ Plan ประกอบด้วย ๑. กำหนดแผนการจัดการความรู้เรื่อง เรื่อง “การใช้กระบวนการคุณภาพในการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้” ๒. ประชาสัมพันธ์และชี้แจงการดำเนินการแก่ผู้เกี่ยวข้อง Do ประกอบด้วย ๑. จัดประชุมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ๒. สกัดแนวปฏิบัติในการจัดการความรู้ ๓. มีบุคลากรรับผิดชอบในการจัดการความรู้ขององค์กร Check ประกอบด้วย ๑. …
คุณอำนวย อ. รัถยานภิศ พละศึก คุณลิขิต อ. อารยา วชิรพันธ์ การใช้กระบวนการคุณภาพในการบริหารความเสี่ยง ผู้รับผิดชอบ ดร. รัถยานภิศ พละศึก และคณะ ความเป็นมาและความสำคัญ การควบคุมภายในจัดทำขึ้นเพื่อป้องกันการรั่วไหลของการใช้ทรัพยากรจากการดำเนินงานตามระบบที่หน่วยงานจัดขึ้น โดยทรัพยากรในที่นี้ไม่ใช่หมายถึงการเงินเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึง ความน่าเชื่อถือของข้อมูลต่าง ๆ ทางการเงิน ความน่าเชื่อถือของการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่นำไปสู่การปฏิบัติ ดังนั้น แนวคิดการควบคุมภายในจึงเป็นกระบวนงานที่แทรกหรือแฝงอยู่ในการปฏิบัติงานตามปกติ โดยเป็นความรับผิดชอบของบุคลากรทุกคนที่ปฏิบัติงานอยู่ในระบบงานขององค์กร การควบคุมภายในจึงทำให้องค์กรสามารถทำงานได้อย่างสมเหตุสมผล พัฒนางานอย่างมีประสิทธิภาพ จากการดำเนินการควบคุมภายในของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช พบว่า สามารถบูรณาการการควบคุมภายในกับการปฏิบัติงานประจำโดยถือเป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนงานอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงคณะกรรมการจัดการความรู้จึงมีแนวคิดในการถอดบทเรียนการดำเนินการควบคุมภายในจากการปฏิบัติ โดยใช้กระบวนการคุณภาพเป็นกลไกในการดำเนินการ เพื่อการพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายต่อไป วิธีดำเนินการ ในการดำเนินการจัดการความรู้ครั้งนี้ใช้แนวคิดของระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา ดังนี้ Plan ประกอบด้วย ๑. กำหนดแผนการบริหารความเสี่ยง ๒. ประชาสัมพันธ์และชี้แจงการดำเนินการแก่ผู้เกี่ยวข้อง Do ประกอบด้วย ๑. จัดประชุมแลกเปลี่ยนการดำเนินการควบคุมภายในของแต่ละส่วนงาน ๒. สกัดแนวปฏิบัติในการควบคุมภายใน ๓. บุคลากรนำแนวทางในการควบคุมภายในสู่การปฏิบัติในงานของตนเอง Check …
PAGE TOP