คุณอำนวย อ. พิมพวรรณ เรืองพุทธ
คุณลิขิต อ. ยุพาวรรณ ทองตะนุนาม
งานบริการวิชาการ
ชื่อ KV เรื่องการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคม กับการจัดการเรียนการสอนและวิจัย
ผู้รับผิดชอบ นางพิมพวรรณ เรืองพุทธ
ความเป็นมา
จากการดำเนินงานที่ผ่านมาของงานบริการวิชาการแก่สังคม พบว่าการผลักดันให้เกิดการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและวิจัยซึ่งเป็นตัวบ่งชี้หนึ่งของการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นไปด้วยความลำบาก เนื่องจากไม่ได้ดำเนินการในระดับของนโยบาย และอาจารย์ยังขาดความเข้าใจในวิธีการ หรือขั้นตอนของการการบูรณาการบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและวิจัย การจัดความรู้เรื่องการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและวิจัย จะสามารถช่วยให้อาจารย์มีทิศทางในการดำเนินการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและวิจัยได้มากขึ้น และสามารถตอบสนองต่อการประกันคุณภาพการศึกษาได้
วิธีดำเนินการ
๑. ชี้แจงทำความเข้าใจตัวชี้วัดการคุณภาพ
๒. วางแผนกำหนดแนวทางในการบูรณาการบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและวิจัยในแต่ละภาคการศึกษา
๓. การจัดรูปแบบการเรียนการสอนและวิจัยที่สอดคล้องและตอบสนองตัวชี้วัด
๔. เสวนาแลกเปลี่ยนปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน
๕. ถอดบทเรียนประเด็นที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ในการดำเนินกิจกรรม
สรุปผลที่ได้
จากการจัดการความรู้การบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและวิจัย ได้แนวทางในการปฏิบัติดังนี้
๑. งานบริการวิชาการสำรวจความต้องการบริการวิชาการในชุมชน รวบรวมข้อมูล และส่งต่อภาควิชา เพื่อดำเนินการวางแผนในการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนและวิจัยในรายวิชาที่รับผิดชอบ
๒. ฝ่ายวิชาการ หัวหน้ากลุ่มวิชา ร่วมวางแผนกำหนดรายวิชาที่จะบูรณาการในแต่ละภาคการศึกษา และติดตามการจัดทำ มคอ. และโครงการบริการวิชาการแก่สังคมที่บูรณาการการเรียนการสอนหรือการวิจัยกับการบริการวิชาการแก่สังคม
๓. ผู้รับผิดชอบโครงการประเมินผลความพึงพอใจของผู้รับบริการ และประเมินผลการได้รับประโยชน์ของนักศึกษาจากการจัดโครงการบริการวิชาการ ควรมีการถอดบทเรียน หรือสังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้จากการทำโครงการเพื่อตอบวัตถุประสงค์ของโครงการ และนำผลที่ได้จากการให้บริการวิชาการไปปรับปรุงรายวิชา หรือขยายผลสู่การเปิดรายวิชาใหม่ หรือพัฒนาไปสู่การวิจัยต่อไป
๔. รายวิชาที่ได้บูรณาการบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอน หรือการวิจัยที่ได้ดำเนินการจัดทำแล้วจำนวน ๕ โครงการได้แก่
๑) โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๑
๒) โครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชนในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๒และบริการวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการดูแลตนเองของผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชน
๓) โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขและผู้ดูแลในการส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในชุมชนนาเคียน กับวิจัยการพัฒนาระบบอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้พิการในชุมชนนาเคียน
๔) โครงการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๓ และบริการวิชาการเรื่องพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
๕. แนวทางในการพัฒนาต่อไป คือผลักดันให้การบูรณาการบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนไปสู่การวิจัยมากขึ้น
การนำไปใช้
จัดทำเป็นแนวปฏิบัติ (flow chart) ในการดำเนินการบูรณาการบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและวิจัย