ผู้บันทึก : นางมณฑิรา มังสาทอง และคณะ | |
กลุ่มงาน : งานวิจัยและผลงานวิชาการ | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 18 ส.ค. 2554 ถึงวันที่ : 19 ส.ค. 2554 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก | |
จังหวัด : สงขลา | |
เรื่อง/หลักสูตร : การพัฒนาศักยภาพด้านจริยธรรมการวิจัย เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยในมนุษย์ | |
วันที่บันทึก 26 ก.ย. 2554 | |
|
|
รายละเอียด | |
หลักการพื้นฐานด้านจริยธรรมการวิจัย โดย นายแพทย์ปกรณ์ ศิริยง
ทำไม ต้องมีจริยธรรมในการวิจัยในคน เพราะว่าปัจจุบันบรรดานักสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ เริ่มตื่นตัวมากขึ้น เนื่องจากในการวิจัยในอดีตที่ผ่านมามีการทำวิจัยในมนุษย์โดยไม่คำนึงถึงหลัก จริยธรรม เช่น การทำหมันชาวยิวโดยที่เขาไม่รู้ ด้วยการใช้สมุนไพรในผู้หญิง และฉีดสารพวก silvernitrate เพื่อให้เป็นหมัน ส่วนในผู้ชายถ้าไปติดต่อตามสถานที่ราชการก็จะถูกจัดให้นั่งบริเวณรังสีโดยที่เขาไม่รู้ทำให้เป็นหมันโดยไม่รู้ตัว ตอนหลังนักสิทธิมนุษยชนเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น จึงได้มีการจัดทำแนวทางในการวิจัยต่าง ๆ ขึ้น เช่น CIOM’S Guideline, GCP Guidelines 1995, UNAIDS Guidance 2000 และ อื่น ๆ ซึ่งต้องมีหลักจริยธรรมทั่วไปเป็นพื้นฐาน ได้แก่ หลักความเคารพในบุคคล หลักการก่อประโยชน์ และหลักความยุติธรรม นอกจากนี้การเขียน SOP (Standard Operating Procedure) เน้น ให้เขียนสิ่งที่เราทำ การได้รับความยินยอมจากอาสาสมัคร ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับผู้ที่จะมาเป็นอาสาสมัคร หลีกเลี่ยงการจูงใจ ควรบอกผลประโยชน์ และความเสี่ยงจากการเข้าร่วมการวิจัย โดยสรุปแล้ว หลักเกณฑ์พื้นฐานทางด้านจริยธรรมในการวิจัยส่วนใหญ่จะ cover โดยหลักเกณฑ์ของ Belmont Report ดังนี้
บทบาทของ Ethic committee
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านจริยธรรม โดย นายปัญญา ทองใบ ปัจจุบัน ยังไม่มีกฏหมายที่ใช้บังคับโดยตรงสำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาวิจัย ในมนุษย์ทั้งระบบ ในประเทศไทย แต่มีพระราชบัญญัติที่ใช้บังคับเกี่ยวกับการดำเนินการศึกษาวิจัยในมนุษย์ 2 ฉบับได้แก่ พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ใช้ บังคับกรณีการศึกษาวิจัยในบุคคลที่เป็นผู้รับบริการสารธารณสุข ซึ่งมีบทกำหนดโทษไว้ โดยเป็นโทษทางอาญา และอีกอันหนึ่งคือ พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 ใช้บังคับกรณีการศึกษาวิจัยในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางจิต ซึ่งยังไม่มีบทกำหนดโทษไว้ การดำเนินงานด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้
2.1 ข้อตกลงระหว่างประเทศ เรื่อง สิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมืองสากล โดยเฉพาะข้อที่ 7 บุคคล จะถูกทรมาน หรือได้รับการปฏิบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือต่ำช้ามิได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคคลจะถูกใช้ในการรทดลองทางการแพทย์ หรือทางวิทยาศาสตร์โดยปราศจากความยินยอมอย่างเสรีของบุคคลนั้นมิได้ 2.2 ปฏิญญาเฮลซิงกิของแพทย์สมาคมโลก เป็น “คำประกาศหลักการทางจริยธรรมเพื่อเป็นคำแนะนำแก่แพทย์และบุคคลอื่น ๆ ที่ร่วมในการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์
3.1 พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525: ข้อบังคับเกี่ยวกับจริยธรรมการศึกษาวิจัยและการทดลองในมนุษย์: ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549 3.2 พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528: ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลฯ 2550: ส่วนที่ 4 การศึกษาวิจัยและการทดลองในมนุษย์ 3.3 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550: มาตรา 3: หมวดที่ 1 สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ 3.4 พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551: มาตรา 3: หมวด 2 สิทธิผู้ป่วย คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย ต้องทำงานด้วยหลัก 4 ประการ คือ ความเป็นอิสระ ความสามารถ ความหลากหลาย และความโปร่งใส จะต้องไม่ยอมให้มีการลดหย่อนในเรื่องเหล่านี้ ประกาศสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เรื่อง จรรยาบรรณนักวิจัย ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติที่สำคัญดังนี้
กระบวนการขอความยินยอม ประเด็นที่ควรระวัง โดย รองศาสตราจารย์สิวลี ศิริไล องค์ประกอบสำคัญของการขอความยินยอม ได้แก่
2.1 ผู้วิจัยต้องตระหนักถึง “ความเป็นอิสระ เป็นตัวเองของบุคคล” (Autonomy) หมายถึงว่าต้องตัดสินใจยินยอมด้วยตนเอง โดยปราศจากการถูกจูงใจ (inducement) การบีบบังคับทั้งทางตรงและทางอ้อม (coercion) การกดดันให้จำยอม (undue) การโน้มน้าว (persuasion) และการหลอกให้เชื่อ (deception) 2.2 สิ่งที่ผู้วิจัยพึงปฏิบัติ คือ การพูดความจริง (veracity) การอธิบายรายละเอียดโดยไม่ปิดบังซ่อนเร้น
ประเด็นทางจริยธรรมที่พบบ่อย โดยนายแพทย์กรกฎ จุฬาสมิต แบ่งเป็น ปัญหาก่อนการพิจารณา ปัญหาระหว่างการพิจารณา และปัญหาหลังการพิจารณา ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ปัญหาก่อนการพิจารณา นักวิจัย ขาดความรู้ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ และจริยธรรม ขาด ethical mind ขาดความตระหนัก ไม่ได้มีส่วนในการพัฒนาโครงร่างการวิจัย (รับจ้างเก็บข้อมูล) เขียนโครงร่างการวิจัยไม่เป็น ไม่รู้ว่าต้องส่ง EC / ไม่รู้ว่าต้องส่ง EC ที่ไหน คณะ กรรมการจริยธรรม มีโครงสร้างที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ไม่มีคุณภาพ ขาดความรู้ ขาดการฝึกอบรม ขาดประสบการณ์ การประชุมไม่สม่ำเสมอ ไม่มี SOP ไม่ได้รับการสนับสนุน ขาดบุคลากร ขาดงบประมาณ ปัญหาหลังการพิจารณา นักวิจัย ไม่ปฏิบัติตามโครงการวิจัยที่ได้รับอนุมัติ ไม่รายงาน SAE, deviation ไม่ขออนุมัติ protocol mendment อาสา สมัคร ไม่ทราบสิทธิของตนเองในการเข้าร่วมการวิจัย เกรงใจ ไม่กล้าเรียกร้อง เมื่อถูกละเมินสิทธิ ไม่ทราบช่องทาง วิธีการในการเรียกร้องสิทธิ คณะ กรรมการจริยธรรม ไม่ระบุวันหมดอายุในใบอนุมัติ ไม่ตรวจสอบ/ติดตาม การดำเนินการวิจัย ไม่สนใจ/เพิกเฉย ต่อข้อมูลที่ได้รับรายงาน เกรางใจ/ไม่กล้าตัดสินใจ ดำเนินการในการป้องกันอาสาสมัคร ปัญหาเชิงระบบ ไม่ มีระบบในการตรวจติดตามโครงการวิจัย ไม่มีช่องทางในการรับแจ้งข้อร้องเรียน สอบถามสิทธิ ไม่มีกฎหมายเฉพาะ(พรบ. การวิจัยในมนุษย์) ขาดการบังคับใช้กฎหมาย/ระเบียบ/ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ขาดระบบในการให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้อง ขาดระบบในการดูแล/เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากการวิจัย ขาดระบบในการคัดกรองผลงานที่จะนำเสนอ แนวทางการป้องกัน/แก้ไข สร้าง ให้มีความตระหนักแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ให้ความรู้ ทำความเข้าใจแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สร้างระบบในการส่งเสริม สนับสนุน ควบคุม กำกับให้มีการปฏิบัติงานวิจัยที่ถูกต้อง มีระบบในการติดตามประเมินผล
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
จาก การประชุมครั้งนี้ทำให้รับทราบเกี่ยวกับจริยธรมในการวิจัยในมนุษย์ หลักการขอความยินยอมให้อาสาสมัครเข้าร่วมงานวิจัย และการเขียนเอกสารประกอบการขอความยินยอมด้วยความโปร่งใส รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการเป็นคณะกรรมการจริยธรรม เกี่ยวกับงานวิจัยในการพิจารณาโครงร่างการวิจัย เพื่อให้เกิดการวิจัยที่มีคุณภาพ ถุกต้องตามหลักจริยธรรมและหลักกฎหมาย ปราศจากข้อร้องเรียนต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสิทธิมนุษยชน |
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
ผู้ เข้าร่วมประชุมมีสมรรถนะในด้านการวิจัยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจริยธรรมในการวิจัยในมนุษย์ สามารถเขียนโครงร่างการวิจัย และทำวิจัยได้อย่างมีคุณภาพถูกต้องตามหลักจริยธรรมและหลักกฏหมาย |
(430)