การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการจากสภาพจริง

การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการจากสภาพจริง
ผู้บันทึก :  นายสิงห์ กาญจนอารี
  กลุ่มงาน :  งานบริหารทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 31 พ.ค. 2555   ถึงวันที่  : 1 มิ.ย. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการจากสภาพจริง
  วันที่บันทึก  19 มิ.ย. 2555

 รายละเอียด
การจัดการเรียนการสอนจากสภาพจริงเป้าหมาย :

เพื่อ ให้นักศึกษามีทัศนคติในการมองสภาวะตามความเป็นจริงของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยไม่ได้เอาทฤษฎีที่มีอยู่หรือความคิดของตนเองไปตัดสิน เข้าใจองค์ประกอบของมนุษย์ที่ประกอบด้วยพฤติกรรม ความรู้สึกนึกคิดและการเรียนรู้ รวมทั้งบริบทที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ และสุขภาพเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิต นอกจากนั้นยังเป็นการพัฒนาทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเองและเก็บข้อมูลความ จริงโดยปราศจากอคติ

แนวคิดและกลักการเรียนการสอน

๑. การเรียนการสอน เป้าหมายไม่ได้ถูกจำกัดเพียงการเรียนรู้สาระเนื้อหาเท่านั้น แต่ครอบคลุมไปถึงการสร้างทัศนคติและพัฒนาความคิดของผู้เรียนและทักษะการ เรียนรู้ด้วยตนเอง

๒. กระบวนการเรียนการสอนเป็นการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนตามสภาพจริง (Authentic Learning) โดยให้ผู้เรียนได้สัมผัสของจริง

๓. องค์ประกอบของการสอนประกอบด้วย การเสริมสร้างทัษนคติและพัฒนาความคิด การเข้าใจสาระการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการทำงาน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของการเรียนรู้ ครูประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาตลอดเวลาเพื่อปรับกระบวนการสอนให้เหมาะกับ ผู้เรียน

ขั้นตอนการศึกษาสภาพจริง

- กำหนดโจทย์ในการเรียนรู้ เช่น โจทย์ทำมาหากิน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำมาหากิน ความสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิต และพฤติกรรมสุขภาพ

- การสอนกลุ่มย่อย  เมื่อลงเก็บข้อมูลตามสภาพจริงแล้ว นักศึกษาจะมีการเข้ากลุ่มย่อยร่วมกับอาจารย์ประจำกลุ่ม

- ครูชี้ประเด็นให้นักศึกษาเกิดการปรับทัศนคติ และเข้าใจความเป้นจริงของคน โดยครูจะให้นักศึกษาเล่ากรณีศึกษาของตนและร่วมกันวิเคราะห์ ก่อนที่ครูจะชี้ประเด็น

- การสอนกลุ่มใหญ่ในสัปดาห์สุดท้าย โดยแต่ละกลุ่มย่อยเลือกกรณีศึกษามาเล่าในกลุ่มใหญ่แล้วช่วยกันอภิปราย โดยอาจารย์ประจำกลุ่มร่วมกันชี้ประเด็นเพื่อปรับทัศนคติและเข้าใจสาระการ เรียนรู้ที่นำไปสู่การเข้าใจคน


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการจากสภาพจริง และการเข้าใจความเป็นมนุษย์


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
พัฒนากระบวนการปรับทัศนคติ โดยการใช้ปัญหาจากสภาพจริง และสามารถนำไปปรับใช้ในกระบวนการจิตปัญญาศึกษา

(284)

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในมุมมองต่าง ๆ

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในมุมมองต่าง ๆ
ผู้บันทึก :  นางมณฑิรา มังสาทอง และคณะ
  กลุ่มงาน :  งานวิจัยและผลงานวิชาการ
  ฝ่าย :  ฝ่ายส่งเสริมวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 26 มิ.ย. 2555   ถึงวันที่  : 29 มิ.ย. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในมุมมองต่าง ๆ
  วันที่บันทึก  10 ต.ค. 2555


 รายละเอียด
การ เขียนโครงร่างการวิจัยที่ถูกต้องตามหลักการเพื่อการสนับสนุนทุนวิจัย เริ่มจากชื่อโครงการวิจัย ต้องตั้งชื่อให้เป็นวิจัย ไม่แคบหรือกว้างเกินไป ไม่ตื้นหรือลึกเกินไป ให้สะท้อนว่าเป็นการวิจัยประเภทใด และต้องเป็นไปได้ว่าจะวิจัยได้สำเร็จ

ส่วน การเขียนโครงร่างการวิจัย แบ่งออกได้เป็น ๒ ส่วน คือ ส่วน ก. องค์ประกอบของข้อเสนอโครงการวิจัย และส่วน ข. ประวัติคณะผู้วิจัยดังรายละเอียดต่อไปนี้

ส่วน ก. องค์ประกอบของข้อเสนอโครงการวิจัย

๑.      ผู้รับผิดชอบโครงการวิจัย ต้องระบุ หัวหน้าโครงการวิจัย ผู้ร่วมวิจัย ที่ปรึกษาโครงการ หน่วยงานหลัก และหน่วยงานสนับสนุน

๒.    ประเภทการวิจัย ระบุประเภทการวิจัยเพียง ๑ ประเภท ได้แก่ การวิจัยพื้นฐาน (Basic research) การวิจัยประยุกต์ (Applied research) และการวิจัยเพื่อพัฒนาทดลอง(Experimental development)

๓.     คำสำคัญ (Keyword) ของการวิจัย ต้องระบุคำสำคัญ ที่มีความสำคัญต่อชื่อเรื่องหรือเนื้อหาของเรื่องที่ทำการวิจัย

๔.     ความสำคัญ และที่มาของปัญหาวิจัย ต้องเขียนเชื่อมโยงเป็นเหตุเป็นผล และแสดงให้เห็นถึงความสำคัญที่จำเป็นต้องทำวิจัยเรื่องนี้ ส่วนการอ้างอิงในเนื้อหาไม่ต้องมาก แต่ในการอ้างแต่ละครั้งต้องมีน้ำหนัก และต้องจบลงด้วย statement of problem

๕.     วัตถุประสงค์ของการวิจัย ต้องระบุให้ชัดเจน ซึ่งวัตถุประสงค์ก็คือปัญหารองของการวิจัย และต้องเขียนให้เป็นวัตถุประสงค์เชิงวิจัย มีการเรียงลำดับตามความสำคัญเป็นข้อ ๆ ที่สำคัญต้องระวังในการเขียนวัตถุประสงค์ ไม่ใช่ประโยชน์ของการวิจัย

๖.      ขอบเขตของการวิจัย เป็นการเขียนระบุขอบเขตของการวิจัยในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพที่ไม่สามารถระบุโดยตรงในชื่อ หรือวัตถุประสงค์การวิจัยได้ (เช่น กลุ่มเป้าหมาย ตัวแปร ระยะเวลา หรือ เนื้อหา วิธีการในการวิจัย)

๗.     ทฤษฎี สมมุติฐาน และ/หรือกรอบแนวคิดของการวิจัย

๘.     การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ ต้องเชื่อมโยงกับประเด็นการวิจัย มีโครงสร้างการนำเสนอ วิธีการนำเสนอ และการอ้างอิงในการเสนอวรรณกรรม

๙.      เอกสารอ้างอิงของการวิจัย ต้องระบุตามระบบสากล ให้มีจริงตามที่อ้าง และให้อ้างจริงตามที่มี พยายามดูความเก่าใหม่ของเอกสารที่นำมาอ้างด้วย นอกจากนี้สิ่งที่ไม่ควรนำมาอ้าง คือ บทคัดย่อ

๑๐.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ แนวการเขียนก็คือ หลังจากได้ผลวิจัยแล้ว ไม่ใช่วัตถุประสงค์ เขียนเป็นแนวทางการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ กลุ่มเป้าหมายที่จะนไปใช้ประโยชน์ได้ และผลกระทบที่เกิดกับกลุ่มเป้าหมาย

๑๑. แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือผลการวิจัยไปสู่กลุ่มเป้าหมายเมื่อสิ้นสุดการวิจัย ควรระบุกลุ่มเป้าหมาย วิธีการถ่ายทอด ระยะเวลา สถานที่

๑๒.            วิธีดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล

๑๓. ระยะเวลาทำวิจัย และแผนการดำเนินงานตลอดโครงการวิจัย แผนการดำเนินงานต้องชัดเจน มีการระบุเวลาที่ชัดเจน และเป็นไปได้ นอกจากนี้ต้องแนบ Gantt chart มาด้วย

๑๔. ปัจจัยที่เอื้อต่อการวิจัยที่มีอยู่ เช่นห้องทดลอง เครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ

๑๕. งบประมาณของโครงการวิจัย  ต้องแสดงรายละเอียดงบประมาณเฉพาะปีที่เสนอขอ เขียนแยกให้ชัดเจนตามหมวดต่าง ๆ สำหรับค่าธรรมเนียมการอุดหนุนสถาบันต้องไม่เกิน 10% นอกจากนี้การเขียนของบประมาณต้องมีความเหมาะสม เป็นไปได้ ไม่ซ้ำซ้อน

๑๖. ผลสำเร็จ ความคุ้มค่าของการวิจัยฯ ต้องระบุผลสำเร็จเบื้องต้น ผลสำเร็จกึ่งกลาง และผลสำเร็จตามเป้าประสงค์

ส่วน ข. ประวัติคณะผู้วิจัย

๑.      ชื่อ – นามสกุล (ภาษาไทย)/ ชื่อ – นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)/หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน/ตำแหน่งปัจจุบัน/หน่วยงานและสถานที่อยู่ ที่ติดต่อได้สะดวก

๒.    ประวัติการศึกษา/สาขาวิชาที่มีความชำนาญพิเศษ/ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิจัย

หลังจากนี้ยังต้องมี หัวข้อต่าง ๆ ต่อไปนี้ด้วยตามลำดับ คือ

- ข้อเสนอฯ ได้นำไปเสนอต่อแหล่งทุนอื่น(ด้วยหรือไม่)

- คำชี้แจงอื่น ๆ

- หนังสือรับรองการเป็นที่ปรึกษาของโครงการวิจัย

- ลงลายมือชื่อหัวหน้าโครงการ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
นำ ความรู้ที่ได้จากการไปประชุมไปใช้ในการเขียนโครงร่างการวิจัยที่ถูกต้อง เพื่อขอสนับสนุนทุนวิจัยจากภายนอก จะสามารถทำให้บรรลุเกณฑ์การประเมินคุณภาพของวิทยาลัยในประเด็นเงินทุนสนับ สนุน


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
พัฒนา สมรรถนะด้านการทำวิจัย เนื่องจากในการประชุมครั้งนี้มีการทบทวนเกี่ยวกับกระบวนการในการทำวิจัยทั้ง ในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ แต่สิ่งที่ได้เพิ่มเติมคือ การเขียนโครงร่างการวิจัยที่ถูกต้องเพื่อขอเงินทุนสนับสนุนจากภายนอก

(272)

โครงการอบรมเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรผู้รับผิดชอบงานเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

โครงการอบรมเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรผู้รับผิดชอบงานเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
 ผู้บันทึก :  นางปวันณัฐ จันทร์ภักดี
  กลุ่มงาน :  งานบริหารทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 21 พ.ค. 2555   ถึงวันที่  : 23 พ.ค. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  จังหวัด :  พระนครศรีอยุธยา
  เรื่อง/หลักสูตร :  โครงการอบรมเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรผู้รับผิดชอบงานเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
  วันที่บันทึก  19 มิ.ย. 2555

 รายละเอียด
   ๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เช่น กฎหมาย ระเบียบ

ข้อ บังคับ และมติคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต รวมทั้งกลวิธีในการเสริมสร้างราชการใสสะอาดและการดำเนินการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตได้แลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์

และ เข้าร่วมเป็นเครือข่ายและเป็นศูนย์กลางในการติดต่อประสานและการดำเนินการงาน ตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐของสำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
มี ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต รวมทั้งกลวิธีในการเสริมสร้างราชการใสสะอาดและการดำเนินการป้องกันและปราบ ปรามการทุจริต  และได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์ เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และเสริมสร้างราชการให้ใสสะอาด

(280)

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ: ศาสตร์และศิลป์เพื่อประโยชน์สุขของปวงชน รุ่นที่ ๖

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ: ศาสตร์และศิลป์เพื่อประโยชน์สุขของปวงชน รุ่นที่ ๖
 ผู้บันทึก :  นางสาวภาวดี เหมทานนท์
  กลุ่มงาน :  งานวิจัยและผลงานวิชาการ
  ฝ่าย :  ฝ่ายส่งเสริมวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 10 ต.ค. 2554   ถึงวันที่  : 21 ต.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  การวิจัยเชิงปฏิบัติการ: ศาสตร์และศิลป์เพื่อประโยชน์สุขของปวงชน รุ่นที่ ๖
  วันที่บันทึก  6 ธ.ค. 2554


 รายละเอียด
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research)

               การวิจัยเชิงปฏิบัติการหรือการปฏิบัติการและการวิจัย มีหลายความหมาย หลายรูปแบบ ดังนี้คือ

ความหมายที่ 1 การปฏิบัติการ + การวิจัย

                    คือ การเน้นการแก้ปัญหาบนฐานความรู้ หรือ นำด้วยการแก้ปัญหา/การพัฒนา และตามด้วยการวิจัยเพื่อสร้างความรู้บนฐานการแก้ปัญหา/ การปฏิบัติการ/การพัฒนา

               ความหมายที่ 2 การวิจัย + การปฏิบัติการ

คือ การสร้างความรู้ หรือ รู้ ก่อนแล้วนำความรู้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหา หรือ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา/การพัฒนา หรืออาจเรียกว่าการศึกษา-วิจัยปัญหาหนึ่งๆเพื่อให้เกิดความรู้/องค์ความรู้ ก่อน เมื่อมีความรู้-ความเข้าใจ หรือ มีองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ/เรื่องนั้นๆ/กลุ่มคนนั้นๆ/ชุมชนนั้นๆ แล้วจึงทำการแก้ปัญหานั้น หรือ มีการกระทำ-การปฏิบัติการ เพื่อแก้ปัญหา/พัฒนาตามมา

ความหมายที่ 3 วิจัยไป แก้ปัญหาไป/พัฒนาไป

                   เป็น วงจรต่อเนื่องไม่รู้จบ หรือมีการดำเนินภารกิจทั้งสองไปพร้อมๆกัน ซึ่งอาจเป็นการดำเนินภารกิจ โดยคนละคน หรือคนละทีมกัน หรือ ทีมเดียวกัน/คนเดียวกันก็ได้ ซึ่งเป็นการวิจัยว่า ทำได้สำเร็จหรือไม่ เพราะอะไร ปัจจัยที่เกี่ยวข้องระดับต่างๆมีอะไรบ้าง เป็นต้น และจะก่อให้เกิดการแก้ไขปัญหา-กาพัฒนาแบบก้าวกระโดด (Quantum leap) ได้หรือไม่ อย่างไร ภายใต้เงื่อนไขใด ทั้งนี้ การวิจัยเชิงทดลอง เชิงเปรียบเทียบ เชิงพิสูจน์ต่างๆ ยังสามารถทำได้ แต่ต้องทำด้วยความระมัดระวัง และจะต้องมีมุมมองของผู้ถูกวิจัยด้วย (มนุษย์เป็นสิ่งที่ประณีต)

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research)

               การ วิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นรูปแบบของการวิจัยที่นักวิจัยมีความเกี่ยวข้องในฐานะเป็นผู้มีส่วนร่วม ในกิจกรรมส่วนหนึ่งขององค์การและการเป็นนักวิจัย เป็นการนำแนวคิดและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพมาใช้ในการศึกษา โดยผู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยช่วยกันแสวงหารูปแบบของการพัฒนาหรือหา วิธีการแก้ปัญหา มีการพัฒนาความสำนึกในการวิเคราะห์ วิจารณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุง สภาวะความเป็นอยู่และวิถีชีวิต ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างและความสัมพันธ์พื้นฐานในสังคมของตนเอง ลักษณะของการวิจัยแบบมีส่วนร่วมประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต การสะท้อนผลการปฏิบัติ และการปรับปรุงแผนเพื่อนำไปปฏิบัติในวงจรการปฏิบัติช่วงต่อไป จนกว่าจะได้รูปแบบของการปฏิบัติงานที่น่าพึงพอใจ ซึ่งกระบวนการวิจัยต้องมีความยืดหยุ่นสูง มีความเป็นพลวัตร ไม่จำเป็นต้องเป็นการดำเนินงานเป็นเส้นตรง สามารถทำการวิจัยซ้ำๆกันได้อีก โดยพิจารณาจากผลสะท้อนกลับ ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการพัฒนาแผนงานและกระบวนการวิจัยในลำดับต่อๆไป

สรุป การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม คือ การแก้ไขปัญหาต่างๆ-ปัญหาหนึ่งบนฐานความรู้ หรืออาจเป็นการสร้างความรู้เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา เป็นการดำเนินการอย่างมีส่วนร่วมในขั้นตอนต่างๆของผู้เกี่ยวข้อง

การ มีส่วนร่วม หมายถึง ร่วมทุกขั้นตอน หรือบางขั้นตอน ตั้งแต่การร่วมคิด ร่วมพูดคุย ปรึกษาหารือ ร่วมวิเคราะห์ปัญหา ร่วมวางแผน ร่วมลงมือดำเนินการ ร่วมแสวงหาหรือระดมทรัพยากรต่างๆ จนถึงร่วมรับประโยชน์ และ ร่วมประเมินผล ร่วมสร้างองค์ความรู้ ร่วมทบทวน ร่วมสรุปบทเรียน/ถอดบทเรียน ร่วมเขียน ร่วมวิพากษ์ ร่วมสร้างความรู้ใหม่บนฐานการทำงาน หรือร่วมสร้างกระบวนการขับเคลื่อน เพื่อให้เกิดการต่อยอด ขยายผล หรือการปรับเปลี่ยน เพื่อนำไปสู่วิธีคิดใหม่ๆ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ ที่อาจช่วยแก้ปัญหาที่ประสบอยู่ให้ดีกว่าเดิม

               จุดมุ่งหมายของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

การ วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงคุณภาพองค์การ ประชาชน ชุมชน และชีวิตครอบครัว โดนมีสาระที่สำคัญ คือ การใช้กระบวนการวิจัยเพื่อส่งเสริมจุดมุ่งหมายของความเสมอภาค และความเป็นประชาธิปไตย เปิดกว้างให้ผู้ที่มีส่วนร่วมในการวิจัยเกิดความร่วมมือในการตัดสินใจ มีความเห็นร่วมกันทั้งในฐานะผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์การและผู้ร่วม กระทำกิจกรรมการวิจัยบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน

               กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

การวิเคราะห์ปัญหา/โจทย์ร่วมกัน มีความสำคัญเพื่อนำไปสู่พลังร่วมในการแก้ปัญหาร่วมกัน

ทั้ง นี้ปัญหามีหลายประเภท ทั้งปัญหาเชิงโครงสร้าง ปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาเร่งด่วน ปัญหาเฉพาะด้าน ปัญหาที่เป็นองค์รวม ปัญหาที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโช่ ปัญหาในห้องเรียน/โรงเรียน/โรงพยาบาล ผู้ป่วย/ผู้ป่วยเรื้อรัง ไร่นา โรงงาน องค์กร ครอบครัว ชุมชน ประชากรกลุ่มเฉพาะ เช่น วัยรุ่น ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้สูบบุหรี่ กลุ่มคนชายขอบ เป็นต้น

 

               การกำหนด/ตั้งคำถามที่ชัดเจน

เพื่อ ให้เกิดการสร้างพลังร่วมตั้งแต่ต้น มีความสำคัญ ตัวอย่างเช่น ปัญหาการเรียนการสอนในชั้นเรียน ปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาการขาดความสมานฉันท์ในสังคม ปัญหาการขาดธรรมาภิบาลในองค์กร สิ่งเหล่านี้เราจะต้องกำหนดโจทย์ปัญหาและตั้งคำถามในเชิงบวก เช่น สภาพการเรียนการสอนที่เป็นอยู่เป็นอย่างไร ผู้เรียน-ผู้สอนจะร่วมกันทำให้การเรียนเกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นได้อย่างไร หรือ ผู้เรียนจะมีความพึงพอใจสูงสุดได้อย่างไร ขั้นตอนต่างๆที่เกี่ยวข้องควรมีอะไรบ้าง เป็นต้น

               การกำหนดวัตถุประสงค์แบบ AR

การ กำหนดวัตถุประสงค์จำเป็นต้องมีทั้งวัตถุประสงค์ในเชิงการศึกษา-วิจัย-การ สร้างความรู้ในภาพรวม หรือในกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งวัตถุประสงค์ในเชิงการแก้ปัญหาหรือเชิงการพัฒนา และ/หรือ เชิงการเปลี่ยนแปลง

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ คือ การกระทำที่จำเป็นเพื่อให้สามารถตอบโจทย์วิจัยและบรรลุความมุ่งหมายที่ต้องการ

               การทบทวนแนวคิด ทฤษฎี ผลงานวิจัย

หรือ องค์ความรู้ที่มีอยู่ หรือที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ต้องการแก้ไข หรือ การพัฒนาที่เผชิญหน้าอยู่ เป็นสิ่งที่ทำได้ เพราะจะช่วยทำให้รู้และเข้าใจสิ่งที่ประสบอยู่/สิ่งที่ต้องการทำในระดับ หนึ่ง แต่ควรนำไปใช้อย่างระมัดระวัง ใช้อย่างวิพากษ์ ใช้เพื่อให้เห็นแนวทางการขับเคลื่อนที่มีกลยุทธ์

               เทคนิค วิธีการต่างๆ ในการเก็บข้อมูล

- การพูดอย่างไม่เป็นทางการ (Informal talk)

- การสังเกตการณ์ ทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม

- การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก / ระดับลึก (In-depth-interview)

- การเล่าเรื่อง (Narrative)

- การประเมินรวดเร็วแบบมีส่วนร่วม (RAP)

- สุนทรียสนทนา (Dialogue)

- การสนทนากลุ่มแบบเจาะจง (Focus group discussion)

- การสัมภาษณ์กลุ่ม (Group interview)

- การศึกษาเฉพาะกรณี (Case study) –ปัจเจก องค์กร จังหวัด ประเทศ

- การศึกษาชีวประวัติชีวิตและครอบครัว (Life history/family history study)

- การศึกษาชุมชน (Community study)

               เครื่องมือต่างๆในการเก็บข้อมูล

- แบบบันทึกภาคสนาม (Field note)

- แบบสอบถาม/แบบสัมภาษณ์/แบบสำรวจ

- แนวคำถามในการสัมภาษณ์ระดับลึก

- แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม

               เทคนิค/วิธีการในการสร้างกระบวนการขับเคลื่อนการสร้างพลัง การสร้างการมีส่วนร่วม การกระทำการเชิงสื่อสาร การถอดบทเรียน

- เทคนิค Appreciative Inquiry (AI)

- เทคนิค การทบทวนอดีต ปัจจุบัน และกำหนดอนาคตร่วมกัน (AIC)

- เทคนิคการค้นหาอนาคต (Future Search Conference: FSC)

- เทคนิคการทบทวนหลังการปฏิบัติ (AAR)

- เทคนิคการเป็นวิทยากรกระบวนการ

- เทคนิคการสร้าง เสริม เพิ่ม ดึงพลัง ยกระดับพลัง เช่น การให้รางวัล การกระตุ้น การผลักดัน การสนับสนุน ส่งเสริมในด้านต่างๆ

               การวิเคราะห์และตรวจสอบ เพื่อยืนยันความถูกต้อง/ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล

การวิเคราะห์และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) ซึ่งประกอบด้วย

- Data sources Triangulation

- Methods Triangulation

- Methodologies Triangulation

- Investigators Triangulation

- Concepts/Theories Triangulation

 

           การวิเคราะห์ข้อมูล

I รหัสได้มาจาก

  1. โจทย์วิจัย
  2. วัตถุประสงค์
  3. ข้อมูลพื้นฐาน
  4. วรรณกรรม
  5. ผู้รู้ในท้องถิ่น

หน้าที่ประโยชน์

  1. แยกแยะ จัดกลุ่ม จัดหมวดหมู่
  2. ค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น
  3. เชื่อมหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น

II การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการต่อจิ๊กซอ (แต่ละตัวคือข้อมูลดิบ ที่ผ่านการทำรหัส จิ๊กซอแต่ละตัวก็คือ รหัส) Approach ที่ใช้ Inductive approach (อุปมาน/อุปนัย)

  1. ข้อมูลดิบ (raw data, empirical evidence)
  2. การแปลงข้อมูลดิบให้เป็นแนวคิด (concept) ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล
  3. เชื่อมร้อยแนวคิดที่สัมพันธ์กันเอามาไว้ด้วยกัน จะทำให้มองเห็นความหมายที่เพิ่มขึ้นได้

#ไม่ได้ตั้งไว้ก่อนว่าตรงนี้ควรจะเป็นอย่างไร (ถ้าตั้งไว้ก่อน เรียก deductive approach)

#หลังจากวิเคราะห์ ข้อมูลที่ได้มาบอกอะไรเราบ้าง ข้อมูลดิบนำเราไปสู่อะไร

Tacit knowledge ความรู้ฝังลึก

Explicit knowledge ความรู้เด่นชัด

Tacit culture ฝังอยู่ในตัวคน เวลาไปเก็บข้อมูลจะไม่ค่อยได้ จะออกมาก็เมื่อมีวิกฤต เช่น เหตุการณ์น้ำท่วม ทำให้คนช่วยกัน

Explicit culture เห็นเด่นชัด

III หลักเกณฑ์โดยทั่วไป

  1. การหาแบบแผน (pattern-matching ) อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นซ้ำๆกัน เรียกว่า แบบแผน แบ่งเป็น

1.1   Universal patterns (แบบแผนหลักๆ) สิ่งที่คนส่วนใหญ่ประพฤติปฏิบัติ
normative behavior พฤติกรรมที่คนส่วนใหญ่ไม่ทำกัน

1.2   แบบแผนรอง (Competitive/rival pattern) ไม่ไปด้วยกันกับแบบแผนหลัก

เป็นการฉายภาพให้ผู้อ่านเห็น

  1. การหาคำอธิบาย (explanation building)

2.1   การหาคำอธิบายโดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่เป็นอธิบาย (first ordered interpretation) เป็นข้อมูลจากภาคสนาม insider’s views หรือ phenetic

2.2   คำอธิบายที่ผู้วิจัยเป็นผู้วิเคราะห์และให้คำอธิบาย เรียกว่า  outsider’s views หรือ ETIC’s views หรือ Phonetic

2.3   ใช้ทฤษฎีที่ผู้อื่นสร้างไว้มาอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

2.4   สร้างทฤษฎีใหม่จากโครงการวิจัยของผู้วิจัยเอง มาอธิบายปรากฏการณ์
grounded theory ทฤษฎีฐานราก ของ Glazer & Strauss (1976) ไม่ใช่ทฤษฎี

 

ระดับ ….3+4

พื้นผิว…… 2

Underlying  …….1

 

 

 

  1. การวิเคราะห์โดยการแบ่งเวลาเป็นช่วงๆ (Time – series analysis)

กรณี ที่มีการศึกษาแบบแบ่งกลุ่ม (ที่ต่อเนื่องกัน เช่น แบ่งตามช่วงอายุ แบ่งตามความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง) ตัวแทนแต่ละกลุ่มจะต้องมีภูมิหลังคล้ายกัน วิเคราะห์ตัวแทนแต่ละกลุ่ม ให้ครบทุกกลุ่ม แล้วเอาสิ่งที่วิเคราะห์ทุกกลุ่มมาต่อกัน ก็จะเป็นเรื่องราวทั้งหมดที่ต่อเนื่องกันในภาพรวม ….String analysis

 

IV เทคนิคในการวิเคราะห์ (ตัวช่วย)

  1. การปรับเปลี่ยนแนวคิดตามข้อมูลเชิงประจักษ์ (successive approximation)

-          ตอนที่เริ่มต้นทำงาน อาจจะมีแนวคิดคร่าวๆ (หรืออาจจะตั้งสมมติฐานก็ได้ ) แต่ต้องปรับเปลี่ยนได้

-          เมื่อได้ข้อมูลมาจะต้องปรับเปลี่ยน ขยาย

-          เก็บข้อมูลเพิ่มเติม แล้ววิเคราะห์เพิ่มเติม

*สมมติฐานเปลี่ยนไปเรื่อยๆจนกว่าจะอยู่ตัว (แบบแผนอยู่ตัว ไม่ใช่ข้อมูลดิบ) saturation… อิ่มตัว/ตกผลึก นิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลงแล้ว*

2. Illustrative model การวิเคราะห์เพื่อแสดงตัวอย่าง

มีโมเดล/ทฤษฎี อยู่แล้ว เก็บข้อมูล/วิเคราะห์ เพื่อแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่าง

3. Domain analysis การวิเคราะห์โดยการจัดกลุ่ม

-Folk domains การจัดกลุ่มแบบพื้นบ้าน เช่น ยอดตำลึงกับฟักทองอยู่ด้วยกัน เพราะมียอดเหมือนกัน

-Mixed domains ผสมระหว่างพื้นบ้านกับทฤษฎี เช่น ตำลึง กับฟักทอง เพราะมีวิตามินเอสูง

-Analytic domain

4. Analytic comparison การวิเคราะห์เปรียบเทียบ จะต้องมีข้อมูลอย่างน้อย 2 กลุ่ม เพื่อเปรียบเทียบ (การเปรียบเทียบ เป็นหัวใจสำคัญของการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ)

-method of agreement มิติ /พฤติกรรม อะไรบ้างที่เหมือนกัน แล้วอธิบาย ด้วยเหตุผล

-method of difference ดูว่า มิติ/พฤติกรรมอะไรบ้างที่ต่างกัน แล้วอธิบายด้วยเหตุผล

5. Ideal type การ วิเคราะห์โดยการตั้งเกณฑ์มาตรฐาน คือเรามีข้อมูลชุดเดียว ทำให้เราต้องตั้งเกณฑ์ไว้ก่อน วิธีแรก คือ ยืมเกณฑ์ที่เขาตั้งไว้แล้ว กรณีที่ไม่มีของใคร ก็ตั้งเกณฑ์ของเราเองไว้ก่อนที่สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งอาจจะมี Ideal type หลายตัวได้ แบ่งออกเป็น

-Contrast การเปรียบเทียบ เอาข้อมูลที่มีอยู่เปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตังไว้ ดูว่ามีความต่างอะไรบ้าง แล้วอธิบายด้วยเหตุผล

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
การจัดการเรียนการสอน การวิจัย

การใช้ในการปฏิบัติงาน


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ  การทำผลงาน

(731)

ประชุมใหญ่สมาชิก กสจ.ประจำปี พ.ศ.2554

ประชุมใหญ่สมาชิก กสจ.ประจำปี พ.ศ.2554
ผู้บันทึก :  นางนันทนา บุญเกียรติ และ นางสาวจิรา สังข์วิเชียร
  กลุ่มงาน :  งานบริหารทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 16 มี.ค. 2555   ถึงวันที่  : 16 มี.ค. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  กสจ.
  จังหวัด :  กรุงเทพฯ
  เรื่อง/หลักสูตร :  ประชุมใหญ่สมาชิก กสจ.ประจำปี พ.ศ.2554
  วันที่บันทึก  16 เม.ย. 2555

 รายละเอียด
       ในการประชุมใหญ่สมาชิก กสจ. ประจำปี พ.ศ.2554  เนื้อหา สาระได้แจ้งรายละเอียดของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว(กสจ.)  และรายงานผลการดำเนินงานของกองทุนประจำปี 2554 วิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุนในปี 2555  และเรื่องอื่นๆ 

             

 

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
สามารถ นำความรู้ที่ได้พัฒนาตนเองและเผยแพร่ความรู้ที่ได้ให้กับลูกจ้างประจำคนได้ อื่นๆ ได้รู้ถึงแนวทางและแนวปฏิบัติของ กสจ. มากยิ่งขึ้น 

 


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
การนำมาพัฒนาสมรรถนะด้านการเรียนรู้ การรับฟังผลการดำเนินงานต่างๆ ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างประจำส่วนราชการ


(276)