การกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาปีการศึกษา 2553

การกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาปีการศึกษา 2553
 ผู้บันทึก :  นางสาวมัลลี อุตตมางกูร
  กลุ่มงาน :  งานปกครอง สวัสดิการ และแนะแนว
  ฝ่าย :  ฝ่ายกิจการนักศึกษา
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 26 มี.ค. 2553   ถึงวันที่  : 26 มี.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  กองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา
  จังหวัด :  สุราษฎร์ธานี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาปีการศึกษา 2553
  วันที่บันทึก  19 เม.ย. 2553


 รายละเอียด
               ๑. นโยบายการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา ประจำปีการศึกษา๒๕๕๓ ให้ทำการโอนให้เสร็จก่อนการเปิดภาคการศึกษาเพื่อนักศึกษาไม่ต้องเป็นภาระ จ่ายเงินให้วิทยาลัย ๒. การจัดสรรจำนวนผู้กู้รายใหม่จะไม่กำหนดแต่ละชั้นปี แต่จะให้จำนวนมาและให้สถานศึกษาพิจารณาตามความเหมาะสม ๓. การคัดเลือกนักศึกษากองทุนกู้ยืมฯ ดีเด่น ๔. การใช้เงินดำเนินการที่กองทุนฯให้มาสามารถใช้ได้ ซื้อวัสดุอุปกรณ์ การประชุมที่เกี่ยวข้องกับกองทุน บัตรเติมเงินโทรศัพท์ โดยมีใบเสร็จ เก็บไว้ทุกครั้ง ๕. นโยบายและการดำเนินการเกี่ยวกับเงินคงค้างของสถานศึกษา จะให้ใช้งานระบบ e-Studentlanและ e-Audit ในปีการศึกษา ๒๕๕๔ สถานศึกษาใดจะเริ่มใช้ในปีการศึกษา ๒๔๔๓ ให้ไปลงทะเบียนได้ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราชไม่พร้อม ใช้เนื่องจาก ระบบ e-Audit จะต้องใช้เลขที่ใบเสร็จทุกรายการของนักศึกษาแต่ละราย เช่นค่าลงทะเบียน ค่า หอพัก ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่นักศึกษาจ่ายให้วิทยาลัย ฯ ไปลงในระบบ และการรายงานเงินคงค้างต้องรายงานทุกปีการศึกษาไม่ว่าจะมีเงินคงค้างหรือไม่ ก็ตาม


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา

(257)

เพื่อรับทราบความคืบหน้า และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการแก้ปัญหากำลังคนสาธารณสุข

เพื่อรับทราบความคืบหน้า และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการแก้ปัญหากำลังคนสาธารณสุข
ผู้บันทึก :  น.ส.วลัยลักษณ์ สุวรรณภักดี
  กลุ่มงาน :  งานบริหารทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 19 พ.ย. 2555   ถึงวันที่  : 19 พ.ย. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
  จังหวัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  เรื่อง/หลักสูตร :  เพื่อรับทราบความคืบหน้า และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการแก้ปัญหากำลังคนสาธารณสุข
  วันที่บันทึก  28 พ.ย. 2555


 รายละเอียด
               กระทรวงสาธารณสุขมี ตำแหน่งข้าราชการให้๕๐๐๐กว่าตำแหน่งซึ่งรอการจัดสรรและสำหรับลูกจ้างชั่ว คราวที่ไม่ได้รับการบรรจุก็ให้จัดคัดเลือกเหมือนกับตำแหน่งลูกจ้างข้าราชการ เพื่อให้อยู่ในตำแหน่งพนังงานกระทรวงสาธารณสุข มีสวัสดิการคล้ายข้า ราชการ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ทำให้ทราบความคืบหน้าเกี่ยวกับการบรรจุข้าราชการและสามารถนำมาวางแผนในการศึกษาต่อได้

(245)

การเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาวิธีปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการ(การเงิน บัญชี พัสดุ และการบริหารงานบุคลากร)

การเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาวิธีปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการ(การเงิน บัญชี พัสดุ และการบริหารงานบุคลากร)
ผู้บันทึก :  นางสาคร ฤทธิ์เต็ม
  กลุ่มงาน :  งานบริหารทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 20 มิ.ย. 2555   ถึงวันที่  : 22 มิ.ย. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  กลุ่มอำนวยการ สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  ปทุมธานี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาวิธีปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการ(การเงิน บัญชี พัสดุ และการบริหารงานบุคลากร)
  วันที่บันทึก  10 ต.ค. 2555

 รายละเอียด
-งบลงทุน  ถ้าเบิกใช้ไม่หมด  ต้องคืน  สถาบันพระบรมราชชนก-เงินอุดหนุน ถ้าใช้ไม่หมดภายในปีงบประมาณที่ได้รับจัดสรร  สามารถเบิกพักไว้ในสมุดออมทรัพย์  และใช้ต่อไปได้ภายใน  1 ปีงบประมาณถัดไป

-ค่าทีพักสำหรับผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมเป็นเดือน  ให้เบิกโดยประหยัด  จะไม่มีอัตรากำหนดไว้แน่นอน

-ค่าเบี้ยเลี้ยงสำหรับลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างประจำ  และข้าราชการ ซี 8 ลงมาเบิกในอัตรา  240 บาท ต่อวัน

-Boarding pass  เป็นหลักฐานการเดินทางจริง  ถ้าหายจะต้องทำบันทึกรับรองว่าได้เดินทางโดยเครื่องบินจริง แต่เกิดสูญหาย ให้ผอ.เซ็นอนุมัติก่อนถึงจะเบิกได้

-การจ้างเหมา  จะไม่คำนึงถึงวุฒิการศึกษา  นิยมจ้างด้วยเงินอุดหนุนซึ่งสามารถจ้างสูงกว่าวุฒิได้  ส่วนการจ้างรายเดือน  ก็สามารถจ้างด้วยเงินอุดหนุนได้  แต่ต้องจ้างตามวุฒิและจะให้เงินประกันสังคมไม่ได้  ค่าครองชีพไม่ได้  ฉะนั้นจึงไม่นิยมจ้างรายเดือนจากเงินอุดหนุน

-การเบิกเงิน พตส.ผู้ที่มี่สิทธิเบิกเงิน พตส. ต้องปฏิบัติงานจริงสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง  ต้องมีแผนการสอน  และรับรองการขึ้นปฏิบัติงานจากตัวเองและหัวหน้างานเซ็นรับรอง

-ผู้ที่จะได้รับเงินค่าสอนพิเศษจะต้องอยู่ในหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้

-ข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งประจำในมหาวิทยาลัยนั้น  หรือบุคคลอื่นที่ได้รับเชิญให้สอนในมหาวิทยาลัยในฐานะอาจารย์พิเศษ

-ผู้ ดำรงตำแหน่งบริการทางวิชาการหรือธุรการในมหาวิทยาลัยและไม่มีหน้าที่ในการ สอนที่ได้รับคำสั่งให้สอนนอกเวลาราชการปกติในมหาวิทยาลัยนั้น

-คณาจารย์ประจำที่ต้องสอนตามโครงการแลกเปลี่ยนอาจารย์ระหว่างมหาวิทยาลัย

-ผู้ที่สอนในเวลาราชการปกติครบหน่วยชั่วโมงแล้วให้ได้รับค่าสอนพิเศษเฉพาะหน่วยชั่วโมงที่สอนนอกเวลาราชการปกติ

-อัตราการจ่ายค่าสอนพิเศษ(ปรับใหม่ตั้งแต่ปี 2551)  เป็นดังนี้

-การสอนระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า    ชั่วโมงละ  400  บาท

-การสอนระดับบัณฑิตศึกษาหรือเทียบเท่า  ชั่วโมงละ  540  บาท

 

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
สามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้กับงานได้ดียิ่งขึ้น

(274)

โครงการอบรมเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรผู้รับผิดชอบงานเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

โครงการอบรมเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรผู้รับผิดชอบงานเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ผู้บันทึก :  นางปวันณัฐ จันทร์ภักดี
  กลุ่มงาน :  งานบริหารทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 21 พ.ค. 2555   ถึงวันที่  : 22 พ.ค. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  จังหวัด :  พระนครศรีอยุธยา
  เรื่อง/หลักสูตร :  โครงการอบรมเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรผู้รับผิดชอบงานเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
  วันที่บันทึก  10 ต.ค. 2555

 รายละเอียด
 มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เช่น กฎหมาย ระเบียบ ข้อ บังคับ และมติคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต รวมทั้งกลวิธีในการเสริมสร้างราชการใสสะอาดและการดำเนินการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตได้แลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์ และเข้าร่วมเป็นเครือข่ายและเป็นศูนย์กลางในการติดต่อประสานและการดำเนินการ งานตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐของสำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข

ได้รับทราบปัญหาที่ตรวจสอบภายในตรวจพบบ่อย ๆ และสามารถนำมาปรับใช้และเป็นข้อสังเกตได้คือ

                                ข้อสังเกตด้านการเงิน

-                   เงินขาดบัญชี/เกินบัญชี

-                   ไม่นำเงินเก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยของทางราชการ

-                   ไม่มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเก็บรักษาเงิน

-                   กรรมการเก็บรักษาเงินไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง/ระเบียบ

-                   คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเก็บรักษาเงิน/เมื่อเปลี่ยนผู้บริหารใหม่ไม่แก้ไขปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน

-                   เงินงบประมาณเบิกจากคลังยังไม่ได้จ่ายหรือจ่ายไม่หมดไม่นำส่งคืนคลังหลังครบกำหนด ภายใน  ๑๕ วัน

-                   เงินรายได้แผ่นดินนำส่งคลังล่าช้า

-                   ไม่ได้ตรวจสอบจำนวนเงินที่ได้รับกับสำเนาใบเสร็จรับเงิน

-                   เงินรับฝากค้างนานไม่จ่ายคืน/ไม่นำส่ง

-                   เช็คเขียนสั่งจ่ายไม่ถูกต้อง

-                   ไม่จัดทำรายงานการใช้ใบเสร็จรับเงินเมื่อสิ้นปีงบประมาณเสนอต่อหัวหน้าส่วนราชการ

-                   ไม่จัดทำทะเบียนคุมหลักฐานขอเบิก

-                   ไม่จัดทำทะเบียนคุมการจ่ายเช็ด

-                   เงินฝากธนาคารพาณิชย์เกินวงเงินที่ระเบียบกำหนดไม่นำเงินส่วนที่เกินฝากคลัง

-                   รับเงินแทนไม่มีใบมอบฉันทะ

-                   ใบเสร็จรับเงินที่เหลือ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ไม่เจาะรู เลิกใช้

-                   เรียกใบเสร็จก่อนจ่ายเงิน

-                   ไม่ประทับตราจ่ายเงินแล้ว จ่ายซ้ำ

-                   เจ้าหน้าที่การเงิน/บัญชีเป็นคน ๆ เดียวกัน (ต้องแยกจากกันโดยเด็ดขาด)

                                ข้อสังเกตด้านยืมเงิน

                                -    สัญญายืมเงินไม่ระบุวันครบกำหนด(หลังจากประชุม/อบรม/ภายใน ๑๕ วัน

                                -    การนับวันครบกำหนดส่งใช้คืนเงินยืมไม่ถูกต้อง

                                -    การส่องชำระหนี้เงินยืมไม่ออกใบรับใบสำคัญ

                                -   ไม่สลักด้านหลังสัญญายืมเงิน เมื่อส่งชำระคืนเงินยืม

                                -   ไม่จัดทำรายละเอียดลูกหนี้ค้างชำระ

-  สัญญายืมเงินบางฉบับไม่สมบูรณ์ เช่น ไม่มีลายมือชื่อผู้ยืม ผู้อนุมัติ ผู้จ่ายเงิน ผู้รับเงินและ   ไม่ระบุวันที่

                                -  จ่ายเงินยืมซ้ำราย

                                -  การเดินทางเป็นหมู่คณะไม่มีประมาณการเงินยืมรายบุคคล

                                -  กรณี  การคืนใบสำคัญจ่าการยืมเงินให้เจ้าหน้าที่การเงินลงรับการคืนเงินทันที

- ผู้ยืมรายนั้นจะยืมต่อได้เลย โดยใบสำคัญที่ส่งยังไม่ได้ตรวจว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้อง  ก็เรียกมาดำเนินการให้ถูกต้อง

                                ข้อสังเกตด้านใบสำคัญ

-                   การขออนุญาตเดินทางไปราชการไม่ครอบคลุมวันเดินทาง

-                   กรณีเดินทางโดยรถยนต์ส่วนกลาง ไม่ระบุชื่อพนักงานขับระและหมายเลขทะเบียน

รถยนต์

-                   เอกสารประกอบใบสำคัญไม่สมบูรณ์   เช่น  ไม่ลงลายมือชื่อผู้รับเงิน ผู้จ่ายเงิน วันที่

-                   ใบส่งของ,ใบแจ้งหนี้ ,  ใบเสร็จรับเงินไม่ลงวันที

-                   ใบสำคัญรับเงินไม่ลงวันที่ ไม่ลงชื่อผู้รับเงิน ผู้จ่ายเงิน

-                   ค่ารักษาพยาบาลเกินสิทธิ์

-                   ไม่มีสำเนาโครงการและกำหนดการประชุมแนบเอกสารเบิก จ่าย

ข้อสังเกตดานการบัญชี

-                   ใบสำคัญการลงบัญชี

     -  คำอธิบายไม่มี/มีแต่ไม่ชัดเจน

            -  ไม่แนบเอกสารประกาบการลงบัญชี

            -  ช่องผู้จัดทำ  ผู้สอบทาน ผู้อนุมัติ ไม่มีลายมือชื่อ

            -  ใบสำคัญการลงบัญชีจัดทำในโปรแกรมสำเร็จรูป ไม่ได้พิมพ์ออกมา

-      สมุดรายวันขั้นต้นไม่พิมพ์ออกมาเพื่อใช้ตรวจสอบตามระบบบัญชี

-      เอกสารใบบันทึกบัญชีไม่ได้จัดเก็บไว้ที่ฝ่ายบัญชี

-      งบการเงิน ณ วันสิ้นปี  ๓๐  กันยายนทุกปี ไม่มีหมายเหตุประกอบงบการเงิน

-       การบันทึกบัญชีไม่ถูกต้อง

-       การบันทึกบัญชีไม่เป็นปัจจุบัน

-       การจัดทำบัญชีไม่ครบถ้วน

-       การบันทึกรายการไม่ตรงกับหลักฐาน

-       งบกระทบยอดเงินฝากธนาคารจัดทำล่าช้า ไม่ได้จัดทำ จัดทำไม่ถูกต้อง

-       ไม่เสนอรายงานทางการเงินให้ผู้บริหารลงนามเห็นชอบทุกเดือน

ข้อสังเกตด้านระบบบัญชี  GFMIS

-       คำสั่งมอบหมายการปฏิบัติหน้าที่ในระบบ  GFMIS   ไม่มี,ไม่เป็นปัจจุบัน

-        รายงานประจำเดือนจากระบบ GFMIS ส่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ภายใน

๑๕  วัน  ของเดือนถัดไป

                                -        ไม่จัดทำทะเบียนคุมเลขที่ได้จากระบบ GFMIS  เช่น ทะเบียน คุม ขบ., ขจ., บส.

                                -         งบการเงินในระบบเกณฑ์คงค้างกับระบบ  GFMIS   ยังไม่ตรงกัน

                                -         บัญชีพักสินทรัพย์ยังมิได้ดำเนินการกลับรายการเป็นรายการสินทรัพย์

                                ข้อสังเกตด้านพัสดุ

-                   การบริหารพัสดุ

-                   ไม่มีการจัดทำแผนการจัดซื้อ/จัดจ้าง

-  ไม่สำรวจความต้องการในการใช้พัสดุ

-   แต่งตังหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ  หัวหน้าหน่วยพัสดุ และเจ้าหน้าที่พัสดุ ไม่เป็นปัจจุบัน

-     คณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปี และคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็น

 ชุดเดียวกัน

-                   แต่งตั้งลูกจ้างชั่วคราวเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ

-                   ใบเบิกวัสดุไม่มีลายมือชื่อผู้เบิก / ผู้อนุมัติ/ ผู้จ่าย/ผู้รับพัสดุ

-                   แต่งตั้งคณะกรรมการาตรวจรับพัสดุเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ความชำนาญในด้านนั้น ๆ

-                   จัดซื้อพัสดุเกินความจำเป็น / เคลื่อนไหวช้า

-                   ทำบัญชีวัสดุ / ทะเบียนคุมทรัพย์สิน ไม่ถูกต้องครบถ้วน และไม่เป็นปัจจุบัน

-                   ไม่ให้หมายเลขประจำตัวครุภัณฑ์

-                   มีวัสดุขาด / เกินบัญชี

-                   การจัดเก็บรักษาพัสดุไม่เป็นระเบียบ

-                   ตรุภัณฑ์สูญหาย / ชำรุด ไม่ดำเนินการตามระเบียบ

-                   ไม่แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปี

-                   ผู้ได้รับแต่งตั้งไม่ปฏิบัติหน้าที่ / ปฏิบัติหน้าที่ไม่ครบถ้วน

-                   ไม่จัดทำรายงานตรวจสอบพัสดุประจำปี

ข้อสังเกตการณ์จัดซื้อจัดจ้าง

                                วิธีตกลงราคา

-                   ใบสั่งซื้อไม่กำหนดระยะเวลาส่งมอบพัสดุ และไม่กำหนดระยะเวลาประกันพัสดุ

-                   การจัดซื้อ/จัดจ้าง ตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐  บาทขึ้นไป แต่งตั้งกรรมการไม่ครบ (ถ้าไม่ถึง ๑๐,๐๐๐.- บาท ตั้งกรรมการ  ๑  คนได้

-                   ทำการจัดซื้อ/จัดจ้างภายหลัง

-                   ไม่ระบุวันที่ในใบส่งของ/ใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงิน

วิธีตกลงราคา/ประกวดราคา

-                   กำหนดเวลาขาย/ให้เอกสาร น้อยกว่าระเบียบกำหนด

-                   ทำเอกสารประกอบ/ประกวดราคาไว้จำนวนไม่เพียงพอกับผู้ต้องการ

-                   ไม่ยอมขาย/ให้เอกสารสอบ/ประกวดราคา ซึ่งยังไม่หมดระยะเวลา

-                   ส่งประกาศประกวดราคา ไม่เผยแพร่ ไม่ทั่วถึง หรือไม่ส่ง

-                   ส่งประกาศไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามกำหนดเวลาที่ระเบียบกำหนด

-                   ไม่ปิดประกาศสอบราคา/ประกวดราคา ณ ที่ทำการ/ปิดแต่น้อยกว่าระยะเวลากำหนด

-                   หมดเวลารับซองแล้วยังมีการรับซอง

-                   ไม่ต่อรองราคา ผู้เสนอราคาสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อ/จ้าง (ผู้ที่ได้ราคาต่ำสุดก็ต้องต่อรอง

-                   ไม่ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาว่าเป็นไปตามเงื่อนไข

-                   ไม่ประกาศทางเวปไซด์

ข้อสังเกตจาการทำสัญญา

-                   แบบของสัญญาไม่เป็นไปตามระเบียบ  /  แบบที่ กวพ.กำหนด

-                   สัญญาไม่ระบุรายละเอียดของปริมาณงานที่ค้าง

-                   เงื่อนไขในสัญญาไม่ตรงกับที่ระบุไว้ในประกาศสอบ / ประกวดราคา

-                   ตอดอากรแสตมป์ไม่เป็นไปตามประมวลรัษฎากร

-                   ไม่ใช้ใบสลักหลังตราสาร  แต่กลับใช้อากรแสตมป์แทนในกรณีวงเงินจัดจ้าง ตั้งแต่ ๒๐๐,๐๐๐.- บาทขึ้นไป

-                   หนังสือค้ำประกันของธนาคารมิได้ระบุเลขที่และวันที่ของสัญญา

-                   เวปไซด์ กรมบัญชีกลาง มีตัวอย่างสัญญา

-                   ไม่ได้จัดทำทะเบียนคุมหลักประกันสัญญา

-                   คืนหลักประกันสัญญาให้ผู้รับจ้างก่อนครบกำหนด / ก่อนพ้นข้อผูกพันตามสัญญา

-                   ไม่เรียกผู้ขาย/ผู้รับจ้าง เข้าดำเนินการแก้ไขในช่วงระยะเวลาประกันความชำรุดบกพร่อง

-                   ไม่ส่งสำเนาสัญญา/  ข้อตกลง ตั้งแต่  ๑  ล้านบาท ให้สตง. และสรรพากรภายใน ๓๐ วัน นับจากลงนามหรือส่งให้แต่ล่าช้ากว่ากำหนด

-                   ผู้ขาย / ผู้รับจ้างส่งมอบล่าช้า ไม่มีการแจ้งการปรับตามสัญญา

-                   อนุมัติให้ขยายเวลา / ต่ออายุสัญญา โดยไม่มีเหตุผลสมควรถูกต้องตามความเป็นจริง

-                   ไม่จัดทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม / บันทึกแนบท้ายสัญญา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายที่จัดซื้อ  / จัดจ้าง

-                   คณะกรรมการตรวจรับ / ตรวจการจ้างขาดความรอบคอบไม่ใส่ใจต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

-                   ไม่ทำทะเบียนครุภัณฑ์หลังการตรวจรับเรียบร้อยแล้ว

ข้อสังเกตยานพาหนะ

-                   ใบขออนุญาตใช้รถยนต์ (แบบ ๓) ไม่ระบุหมายเลขทะเบียนรถ และชื่อพนักงานขับรถ

-                   ใบขออนุญาตใช้รถยนต์ (แบบ ๓)  กับสมุดบันทึกการใช้รถ (แบบ ๔) ไม่ถูกต้องตรงกัน

-                   ไม่จัดทำทะเบียนคุมการใช้น้ำมันเชื่อเพลิง

-                   ไม่จัดทำทะเบียนคุมการซ่อมแซมรถยนต์

-                   การขอใช้รถยนต์ราชการ  ติดต่อราชการในจังหวัดให้เขียนใบเดียวได้  แต่พนักงานขับรถยนต์  ต้องเขียนรายละว่าติดต่อราชการกี่แห่ง ในวันนั้นให้สัมพันธ์กับเข็มไมล์ท


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
นำผลการพัฒนาไปใช้ประโยชน์บุคลากรในหน่วยงานรับเพื่อปฏิบัติตามระเบียบ โดยเคร่งครัด


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตรวม ทั้งกลวิธีในการเสริมสร้างราชการใสสะอาดและการดำเนินการป้องกันและปราบปราม การทุจริตและได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์ เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและเสริมสร้างราชการให้ใสสะอาดและ สามารถนำไปปรับใช้กับงานถ่ายทอดผู้ร่วมงานมีความรู้ ความเข้าใจได้ดีขึ้น

(292)

การพัฒนาศักยภาพจริยธรรมการวิจัย (สำหรับกรรมการจริยธรรม)

การพัฒนาศักยภาพจริยธรรมการวิจัย (สำหรับกรรมการจริยธรรม)
 ผู้บันทึก :  นางสาวจามจุรี แซ่หลู่ และ นางรัถยานภิศ พละศึก
  กลุ่มงาน :  งานวิจัยและผลงานวิชาการ
  ฝ่าย :  ฝ่ายส่งเสริมวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 8 ส.ค. 2555   ถึงวันที่  : 9 ส.ค. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  กระทรวงสาธารณสุข
  จังหวัด :  กรุงเทพฯ
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนาศักยภาพจริยธรรมการวิจัย (สำหรับกรรมการจริยธรรม)
  วันที่บันทึก  27 พ.ย. 2555


 รายละเอียด
 

          ข้อ 50 ผู้ ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ทำการหรือร่วมทำการวิจัยหรือการทดลองในมนุษย์ สามารถทำการวิจัยได้เฉพาะเมื่อโครงการศึกษาวิจัยหรือการทดลองดังกล่าว ได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการด้านจริยธรรมที่เกี่ยวข้องแล้วเท่า นั้น

          ข้อ 51 ผู้ ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ทำการหรือร่วมทำการวิจัยหรือการทดลองในมนุษย์ จะต้องปฏิบัติตามแนวทางจริยธรรมของการศึกษาวิจัยและการทดลองในมนุษย์และ จรรยาบรรณของนักวิจัย

 

          ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 2550

          ส่วนที่ 4 การศึกษาวิจัยและการทดลองในมนุษย์

          ข้อ 25 ผู้ ประกอบวิชาชีพ ผู้ทำการทดลองต่อมนุษย์ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ถูกทดลองและต้องพร้อมที่ จะป้องกันผู้ถูกทดลองจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทดลองนั้นๆ

          ข้อ 26 ผู้ ประกอบวิชาชีพ ต้องปฏิบัติต่อผู้ถูกทดลองเช่นเดียวกันกับการปฏิบัติต่อผู้ป่วยหรือผู้ใช้ บริการในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ตามส่วนที่ 1 โดยอนุโลม

          ข้อ 27 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องรับผิดชอบต่ออันตรายหรือผลเสียเนื่องจากการทดลองที่บังเกิดต่อผู้ถูกทดลองอันมิใช่ความผิดของผู้ถูกทดลอง

          ข้อ 28 ผู้ ประกอบวิชาชีพ สามารถทำการวิจัยได้เฉพาะเมื่อโครงการศึกษาวิจัยหรือการทดลองดังกล่าว ได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการด้านจริยธรรมที่เกี่ยวข้องแล้วเท่า นั้น

          ข้อ 29 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องปฏิบัติตามแนวทางจริยธรรมของการศึกษาวิจัยและการทดลองในมนุษย์และจรรยาบรรณของนักวิจัย

 

          กฎหมายแพ่งและพาณิชย์

          เกณฑ์ การขอความยินยอม หลักฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใดๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอม…เป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

          กรณีผู้เยาว์ ต้องจัดให้มีการขอความยินยอมจากผูแทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ก่อน

          กรณีคนไร้ความสามารถ

          1. บุคคล วิกลจริต ขอความยินยอมจากตัวบุคคลวิกลจริตถ้าเขามีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ แต่ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือและต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการที่ ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในคนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

          ในกรณีผู้ป่วยไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์หรือขาดความสามารถในการตัดสินใจให้คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล เป็นผู้ให้ความยินยอม

          2. คนไร้ความสามารถ ขอความยินยอมจากผู้อนุบาล

          3. คนเสมือนไร้ความสามารถ ขอความยินยอมจากผู้พิทักษ์

 

          พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550

          มาตรา 7 ข้อมูล ด้านสุขภาพของบุคคลเป็นความลับส่วนบุคคลผู้ใดจะนำไปเปิดเผยที่จะทำให้บุคคล เสียหายไม่ได้ เว้นแต่การเปิดเผยนั้นเป็นไปตามประสงค์ของบุคคลนั้นโดยตรง หรือมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้เปิดเผย

          มาตรา 9 ใน กรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขประสงค์จะใช้ผู้รับบริการเป็นส่วน หนึ่งของการทดลองในงานวิจัย ผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุขต้องแจ้งให้ผู้รับบริการทราบล่วงหน้า และต้องได้รับการยินยอมเป็นหนังสือจากผู้รับบริการก่อนจึงจะดำเนินการได้ ความยินยอมดังกล่าวผู้รับบริการจะเพิกเฉยเสียเมื่อใดก็ได้

          มาตรา 49 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 7 หรือ 9 ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

          ความผิดอันนี้เป็นความผิดยอมความได้

 

พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551

หมวด 2 สิทธิผู้ป่วย

มาตรา 15 ผู้ป่วย (บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิต) มีสิทธิดังต่อไปนี้

1. ได้รับการบำบัดรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

2. ได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการบำบัดรักษาไว้เป็นความลับ เว้นแต่มีกฏหมายบัญญัติไว้ให้เปิดเผยได้

3. ได้รับการคุ้มครองในระบบประกันสุขภาพและประกันสังคมและระบบอื่นๆ ของรัฐอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน

มาตรา 16 ห้าม มิให้ผู้ใดเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยในประการที่น่าจะทำให้เกิดความ เสียหายแก่ผู้ป่วย เว้นแต่ ในกรณีที่อาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยหรือผู้อื่น เพื่อความปลอดภัยของสาธารณชนและมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย

มาตรา 20 การ วิจัยใดๆ ที่กระทำต่อผู้ป่วยจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ ป่วยและต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการที่ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมการ วิจัยในคนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้นำความในมาตรา 21 วรรค 3 มาใช้บังคับกับการให้ความยินยอมโดยอนุโลม ความยินยอมตามวรรค 1 ผู้ป่วยจะเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได้

มาตรา 21 วรรค 3 ในกรณีผู้ป่วยมีอายุไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์หรือขาดความสามารถในการตัดสินใจ ให้ความยินยอมบำบัดรักษา ให้คู่สมรส คู่บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล หรือผู้ปกครองดูแลบุคคลนั้นแล้วแต่กรณี เป็นผู้ให้ความยินยอมตามวรรค 2 แทน

 

ความรับผิดของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการศึกษาวิจัย

1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ความรับผิดชอบในทางแพ่ง

กรณีกระทำละเมิด การ ดำเนินการวิจัยหากเกิดความเสียหายขึ้นแก่อาสาสมัครถือเป็นการกระทำละเมิด ผู้กระทำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามที่กำหนดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่ การคืนทรัพย์สิน การใช้ราคาทรัพย์สิน รวมถึงค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันได้ก่อขึ้น ซึ่งศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการละเมิด

2. ประมวล กฎหมายอาญา ความรับผิดชอบในทางอาญา หากความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่อาสาสมัครเป็นผลจากการประทำอันเป็นความผิดทาง อาญาตามที่กำหนดในประมวลกฏหมายอาญา จะต้องได้รับโทษตามที่กำหนดสำหรับความผิดทางอาญาฐานนั้น โดยมีการกำหนดโทษ ไว้ดังนี้ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน

3. ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพนั้นๆ

   ความ รับผิดทางจริยธรรมแห่งวิชาชีพหรือทางจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ หากเป็นการกระทำโดยผู้ประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพนั้นๆ ซึ่งจะมีกำหนดในข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพ โดยกำหนดให้ต้องรับโทษ ได้แก่ ว่ากล่าวตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาต เพิกถอนใบอนุญาต

4. กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน

   ความ รับผิดชอบทางวินัย หากเป็นข้าราชการพลเรือนและดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยอันเป็นการ ปฏิบัติหน้าที่ราชการที่มีการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอันมีลักษณะเป็น การกระทำอันเป็นความผิดวินัย กำหนดต้องรับโทษทางวินัย ได้แก่ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน ปลดออก ไล่ออก

กระบวนการขอความยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าว

Informed consent แปลว่าการยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าว การได้รับรายละเอียดอย่างชัดเจน ไม่มีสิ่งใดปิดบังซ่อนเร้น การมีโอกาสซักถาม ได้รับคำตอบเป็นที่พอใจ บางครั้งการวิจัยทางสายสังคมศาสตร์ การยินยอมเป็นเพียงแค่การยินยอมด้วยวาจาก็ได้ แต่จริงๆ แล้วต้องให้เซ็นต์ชื่อเป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากว่าถ้าให้เซ็นต์ชื่อแล้วเกิดผลต่อการวิจัยก็ให้ยกเว้นได้

1. การดำเนินการ กระบวนการขอความยินยอมเริ่มมาตั้งแต่ ค.ศ. 1987 จนถึงปัจจุบัน ต้องโปร่งใส อิสระ อย่างแท้จริง เพราะเป็นการคุ้มครองตัวมนุษย์ผู้เข้าร่วมวิจัยการขอความยินยอมไม่ได้หมาย ถึงเฉพาะการลงนามในเอกสารซึ่งเป็นขั้นตอนตามกฎหมาย แต่จะต้องผ่านกระบวนการขอความยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าว ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามหลักจริยธรรมการเคารพในความเป็นบุคคลและการตัดสินใจ อย่างอิสระ ดังนั้นในตัวโครงการวิจัยที่เสนอขอการพิจารณารับรองจากคณะกรรมการฯ ผู้วิจัยจะต้องเขียนอธิบายในหัวข้อวิธีดำเนินการวิจัยให้เห็นขั้นตอนของการ ขอความยินยอมอย่างชัดเจน

สิ่ง สำคัญกรรมการจริยธรรมจะต้องดูในเรื่องของภาษาที่ใช้ให้เหมาะสมกับการทำวิจัย ด้วย ดูตัวโครงการ ความถูกต้อง ความปลอดภัยทางวิทยาศาสตร์ วิธีดำเนินการวิจัย ในโครงการต้องบอกว่า participant มา จากไหน ใครเป็นผู้ไปพบ ให้คำอธิบาย ให้เอกสารคำอธิบายโครงการ ให้โอกาสซักถาม ตรวจสอบให้แน่ใจในความเข้าใจ นักวิจัยต้องเขียนให้ละเอียดว่ามีขั้นตอนในการขอความยินยอมอย่างไร (เช่นการแต่งชุดพยาบาลให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถาม ผู้ป่วยอาจจะตอบด้วยความเกรงใจ อย่างนี้ถือว่าเป็นการขอความยินยอมที่ไม่ถูกต้อง)

 

2. องค์ประกอบของการยินยอมที่บริสุทธิ์ ความยินยอมที่บริสุทธิ์โปร่งใสและเป็นไปตามหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ประกอบด้วย

  1. 1.       เป็นความสมัครใจอย่างแท้จริง (voluntariness) การไม่ถูกจูงใจ โน้มน้าว บีบบังคับ ทำให้รู้สึกเกรงใจ
  2. 2.       ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจ (capacity)
  3. 3.       การให้ข้อมูลที่ชัดเจน (disclosure)
  4. 4.       ความเข้าใจอย่างครอบคลุม (comprehension)
  5. 5.       การตัดสินใจ (decision) เป็นการตัดสินใจโดยอิสระด้วยตนเอง

 

3. ความสำคัญของเอกสารคำอธิบายโครงการแก่ผู้เข้าร่วมวิจัย เป็นหลักฐานที่สำคัญในการแสดงให้

เห็นว่าผู้เข้าร่วมโครงการได้รับข้อมูลสำคัญครบถ้วน

   3.1 ข้อมูลสำคัญที่ต้องเขียนบอก ประกอบด้วย

   – ชื่อโครงการ

   – ชื่อผู้วิจัย

   – ที่มาของการวิจัย

   – วัตถุประสงค์

   – เหตุผลที่เชิญชวนท่านเข้าร่วมโครงการ (ซึ่งท่านเป็นผู้ที่สามารถให้ข้อมูลได้ จึงเชิญท่านเข้าร่วมวิจัย)

   – วิธีการดำเนินการวิจัย ความเสี่ยงหรือผลแทรกซ้อนมีหรือไม่มี

   – ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่ตัวผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยและแก่ผู้อื่น

   – ค่าตอบแทน ใช้คำว่าของที่ระลึก แทนของขวัญ

   – ค่าชดเชย คือ ค่าช่วยเหลือเมื่อผู้เข้าร่วมวิจัยเกิดความเสียหายขณะเข้าร่วมวิจัย

   – การรักษาความลับ

   – ชื่อบุคคลที่สามารถติดต่อได้กรณีเร่งด่วนหรือมีข้อสงสัย

3.2 การ ใช้ภาษา วิธีการเขียนไม่ได้เขียนแบบเชิงวิชาการ ให้ใช้ภาษาง่ายๆ ธรรมดา ภาษาอังกฤษต้องอธิบาย ระวังภาษาที่กระทบต่อหลักจริยธรรม ความเป็นอิสระส่วนตัว ให้คิดเสมอว่าคนอ่าน informed consent คือ คนธรรมดาไม่ใช่คณะกรรมการจริยธรรม ไม่ใช่นักวิชาการ ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์

ภาษา เป็นเรื่องที่สำคัญ ผู้วิจัยต้องใช้ภาษาที่ต้องใช้ภาษาที่เหมาะสมกับผู้เข้าร่วมวิจัย รูปแบบง่ายต่อการเข้า ง่ายต่อการตัดสินใจ ถูกต้อง ตรงประเด็น กระชับ ถูกต้องตามวัฒนธรรม

ภาษา ที่หลีกเลี่ยง คือ ภาษาที่กดดัน เช่น ท่านอยู่ในภาวะเสี่ยงอย่างยิ่ง เป็นการกดดันให้กลัว ท่านต้องร่วมโครงการตลอดเวลา เป็นการบีบบังคับ (coercion) ความเสียสละของท่านยิ่งใหญ่เหมือนทหารกล้าในการศึกสงคราม เป็นการโน้มน้าว (persuasion) ท่านจะได้รับอาหารฟรี ยาฟรี เป็นการจูงใจ (inducement) ท่านจะมีอาการดีขึ้นจากการเป็น เป็นการหลอกให้เชื่อ (deception) โครงการนี้ไม่สามารถสำเร็จแล้วถ้าขาดความช่วยเหลือจากท่าน (เป็นการขอร้อง ไม่ถูกต้องตามหลักการขอความยินยอม)

ภาษาที่ควรใช้

- ขอขอบคุณที่ท่านให้ความร่วมมือ

- แพทย์จะให้ผู้ป่วยออกจากโครงการเมื่อพิจารณาแล้วว่าไม่เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วย

- ท่านจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ควรเปลี่ยนเป็น ท่านจะได้รับการดูแลตามมาตรฐาน

- ความเสี่ยงอันตรายแทบไม่มีเลย ควรเปลี่ยนเป็น ความเสี่ยงยังไม่เคยพบแต่อย่างไรก็ตามถ้าเกิดความเสี่ยงจะมีความเสี่ยงใน เรื่อง….แล้วได้รับการดูแลอย่างไร

- การเจาะใช้เข็มใหม่ชนิดใช้ครั้งเดียวซึ่งจะมีความคมและแทบไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดขณะดูด

- การซักถามเรื่องส่วนตัว อาจทำให้รู้สึกอึดอัด อาย ผู้วิจัยจะระวังในการถาม จัดที่ส่วนตัว และจะหยุดทันทีที่ผู้ยินยอมแสดงความอึดอัด

- ไม่ควรใช้คำว่า ไม่อนุญาต ต้องใช้คำว่า ต้องขออนุญาตให้ท่านอยู่ใน……..

คณะ กรรมการจริยธรรมต้องดูคำปะหน้าใบสอบถาม ใบปะหน้าแบบสอบให้มีเพียงข้อมูลเกี่ยวกับแบบสอบถาม คำว่ากรุณาตอบให้ครบทุกข้อ ห้ามเขียนโดยเด็ดขาด เพราะเป็นการบังคับ

 

4. รูปแบบเอกสารยินยอมและสาระสำคัญ รูปแบบของเมืองนอกคำอธิบายโครงการวิจัยแก่ผู้เข้าร่วมโครงการกับเอกสารยินยอมจะรวมอยู่ในชุดเดียวกัน แต่แยกออกเป็น 2 ส่วน แต่ในไทยต้องแยกแบบฟอร์มทั้งสองชุดออกจากกัน เมื่อผู้เข้าร่วมวิจัยยินยอมก็ขอให้เซ็นต์ชื่อทั้งเอกสารสองส่วนคือ ได้รับฟังอธิบายแล้วและยินยอมเข้าร่วมวิจัย

เอกสารคำอธิบายโครงการวิจัยแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ (participant information sheet) ถ้าเป็นของเด็กต้องแยกตามอายุเด็ก รูปแบบพิจารณาดูว่าง่ายต่อการอ่านหรือไม่ สาระสำคัญครอบคลุมหรือไม่ (เรื่องแบบฟอร์ม อาจจะแล้วแต่ฟอร์มของสถาบัน แต่ให้ดูสาระให้ครบเท่านั้น)

สถาบันที่ทำการวิจัยจะมีรูปแบบของเอกสารยินยิมกำหนดไว้ให้ ผู้วิจัยควรศึกษารูปแบบเอกสารตามสถาบันที่ตนจะขอรับรอง 

 

5. การขอความยินยอมจากบุคคลที่ต้องระวังเป็นพิเศษ บุคคลที่ต้องระวังเป็นพิเศษ (vulnerable persons/groups) คือบุคคลที่มีความเป็นอิสระแก่ตนในการตัดสินใจ ความเป็นตัวเองมีข้อจำกัดอันเนื่องมาจากสภาพแวดล้อม สภาวะทางร่างกาย หรือมางจิตใจ เช่น ผู้ต้องขัง เด็ก ผู้ป่วยที่เป็นโรคร้ายคุกคามชีวิต บุคคลที่พิการทางกายและสมอง ชนกลุ่มน้อย ผู้ที่ทำงานในสถาบันเข้มงวดทางวินัย เช่น ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ ผู้วิจัยต้องตระหนักถึงเรื่องนี้และดำเนินการขอความยินยอมอย่างเหมาะสม ไม่ให้เกิดความรู้สึกจำยอมหรือไม่เข้าใจดีพอ หรืออยู่ในสภาพถูกบีบบังคับ

กระบวนการขอความยินยอมจากเด็ก (informed assent) เด็กเล็ก 7-12 เด็กโต 13-17 ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีอิสระในการตัดสินใจน้อย (vulnerable groups) ใช้ภาษาที่เด็กรู้เรื่อง ถ้าพ่อแม่ยินยอมแต่เด็กไม่เต็มใจทำไม่ได้ ถ้าเด็กยินยอมแต่พ่อแม่ไม่ยินยอม ก็ไม่สามารถทำวิจัยไม่ได้ ใบยินยอมทำให้ง่ายๆ เช่น ใช้ภาพประกอบคำอธิบาย


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
  คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(311)