ทำความเข้าใจระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วย พนักงานกระทรวงสาธารณสุขและการบรรจุลูกจ้างชั่วคราวของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ทำความเข้าใจระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วย พนักงานกระทรวงสาธารณสุขและการบรรจุลูกจ้างชั่วคราวของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
 ผู้บันทึก :  นางปวันณัฐ จันทร์ภักดี
  กลุ่มงาน :  งานบริหารทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 25 ธ.ค. 2556   ถึงวันที่  : 25 ธ.ค. 2556
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพ
  เรื่อง/หลักสูตร :  ทำความเข้าใจระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วย พนักงานกระทรวงสาธารณสุขและการบรรจุลูกจ้างชั่วคราวของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  วันที่บันทึก  24 มิ.ย. 2556

 รายละเอียด
           การคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรที่  กพ. อนุมัติให้ส่วนราชการจัดให้มีการศึกษาเพื่อเข้ารับราชการในส่วนราชการใดส่วนราชการนั้นโดยเฉพาะ (ข้อ ๑(๒)

                       ผู้สำเร็จการศึกษาในวุฒิที่ ก.พ.กำหนด (ข้อ ๑)๓

                       กรณีอื่นที่ ก.พ.กำหนด  (ข้อ ๑)๖

สำหรับลูกจ้างชั่วคราวที่ปฏิบัติงานปีแรก เริ่มทำงานตั้งแต่ปี   พ.ศ.๒๕๕๑ ลงมา  ส่วนที่เหลือ เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข  หากได้รับตำแหน่งในปี ต่อไปก็สามารถบรรจุได้ตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ  กฎระเบียบ ข้อมูล การดำเนินการ  

(311)

นำนักศึกษาไปรับทุนสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

นำนักศึกษาไปรับทุนสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
ผู้บันทึก :  นางสาวขจิต บุญประดิษฐ
  กลุ่มงาน :  งานปกครอง สวัสดิการ และแนะแนว
  ฝ่าย :  ฝ่ายกิจการนักศึกษา
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  นำนักศึกษาไปรับทุน
  เมื่อวันที่ : 9 ก.ย. 2553   ถึงวันที่  : 11 ก.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สำนักงานกินแบ่งรัฐบาล
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  นำนักศึกษาไปรับทุนสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
  วันที่บันทึก  16 ก.ย. 2553


 รายละเอียด
               ขั้นตอนในการส่งเอกสารทุนการศึกษาทั้งในกรณีทุนต่อเนื่องและทุนใหม่ ระยะเวลาในการจัดสรรเงินทุนมี2งวดคือระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคมและระหว่าง เดือน มกราคม-มิถุนายน โดยถ้าเป็นทุนต่อเนื่องทางทุนโอนเงินเข้าหมายเลขบัญชีนักศึกษาโดยตรง ถ้าเป็นทุนใหม่ให้นักศึกษาขึ้นไปรับทุนพร้อมกับอาจารย์เพราะจะได้ทราบเกี่ยว กับแนวทางการปฏิบัติเมื่อได้รับทุนและสามารถส่งเอกสารตามกำหนดและถูกต้อง และเป็นการฝึกให้นักศึกษามีความรับผิดชอบส่งเอกสารตามกำหนดทุกครั้งมิฉะนั้น เงินทุนจะ เข้าช้าและส่งเอกสารจะต้องผ่านอาจารย์ผู้รับทุนการศึกษาทุกครั้ง


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การดูแลทุนการศึกษาของนักศึกษา


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การดูแลทุนการศึกษาของนักศึกษา

(299)

โครงการฝึกอบรมการใช้ฐานข้อมูลโครงการทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมาร

โครงการฝึกอบรมการใช้ฐานข้อมูลโครงการทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมาร
ผู้บันทึก :  นางสาวขจิต บุญประดิษฐ และนางสาวอนุกูล ก้งเส้ง
  กลุ่มงาน :  งานปกครอง สวัสดิการ และแนะแนว
  ฝ่าย :  ฝ่ายกิจการนักศึกษา
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 21 ก.ค. 2553   ถึงวันที่  : 21 ก.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
  จังหวัด :  สงขลา
  เรื่อง/หลักสูตร :  โครงการฝึกอบรมการใช้ฐานข้อมูลโครงการทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมาร
  วันที่บันทึก  6 ก.ย. 2553


 รายละเอียด
               ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการอบรม ครั้งนี้ ระบบฐานข้อมูลโครงการทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี ได้กำหนดชื่อเว็บไซค์ http://pocs .moe.go.th ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เว็บไซค์ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของโครงการสาระสำคัญและความ เป็นมาของโครงการ แนวทางการดำเนินงาน ภาพกิจกรรม ปฏิทินทุนการศึกษา ซึ่งผู้เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจทั่วไปสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ได้ ส่วนที่ 2 ระบบฐานข้อมูลโครงการทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี เพื่อการบริหารจัดการข้อมูลนักเรียน นักศึกษา ผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาตามโครงการฯ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเรียกใช้ ข้อมูลได้ ผู้ปฏิบัติงานระดับสถานศึกษาโครงการทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารีจะเป็นผู้ ดำเนินการบันทึกข้อมูลรายบุคคล รายงานความก้าวหน้า


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              สามารถนำเสนอข้อมูลรายบุคคลของนักเรียนทุนและการรายงานความก้าวหน้าของนัก เรียนทุนและสามารถบันทึกรายบุคคลนักเรียนทุนใหม่และปรับปรุงข้อมูลรายบุคคล นักเรียนทุนเก่าให้เป็นปัจจุบัน ถูกต้อง สมบูรณ์ และระเบียบต่าง ของทุนๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การรายงานและติดตามผลการดำเนินงานการขออนุมัติทุนการศึกษา และการตรวจสอบข้อมูลโดยใช้ระบบสารสนเทศในการดำเนินงาน

(291)

การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ

การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ
ผู้บันทึก :  นางจรรยา ศรีมีชัย
  กลุ่มงาน :  งานปกครอง สวัสดิการ และแนะแนว
  ฝ่าย :  ฝ่ายกิจการนักศึกษา
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 19 พ.ค. 2553   ถึงวันที่  : 20 พ.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  ปทุมธานี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ
  วันที่บันทึก  7 ก.ค. 2553


 รายละเอียด
               การพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษาไทย : การศึกษาไทยมองเชิงมาตรฐานแล้วยังห่างไกล เพราะ เรามีปัญหาคุณภาพการจัดการศึกษา คุณภาพบัณฑิต ปริมาณและคุณภาพการวิจัย อุดมศึกษาไทยผลิตบัณฑิต ปริมาณไม่ตรงตามความต้องการ ยกเว้น พยาบาล แพทย์ การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเด็กไม่ได้เกิดการใฝ่รู้ การศึกษาขั้นพื้นฐานเรามีปัญหามาก มองรวม ๆ ไม่มองต้นเหตุ เราปฏิรูปทุกระดับในขณะทรัพยากรมีจำกัด เราจะทำอย่างไรให้การศึกษาระดับพื้นฐานได้พัฒนาด้วย การเกิดสถาบันอุดมศึกษาใหม่การเปิดสถานศึกษาเชื่อมโยงกับการเมือง ซึ่งอำนาจกับเงิน เนื้อร้ายแห่งการศึกษาไทย การจัดการศึกษาต้องมีคุณธรรมจริยธรรม มโนมติผู้จัดการศึกษา จริงจัง จริงใจต่อคุณภาพการศึกษา แนวทางการพัฒนาคือการส่งเสริมการศึกษาพื้นฐานในการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้การศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็นการส่งเสริมพัฒนา โดยให้ความสำคัญของการประกันคุณภาพภายใน เป็นการประเมินเพื่อการพัฒนา ซึ่งการนำผลการประเมินมาพัฒนายังทำไม่เป็นระบบ เช่น กรณีประเมินมีปัญหา มีกองทุนให้สถานศึกษาขอทันทีเพื่อการพัฒนา มีการสร้างครูพันธุ์ใหม่ : เป็นเรื่องที่รัฐต้องลงทุน โดยเฉพาะระดับประถม การรักษามาตรฐานคุณภาพอยู่ในมโนสำนึกของทุกคน อาจารย์เป็นปัจจัยสำคัญสุดของการประกันคุณภาพ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) : เป็นกรอบมาตรฐานให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลัก สูตร การจัดการเรียนการสอน และพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ และเพื่อประโยชน์ต่อการรับรองมาตรฐานคุณวุฒิในระดับอุดมศึกษา โดยมีเป้าหมาย” เน้นที่ผลผลิตการเรียนรู้ (learning outcome)” ด้านต่าง ๆดังนี้ คือ 1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย ซึ่งแต่ละด้านของผลผลิตการเรียนรู้จะสอดคล้องกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึง ประสงค์ TQF ที่ผลการประเมินคุณภาพภายในตามตัวบ่งชี้ที่กำหนดไว้สอดคล้องกับการประกัน คุณภาพภายใน จะต้องมีคะแนนเฉลี่ยระดับ “ดี” ขึ้นไป ต่อเนื่องกัน 2 ปี หลักสูตรจึงได้รับการเผยแพร่ สถาบันต้องมีคณะกรรมการประจำหลักสูตรอย่างน้อย 5 คน อาจารย์ 5 คนหลักมีความเชี่ยวชาญตรงสาขา สิ่งสถาบันต้องดำเนินการ 1.พัฒนาอาจารย์อย่างต่อเนื่อง ด้านวิชาการ วิธีการสอนและการวัดและประเมินผล 2.จัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอและมีคุณภาพ 3.ประเมินผลการเรียนรู้ ครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้ทุกด้านตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร 4.จัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาเป็นรายวิชา ประสบการณ์ภาคสนามทุกภาคการศึกษา และทุกปีการศึกษา 5.ติดตามตรวจสอบประเมินผลการดำเนินการ รายงานผลการจัดการศึกษาต่อสถาบันทุกปีการศึกษา 6. ประเมินและพัฒนาหลักสูตรอย่างน้อยทุก 5 ปี การประกันคุณภาพการศึกษา : องค์ประกอบตัวบ่งชี้ปีการศึกษา ๒๕๕๓ การเลือกกลุ่มการประเมิน วิทยาลัยพยาบาลอยู่ในกลุ่ม ข1 องค์ประกอบมี ๙ องค์ประกอบเหมือนเดิม เกณฑ์การประเมิน : ตัดเกณฑ์ระดับออก เนื่องจากมีปัญหาการประเมิน การเก็บข้อมูลในแต่ละตัวบ่งชี้มีทั้งช่วงเวลา ปีงบประมาณ ปีการศึกษา และปีพ.ศ. โดยเฉพาะวิจัยมีการประเมินตามปี พ.ศ. การประเมินระดับภายในวิทยาลัยมีประธานเป็นคนนอก และกรรมการภายนอกครึ่งหนึ่ง การประเมินภายในปีการศึกษา ๒๕๕๓ ใช้ E-SAR ทำคู่ไปกับ เอกสาร การประเมินโดย สมศ. ปี ๕๔ ผลงานปีการศึกษา ๒๕๕๓ และ ย้อนหลัง ๓ ปี ในหลายตัวบ่งชี้ โดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช เป็น ๑ ใน ๒๒ วิทยาลัยนำร่อง โดยในรอบ ๓ นี้ การประเมินภายในจะมีผลต่อสถาบันที่วิทยาลัยสมทบถ้าวิทยาลัยไม่ได้รับการ รับรองมหาวิทยาลัยจะไม่ได้รับการรับรองด้วย หมายเหตุ : ยกเลิกการประชุมช่วง ๑๕.๐๐ น. และวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ จากเหตุการณ์บ้านเมืองไม่สงบ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              – กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) – การประกันคุณภาพการศึกษา – การดำเนินงานกรรมการหลักสูตร


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              - การบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการในรายวิชาที่รับผิดชอบ – การประกันคุณภาพการศึกษา – กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)

(268)

ประชุมโครงการปัจฉิมนิเทศข้าราชการเกษียณอายุราชการ ประจำปี ๒๕๕๖ หลักสูตรที่ ๒.๑ รุ่นที่ ๔

ประชุมโครงการปัจฉิมนิเทศข้าราชการเกษียณอายุราชการ ประจำปี ๒๕๕๖ หลักสูตรที่ ๒.๑ รุ่นที่ ๔
บันทึก :  นางจิราภรณ์ กาญจนะ นางกอปรภรณ์ อัมพรพันธ์
  กลุ่มงาน :  งานบริหารทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 27 พ.ค. 2556   ถึงวันที่  : 31 พ.ค. 2556
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : 
  จังหวัด :  กาญจบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  ประชุมโครงการปัจฉิมนิเทศข้าราชการเกษียณอายุราชการ ประจำปี ๒๕๕๖ หลักสูตรที่ ๒.๑ รุ่นที่ ๔
  วันที่บันทึก  24 มิ.ย. 2556

 รายละเอียด
-เรียนรู้ด้านดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์องค์รวม(Holistic Medication)               -หลักโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ และสมุนไพรในชีวิตประจำวัน

               -การดูแลสุขภาพแบบการแพทย์ไคโรแพรติก

               -แนวทางการปฏิบัติตนให้มีความสุขหลังวัยเกษียณ

                ๑.๒ ความรู้เรื่องสวัสดิการและการคุ้มครองสิทธิประโยชน์

                 -กองทุนบำเหน็จข้าราชการ (กบข.

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
ความรู้ที่ได้นำไปปรับใช้ในการสร้างเสริมสร้างคุณภาพและเพิ่มคุณค่าของชีวิตภายหลังการเกษียณอายุ


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
สร้างเครือข่ายผู้เกษียณอายุราชการ

(260)