ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในศตวรรษที่ ๒๑

ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในศตวรรษที่ ๒๑

 ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในศตวรรษที่ ๒๑

            ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในศตวรรษที่ ๒๑ (พ.ศ. ๒๕๕๗- พ.ศ. ๒๕๖๑) ต้องการทำให้การศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพของประเทศไทยตั้งอยู่บนฐานความร่วมมือระหว่างระบบการจัดการศึกษาและระบบสุขภาพของประเทศ ด้วยการบริหารจัดการที่มีความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาและการจัดการศึกษา โดยมีการพัฒนาคุณภาพปละมีความสอดคล้องกับระบบสุขภาพอย่างต่อเนื่องด้วยการประกันคุฯภาพการศึกษา การจัดการความรู้ สรรค์สร้างและใช้นวัตกรรมในการจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บุคลากรด้านสุขภาพให้บริการเป็นทีมด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียม

เป้าประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์
          ๑.  Equity มีความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาและการจัดการศึกษา
๒.  Integration มีความร่วมมือระหว่างระบบการจัดการศึกษากับระบบสุขภาพ
๓.  Innovation มีนวัตกรรมและการวิจัยทั้งในด้านการจัดการศึกษาและการบริการ
๔.  Responsiveness and Relevancy มีแหล่งข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นและสอดคล้องกับวิถีแห่งสุขภาพและความต้องการของประชาชน
๕.  Humanistic health care มีการจัดการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

ดัชนีวัดความสำเร็จของแผนยุทธศาสตร์

Read the rest of this entry (1013)

การติดตามผลโครงการพัฒนาอาจารย์เพื่อการพัฒนานวตกรรมการจัดการเรียนการสอน

การติดตามผลโครงการพัฒนาอาจารย์เพื่อการพัฒนานวตกรรมการจัดการเรียนการสอน

วัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ทบทวนการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และ ๒) เพื่อวางแผนการดำเนินงานต่อ

๑.  ผลการทบทวนเกี่ยวกับแบบวัดผลการเรียน สรุปได้ดังนี้คือ
      ๑.๑) แบบวัดผลการเรียนควรประกอบด้วยความเป็นปรนัย (Objectivity) หมายถึงแบบวัดผลนั้นต้องเป็นแบบวัดผลที่ผู้ตอบทุกคนต้องไม่มีข้อคำถามถามต่อว่าใช่คำถามนี้แน่หรือไม่ หรือสามารถคิดเป็นแบบอื่นได้ นั่นคือข้อคำถามต้องชัดเจน ลดการตีความ หรือแย้งไม่ได้ และไม่ควรถามเชิงความคิดเห็น เช่น “กลไกการคลอดมีกี่ขั้นตอน” (คำตอบคือ ๘ ขั้นตอน) แต่คำถามนี้ถือว่ายังไม่มี Objectivity เพราะผู้ตอบสามารถคิดโต้แย้งได้ว่า หากไม่ใช่เป็นกลไกการคลอดปกติ จะตอบเป็นอย่างอื่นที่ไม่จำเป็นต้องครบ ๘ ขั้นตอนได้หรือไม่ หรือจะเป็นคำตอบที่ผิดหรือไม่ ดังนั้นคำถามหรือแบบวัดที่สมบูรณ์ต้องปรับเป็น “กลไกการคลอดปกติมีกี่ขั้นตอน” ซึ่งเมื่อทุกคนอ่านคำถามก็ทราบเหมือนกันทันทีว่าถามอะไร และต้องตอบอะไร

     ๑.๒) แบบวัดผลการเรียนควรประกอบด้วยความเที่ยง (Reliability)

Read the rest of this entry (445)

สัมมนาระดับชาติโรคเอดส์ ครั้งที่ ๑๔ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ครั้งที่ ๑

สัมมนาระดับชาติโรคเอดส์ ครั้งที่ ๑๔ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ครั้งที่ ๑

เป้าหมายของการสัมมนาครั้งนี้ เพื่อเป็นเวทีเรียนรู้  แลกเปลี่ยนวิชาการ เทคโนโลยี และประสบการณ์ในการดำเนินงานด้านโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สอดคล้องกับนโยบายระดับชาติที่ว่า ลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ลดการตาย รวมทั้งลดและแก้ปัญหาการตีตราผู้ติดเชื้อ เอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์  การนำเสนอผลการดำเนินการ ผลการศึกษาวิจัย และการจัดกิจกรรม แบ่งออกเป็น ๓ track ได้แก่

Read the rest of this entry (522)

Blooms Taxonomy และ VARK learning styles

Blooms Taxonomy และ VARK learning styles

Blooms Taxonomy และ VARK learning styles   โดย Mrs. ImkeNabben, Mr John van Lare

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นการใช้ Bloom’s Taxonomy
การเรียนรู้ประกอบด้วย 6 ระดับ ดังนี้
1. Remember
2. Understanding
3. Applying
4. Analyzing
5. Evaluating
6. Creating

        Bloom ได้แบ่งระดับการเรียนรู้ออกเป็น 6 ระดับ คือ การจำ การเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การประเมินค่า การพัฒนาความรู้ใหม่

การเรียนรู้ในระดับการจำ (Remembering) หมายถึง การเรียนที่ผู้เรียนสามารถบอกสิ่งที่เรียนรู้มาได้ คำถามที่ผู้สอนสามารถใช้ถามเพื่อให้เกิดการคิดในระดับการจำ คือ ใคร อะไร เมื่อไร ที่ไหน เป็นต้น

การเรียนรู้ในระดับการเข้าใจ (Understanding) หมายถึง การเรียนที่ผู้เรียนต้องมีความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน โดยสามารถอธิบายแนวคิด หรือ concept หรือเปรียบเทียบ สรุปสิ่งที่แตกต่าง แปลความหมาย ตีความได้คำถามที่ผู้สอนสามารถใช้ถามเพื่อให้เกิดการคิดในระดับการเข้าใจ คือ จงอธิบาย…………. จงยกตัวอย่าง ……………………. จงเปรียบเทียบ ………………………… จงสรุป …………………………..

การเรียนรู้ในระดับการนำไปใช้ (Applying) หมายถึง การที่ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้แก้ไขปัญหาสถานการณ์ที่แตกต่างกันได้ ซึ่งสามารถใช้กรณีศึกษาประกอบกับคำถาม เช่น จะแก้ปัญหาผู้ป่วยรายนี้อย่างไร จะประยุกต์ใช้ความรู้ในการพัฒนาหรือแก้ไขกรณีศึกษาอย่างไร

การเรียนรู้ในระดับการวิเคราะห์ (Analyzing) หมายถึง การที่ผู้เรียนสามารถใช้ความรู้ในการวิเคราะห์สิ่งที่ซับซ้อนหรือสิ่งที่ยุ่งยากได้ คำถามที่ผู้สอนใช้ถามเพื่อให้เกิดการคิดในระดับการวิเคราะห์ คือ ในกรณีศึกษาที่ได้รับผู้ป่วยมีปัญหาอะไร จงวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่าง …………… กับ ……………….

การเรียนรู้ในระดับการประเมินค่า (Evaluating) หมายถึง การเรียนที่ผู้เรียนสามารถตัดสินใจ และบอกเหตุผลหรือสะท้อนคิดในการกระทำนั้น ๆ ได้ คำถามที่ผู้สอนใช้ถามเพื่อให้เกิดการคิดในระดับประเมินค่า คือ บอกเหตุผลของการเลือกการกระทำนั้น ๆ ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันได้

การพัฒนาความรู้ใหม่ (Creating) ผู้เรียนสามารถคิดค้นความรู้ใหม่ สร้างสรรค์ หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ได้ คำถามที่ผู้สอนใช้ถามเพื่อให้เกิดการคิดในระดับการพัฒนาความรู้ใหม่ คือ อะไรคือสิ่งใหม่หรือความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น หรืออะไรคือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาขึ้น

          เหตุผลของการใช้ Bloom Taxonomy ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนและการกำหนด learning objective ใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร โดยใช้ในการเรียงเนื้อหาการเรียนโดยเริ่มจากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่ยาก โดยวางแผนการเรียนโดยเริ่มเรียนจากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่ยาก โดยวางแผนการเรียนสิ่งที่ง่ายในนักศึกระดับต้น ๆ และค่อยๆ ปรับการสอนให้เกิดการเรียนรู้ที่ยากขึ้นในชั้นปีที่สูงขึ้น  ดังนั้นการเรียนรู้เริ่มจากระดับ Remember และ Understanding เหมาะสมกับนักศึกษาปี 1 และ ปี 2 ส่วนระดับ Applying , Analyzing , Evaluating และ Creating เหมาะสมกับปี  3 และ ปี 4

จากนั้นอาจารย์แจกเอกสารเป็น Action Words for Broom’s Taxonomy   และอาจารย์ให้ทุกคนทดลองเขียนคำถามเป็นการบ้าน เพื่อฝึกหัดการตั้งคำถาม Bloom’s Taxonomy สำหรับการมอบหมายงานที่ได้รับ และให้ทำเป็นการบ้าน มีดังนี้
1. Write  down  three  question  for  yourself  for the  specific  level  which  are  suitable  for  your class.
2. Discuss afterward with your neighbor.

หลังจากนั้น Mrs. ImkeNabben ได้พูดความรับผิดชอบต่อคุณภาพการจัดการศึกษา (Accountable quality education) หมายถึง การรับประกันหรือแสดงให้คนอื่นทราบว่าการจัดการศึกษามีคุณภาพอย่างไร โดยผู้สอนจะต้องทราบว่าจะพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์อะไร และจะทำอย่างไรเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดผลลัพธ์นั้น ซึ่งการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพต้องครอบคลุมถึง
1. วิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน (The Four Learning Styles) ทำอย่างไรให้เกิดทักษะ การดู(Visual) การฟัง (Aural) การอ่าน (Reading/Writing) และลงมือทำ (Kinesthetic) หรือ VARK Learning Styles
2. วิธีการสอนใดที่ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้มากที่สุด/เหมาะสมกับเนื้อหามากที่สุด
3. ผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดในผู้เรียน อยู่ในระดับใด
4. สถานที่ ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด และจำนวนนักเรียนที่เหมาะสมกับการเรียน

สรุปสาระสำคัญ โครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านการจัดการเรียนการสอน ณ  Fontys University of Applied Science ประเทศเนเธอร์แลนด์ 22 พฤษภาคม 2556 (1465)

“Where do Fontys teachers teach and Where do Fontys students learn/study?”

“Where do Fontys teachers teach and Where do Fontys students learn/study?”

“Where do Fontys teachers teach and Where do Fontys students learn/study?” โดย Mr. John van Lare, Dr. John Scholtes

การจัดสถานที่และสภาพแวดล้อม รวมทั้งปัจจัยเกื้อหนุนที่มีผลต่อการจัดการเรียนการสอน

        ช่วงเช้าเมื่อเดินทางไปถึงมหาวิทยาลัย Fontys วิทยาเขต Venlo ได้แบ่งเป็นกลุ่มย่อย เพื่อเยี่ยมชมสถานที่ ซึ่งสามารถสรุปสาระจากการเยี่ยมชมมีดังนี้

1. student   service center   ชั้นล่าง เป็นศูนย์บริการนักศึกษา ทำหน้าที่เหมือนกับบัณฑิตวิทยาลัย ให้ความช่วยเหลือนักศึกษาที่มีปัญหา  เช่น  การเรียน การลงทะเบียน การขอเอกสาร เป็นต้น  เวลาการเปิดทำการ  8.30-17.00 น. นอกจากนี้มีส่วนของหนังสือสำหรับค้นคว้า ,  multimedia  center , computer  zone สำหรับบริการนักศึกษาในการสืบค้นข้อมูล ด้านการบริการที่ให้นักศึกษาเพิ่มเติม คือ บริการเต้าเสียบสำหรับผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับห้องเรียน เน้นการใช้สีสันสดใส เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้  มีห้องที่เป็นสัดส่วน สำหรับผู้ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว

2. ห้องต่างๆ
2.1 ห้องเรียน ทั้งแบบ small   group  สำหรับนักศึกษาจำนวน  3-4 คน , ห้อง  conference ขนาดเล็ก สำหรับให้คำแนะนำหรือคำปรึกษา 1 : 1 เรียกว่า ห้อง  Conference  IM  และห้อง Conference  ขนาดใหญ่เรียกว่า  ห้อง Cockpit  ซึ่งสามารถใช้  internet
2.2 Teacher training room ซึ่งใช้สำหรับ train ครูที่สอนในระดับ primary school ครูสามารถสอนได้เกือบทุกวิชา เช่น คณิตศาสตร์ ศิลปะ สังคม เป็นต้น

3. ห้อง work shop สำหรับนักศึกษา Engineer สำหรับออกแบบชิ้นงาน และร่วมกันประดิษฐ์ตามแบบ มีตู้โชว์สำหรับแสดงผลงานของนักศึกษาที่ประดิษฐ์ขึ้นมา

สรุปกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนสามารถเกิดขึ้นใน 3 พื้นที่ที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. พื้นที่โล่ง (Open area) ซึ่งมีโต๊ะพร้อม เก้าอี้ ที่วางเป็นจุด ๆ ในส่วนที่เป็นพื้นที่โล่งในอาคารนั้น มีการใช้ฉากกั้นเป็นสัดส่วน ทั้งนี้ ฉากที่ใช้นั้นได้รับตกแต่งอย่างสวยงามและมีสีสันที่น่าจะมีผลต่อการเรียนรู้ เช่น สีเขียวหัวเป็ด และ สีส้ม ในส่วนที่เป็นพื้นที่โล่งนอกอาคาร มีเก้าอี้ที่มีสีสันและน่าใช้

2. ห้องประชุมกลุ่มย่อย (Cockpit) ที่เป็นรูปทรงโค้ง ซึ่งอาจใช้เป็นทั้งที่ทำงานกลุ่มชองนักศึกษา หรือการพบปะระหว่างผู้เรียนและผู้สอน โดยที่ห้องทำงานของอาจารย์ก้อจะอยู่ในบริเวณใกล้เคียง เพื่อให้สะดวกต่อการพบกันของผู้เรียนและผู้สอน

3. ห้องเรียน  (Classroom)

สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ที่ตอบสนองต่อแนวคิด “การเรียนรู้เกิดได้ทุกที่” ได้แก่
1. ห้องสมุดและสื่อการเรียนการสอน
2. ห้องฝึกปฏิบัติการ ซึ่งมีอุปกรณ์และเครื่องมือที่พร้อมต่อการฝึกปฏิบัติ
3. สัญญาณอินเตอร์เน็ตที่ครอบคลุมทั้งในและนอกอาคาร
4. เก้าอี้ที่จัดไว้เหมือนบรรยากาศในห้องนั่งเล่น
5. มีสิ่งที่ตอบสนองต่อการความต้องการขั้นพื้นฐาน เช่น ตู้เครื่องดื่มและเครื่องทำกาแฟหยอดเหรียญ เป็นต้น

สรุปสาระสำคัญ โครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านการจัดการเรียนการสอน ณ  Fontys University of Applied Science ประเทศเนเธอร์แลนด์ 22 พฤษภาคม 2556

  (477)