ผู้บันทึก : นางนิศารัตน์ นรสิงห์, นางจรรยา ศรีมีชัย และ นางสาวจตุพร ตันตะโนกิจ | |
กลุ่มงาน : งานปกครอง สวัสดิการ และแนะแนว | |
ฝ่าย : ฝ่ายกิจการนักศึกษา | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุมเชิงปฏิบัติการ | |
เมื่อวันที่ : 12 ก.ย. 2553 ถึงวันที่ : 14 ก.ย. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก | |
จังหวัด : ขอนแก่น | |
เรื่อง/หลักสูตร : ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อถอดบทเรียนและสรุปผลการเรียนรู้ “นวัตกรรมจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ภายใต้ระบบครอบครัวเสมือน” | |
วันที่บันทึก 21 ก.ย. 2553 | |
|
|
รายละเอียด | |
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ภายใต้ระบบครอบครัวเสมือนโดยผู้อำนวยการ และ ตัวแทนอาจารย์ ๕ วิทยาลัย (พะเยา ขอนแก่น จักรีรัช ชลบุรี และนครศรีธรรมราช) เล่าถึงกิจกรรมครอบครัวเดียวกันของแต่ละวิทยาลัย และความรู้สึกที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า การเข้าร่วมกิจกรรมครอบครัว นักศึกษาทุกวิทยาลัยได้พัฒนาความรู้สึกด้านความรักสามัคคี ความอบอุ่นในครอบครัว กล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง ทำประโยชน์ต่อวิทยาลัยและสังคม ผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง โดยแต่ละวิทยาลัยมีรูปแบบการจัดกิจกรรมครอบครัวที่แตกต่างกัน โดยวพบ.พะเยานำแนวคิดครอบครัวไปใช้กับชุมชนภายนอกหลาย ๆ โครงการ วพบ. ขอนแก่นประสบการณ์ปีที่ 1 สร้างครอบครัวในวิทยาลัยเน้นการพัฒนาตนเองของสมาชิก ปีที่ 2 พัฒนากิจกรรมครอบครัวสู่จิตอาสา และปีที่ 3 นำแนวคิดออกสู่ชุมชน วพบ.ชลบุรีเน้นการสร้างความเข้าใจและความเข้มแข็งของสมาชิกในวิทยาลัยโดยการ กระบวนการจิตปัญญา วพบ.นครศรีธรรมราช เน้นการสร้างความเข้าใจของสมาชิกในวิทยาลัย พัฒนาตนเองของสมาชิก นำสู่การทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ใช้กิจกรรมเป็นตัวพัฒนาสมาชิก โดยทุก ๆ วิทยาลัยมีเป้าหมายคือ การสร้างบัณฑิตเพื่อให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยผ่านการเรียนรู้จากระบบครอบครัวเสมือน ซึ่งจะเป็นตัวกล่อมเกลาสมาชิก อย่างไรก็ตามในการดำเนินกิจกรรมครอบครัวทุก ๆ วิทยาลัยประสบปัญหาในด้านความเข้าใจที่ไม่สอดคล้องตรงกันของสมาชิกทุกระดับ ส่งผลให้มีปัญหาถึงความร่วมมือในการดำเนินงานที่ยังไม่ทั่วถึง ซึ่งมีวิธีการแก้ไขปัญหา โดยการทำความเข้าใจกับสมาชิกให้ชัดเจนขึ้น และมีการปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินการให้สอดคล้องกับความต้องการของสมาชิก เพื่อให้เกิดความร่วมมือมากขึ้น การนำแนวคิดครอบครัวและสุนทรียสนทนาขยายผลสู่การบริการวิชาการในชุมชน โดยการพัฒนาแกนนำในชุมชนให้มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับแนวคิดครอบครัวและ สุนทรียสนทนา เพื่อเป็นแกนในการถ่ายทอดสู่ชุมชนต่อไป
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
๑) การดำเนินโครงการภายใต้รั้วครอบครัวเดียวกัน ๒) ใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการ ทรัพยากร บุคลากร สิ่งแวดล้อม และหัวใจของความเป็นมนุษย์ มาใช้ให้เหมาะสมกับรายวิชาที่รับผิดชอบ ๓) พัฒนาความคิดและทัศนคติเกี่ยวกับนวัตกรรมการจัดการศึกษา ให้สอดคล้องกับบริบทของวิทยาลัย
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
๑) การดำเนินโครงการภายใต้รั้วครอบครัวเดียวกัน ๒) ใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการ ทรัพยากร บุคลากร สิ่งแวดล้อม และหัวใจของความเป็นมนุษย์ มาใช้ให้เหมาะสมกับรายวิชาที่รับผิดชอบ ๓) พัฒนาความคิดและทัศนคติเกี่ยวกับนวัตกรรมการจัดการศึกษา ให้สอดคล้องกับบริบทของวิทยาลัย |
(324)