ผู้บันทึก : นางจรรยา ศรีมีชัย | |
กลุ่มงาน : งานปกครอง สวัสดิการ และแนะแนว | |
ฝ่าย : ฝ่ายกิจการนักศึกษา | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 19 พ.ค. 2553 ถึงวันที่ : 20 พ.ค. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก | |
จังหวัด : ปทุมธานี | |
เรื่อง/หลักสูตร : การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ | |
วันที่บันทึก 7 ก.ค. 2553 | |
|
|
รายละเอียด | |
การพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษาไทย : การศึกษาไทยมองเชิงมาตรฐานแล้วยังห่างไกล เพราะ เรามีปัญหาคุณภาพการจัดการศึกษา คุณภาพบัณฑิต ปริมาณและคุณภาพการวิจัย อุดมศึกษาไทยผลิตบัณฑิต ปริมาณไม่ตรงตามความต้องการ ยกเว้น พยาบาล แพทย์ การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเด็กไม่ได้เกิดการใฝ่รู้ การศึกษาขั้นพื้นฐานเรามีปัญหามาก มองรวม ๆ ไม่มองต้นเหตุ เราปฏิรูปทุกระดับในขณะทรัพยากรมีจำกัด เราจะทำอย่างไรให้การศึกษาระดับพื้นฐานได้พัฒนาด้วย การเกิดสถาบันอุดมศึกษาใหม่การเปิดสถานศึกษาเชื่อมโยงกับการเมือง ซึ่งอำนาจกับเงิน เนื้อร้ายแห่งการศึกษาไทย การจัดการศึกษาต้องมีคุณธรรมจริยธรรม มโนมติผู้จัดการศึกษา จริงจัง จริงใจต่อคุณภาพการศึกษา แนวทางการพัฒนาคือการส่งเสริมการศึกษาพื้นฐานในการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้การศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็นการส่งเสริมพัฒนา โดยให้ความสำคัญของการประกันคุณภาพภายใน เป็นการประเมินเพื่อการพัฒนา ซึ่งการนำผลการประเมินมาพัฒนายังทำไม่เป็นระบบ เช่น กรณีประเมินมีปัญหา มีกองทุนให้สถานศึกษาขอทันทีเพื่อการพัฒนา มีการสร้างครูพันธุ์ใหม่ : เป็นเรื่องที่รัฐต้องลงทุน โดยเฉพาะระดับประถม การรักษามาตรฐานคุณภาพอยู่ในมโนสำนึกของทุกคน อาจารย์เป็นปัจจัยสำคัญสุดของการประกันคุณภาพ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) : เป็นกรอบมาตรฐานให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลัก สูตร การจัดการเรียนการสอน และพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ และเพื่อประโยชน์ต่อการรับรองมาตรฐานคุณวุฒิในระดับอุดมศึกษา โดยมีเป้าหมาย” เน้นที่ผลผลิตการเรียนรู้ (learning outcome)” ด้านต่าง ๆดังนี้ คือ 1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย ซึ่งแต่ละด้านของผลผลิตการเรียนรู้จะสอดคล้องกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึง ประสงค์ TQF ที่ผลการประเมินคุณภาพภายในตามตัวบ่งชี้ที่กำหนดไว้สอดคล้องกับการประกัน คุณภาพภายใน จะต้องมีคะแนนเฉลี่ยระดับ “ดี” ขึ้นไป ต่อเนื่องกัน 2 ปี หลักสูตรจึงได้รับการเผยแพร่ สถาบันต้องมีคณะกรรมการประจำหลักสูตรอย่างน้อย 5 คน อาจารย์ 5 คนหลักมีความเชี่ยวชาญตรงสาขา สิ่งสถาบันต้องดำเนินการ 1.พัฒนาอาจารย์อย่างต่อเนื่อง ด้านวิชาการ วิธีการสอนและการวัดและประเมินผล 2.จัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอและมีคุณภาพ 3.ประเมินผลการเรียนรู้ ครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้ทุกด้านตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร 4.จัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาเป็นรายวิชา ประสบการณ์ภาคสนามทุกภาคการศึกษา และทุกปีการศึกษา 5.ติดตามตรวจสอบประเมินผลการดำเนินการ รายงานผลการจัดการศึกษาต่อสถาบันทุกปีการศึกษา 6. ประเมินและพัฒนาหลักสูตรอย่างน้อยทุก 5 ปี การประกันคุณภาพการศึกษา : องค์ประกอบตัวบ่งชี้ปีการศึกษา ๒๕๕๓ การเลือกกลุ่มการประเมิน วิทยาลัยพยาบาลอยู่ในกลุ่ม ข1 องค์ประกอบมี ๙ องค์ประกอบเหมือนเดิม เกณฑ์การประเมิน : ตัดเกณฑ์ระดับออก เนื่องจากมีปัญหาการประเมิน การเก็บข้อมูลในแต่ละตัวบ่งชี้มีทั้งช่วงเวลา ปีงบประมาณ ปีการศึกษา และปีพ.ศ. โดยเฉพาะวิจัยมีการประเมินตามปี พ.ศ. การประเมินระดับภายในวิทยาลัยมีประธานเป็นคนนอก และกรรมการภายนอกครึ่งหนึ่ง การประเมินภายในปีการศึกษา ๒๕๕๓ ใช้ E-SAR ทำคู่ไปกับ เอกสาร การประเมินโดย สมศ. ปี ๕๔ ผลงานปีการศึกษา ๒๕๕๓ และ ย้อนหลัง ๓ ปี ในหลายตัวบ่งชี้ โดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช เป็น ๑ ใน ๒๒ วิทยาลัยนำร่อง โดยในรอบ ๓ นี้ การประเมินภายในจะมีผลต่อสถาบันที่วิทยาลัยสมทบถ้าวิทยาลัยไม่ได้รับการ รับรองมหาวิทยาลัยจะไม่ได้รับการรับรองด้วย หมายเหตุ : ยกเลิกการประชุมช่วง ๑๕.๐๐ น. และวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ จากเหตุการณ์บ้านเมืองไม่สงบ
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
– กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) – การประกันคุณภาพการศึกษา – การดำเนินงานกรรมการหลักสูตร
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
- การบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการในรายวิชาที่รับผิดชอบ – การประกันคุณภาพการศึกษา – กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) |
(269)