การพัฒนาอาจารย์เพื่อพัฒนาความคิดและการเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

การพัฒนาอาจารย์เพื่อพัฒนาความคิดและการเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ผู้บันทึก :  นางจรรยา ศรีมีชัย และนางสาวมัลลี อุตตมางกูร
  กลุ่มงาน :  งานปกครอง สวัสดิการ และแนะแนว
  ฝ่าย :  ฝ่ายกิจการนักศึกษา
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 17 พ.ค. 2553   ถึงวันที่  : 19 พ.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  สงขลา
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนาอาจารย์เพื่อพัฒนาความคิดและการเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
  วันที่บันทึก  24 มิ.ย. 2553


 รายละเอียด
               ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการประชุมครั้งนี้มีดังนี้ ๑. จุดเน้นในการปรับแนวความคิดและทัศนคติของนักศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย เสริมสร้างสันติสุขและแผนพัฒนาพื้นที่พิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๒. การสร้างความเข้าใจและทัศนคติเชิงบวกในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ๓. การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในประเด็นคำสอนศาสนา ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ สิทธิเสรีภาพ ของพลเมืองไทย และการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม ๔. การพัฒนาอาจารย์เพื่อพัฒนาความคิดและการสร้างสันติสุข สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชายแดนภาคใต้เกิดจากโรคความคิดความเชื่อความเข้าใจ ที่ไม่ ถูกต้องในเรื่อง * ชาติพันธุ์ * ประวัติศาสตร์ * หลักคำสอนทางศาสนา เกิดความคิดความเชื่อรับรู้ได้ถึงความ อยุติธรรม ดูถูก กดขี่ ข่มเหง ไม่ได้รับโอกาส จึงต้องมีการจัดการ นักศึกษาพยาบาลจากโครงการผลิตพยาบาลสามพันคนรัฐบาลมีเป้าหมายเพื่อให้เยาวชน ได้มีโอกาสทางการศึกษาจะได้กลับไปทำงานในพื้นที่ของตัวเองที่โรงพยาบาลชุมชน และสถานีอนามัยเป็นพยาบาลที่ดีมีคุณภาพในการดูแลป้องกันสุขภาพ และเป็นโอกาสในการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้น ซึ่งก่อนสำเร็จการศึกษา นักศึกษาต้องได้รับรู้ความจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับ* ชาติพันธุ์ * ประวัติศาสตร์ * หลักคำสอนทางศาสนา เกิดความคิดความเชื่อมีมุมมองเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในเชิงบวก และเข้าใจหลักคำสอนศาสนาอย่างแท้จริง ส่วนการดูแลนักศึกษาทางวิทยาลัยเน้นการสอน ให้ความรัก เมตตา ให้การดูแล เข้าใจในตัวนักศึกษาที่เขาเป็นคนไทย เชื้อสายมาลายู นับถือศาสนาอิสลาม เป็นมุสลิม(บางคน)พูดภาษามาลายูได้ชัด(พูดภาษาไทยไม่ชัด ) ซึ่งทุกคนคือ พลเมืองไทยเหมือนกัน ชาติเดียวกัน แต่นับถือศาสนาต่างกัน ๕. การศึกษาดูงานนอกสถานที่ ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน จังหวัดสตูล โดยอาจารย์มัลลี อุตตมางกูร พบว่า การที่นักศึกษาไปฝึกประสบการณ์ในพื้นที่จะได้เรียนรู้ถึงการทำงานของเจ้า หน้าที่ในชุมชน จากการลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมนักศึกษาในโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มฯฝึก ประสบการณ์ เพิ่มเติมในภูมิลำเนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควน โดน จังหวัดสตูลพบนักศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช คือนางสาวขัตติยา โต๊ะเร๊ะ บ้านอยู่ห่างจากที่ฝึกประมาณ 18 กิโลเมตรจากการซักถามนักศึกษาเล่าว่าสามารถปรับตัวได้ พี่เลี้ยงตั้งใจดูแลให้ความรู้ดี มีการประสานงานระหว่างสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูลกับสถานที่ฝึกเพื่อดูแล นักศึกษาโดยการวางแผนเตรียมความรู้ให้กับนักศึกษาก่อนฝึกภาคปฏิบัติ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              – การพัฒนาความคิด ทัศนคติของนักศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ – การพัฒนาอาจารย์ที่ดูแลนักศึกษาให้มีแนวคิดการสร้างสันติสุข ในจังหวัดชายแดนภาคใต้


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การพัฒนาความคิดของอาจารย์เพือพัฒนาความคิดของนักศึกษาในการสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้

(264)

Comments are closed.