โครงการอบรมเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรผู้รับผิดชอบงานเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

โครงการอบรมเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรผู้รับผิดชอบงานเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ผู้บันทึก :  นางปวันณัฐ จันทร์ภักดี
  กลุ่มงาน :  งานบริหารทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 21 พ.ค. 2555   ถึงวันที่  : 22 พ.ค. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  จังหวัด :  พระนครศรีอยุธยา
  เรื่อง/หลักสูตร :  โครงการอบรมเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรผู้รับผิดชอบงานเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
  วันที่บันทึก  10 ต.ค. 2555

 รายละเอียด
 มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เช่น กฎหมาย ระเบียบ ข้อ บังคับ และมติคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต รวมทั้งกลวิธีในการเสริมสร้างราชการใสสะอาดและการดำเนินการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตได้แลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์ และเข้าร่วมเป็นเครือข่ายและเป็นศูนย์กลางในการติดต่อประสานและการดำเนินการ งานตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐของสำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข

ได้รับทราบปัญหาที่ตรวจสอบภายในตรวจพบบ่อย ๆ และสามารถนำมาปรับใช้และเป็นข้อสังเกตได้คือ

                                ข้อสังเกตด้านการเงิน

-                   เงินขาดบัญชี/เกินบัญชี

-                   ไม่นำเงินเก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยของทางราชการ

-                   ไม่มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเก็บรักษาเงิน

-                   กรรมการเก็บรักษาเงินไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง/ระเบียบ

-                   คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเก็บรักษาเงิน/เมื่อเปลี่ยนผู้บริหารใหม่ไม่แก้ไขปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน

-                   เงินงบประมาณเบิกจากคลังยังไม่ได้จ่ายหรือจ่ายไม่หมดไม่นำส่งคืนคลังหลังครบกำหนด ภายใน  ๑๕ วัน

-                   เงินรายได้แผ่นดินนำส่งคลังล่าช้า

-                   ไม่ได้ตรวจสอบจำนวนเงินที่ได้รับกับสำเนาใบเสร็จรับเงิน

-                   เงินรับฝากค้างนานไม่จ่ายคืน/ไม่นำส่ง

-                   เช็คเขียนสั่งจ่ายไม่ถูกต้อง

-                   ไม่จัดทำรายงานการใช้ใบเสร็จรับเงินเมื่อสิ้นปีงบประมาณเสนอต่อหัวหน้าส่วนราชการ

-                   ไม่จัดทำทะเบียนคุมหลักฐานขอเบิก

-                   ไม่จัดทำทะเบียนคุมการจ่ายเช็ด

-                   เงินฝากธนาคารพาณิชย์เกินวงเงินที่ระเบียบกำหนดไม่นำเงินส่วนที่เกินฝากคลัง

-                   รับเงินแทนไม่มีใบมอบฉันทะ

-                   ใบเสร็จรับเงินที่เหลือ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ไม่เจาะรู เลิกใช้

-                   เรียกใบเสร็จก่อนจ่ายเงิน

-                   ไม่ประทับตราจ่ายเงินแล้ว จ่ายซ้ำ

-                   เจ้าหน้าที่การเงิน/บัญชีเป็นคน ๆ เดียวกัน (ต้องแยกจากกันโดยเด็ดขาด)

                                ข้อสังเกตด้านยืมเงิน

                                -    สัญญายืมเงินไม่ระบุวันครบกำหนด(หลังจากประชุม/อบรม/ภายใน ๑๕ วัน

                                -    การนับวันครบกำหนดส่งใช้คืนเงินยืมไม่ถูกต้อง

                                -    การส่องชำระหนี้เงินยืมไม่ออกใบรับใบสำคัญ

                                -   ไม่สลักด้านหลังสัญญายืมเงิน เมื่อส่งชำระคืนเงินยืม

                                -   ไม่จัดทำรายละเอียดลูกหนี้ค้างชำระ

-  สัญญายืมเงินบางฉบับไม่สมบูรณ์ เช่น ไม่มีลายมือชื่อผู้ยืม ผู้อนุมัติ ผู้จ่ายเงิน ผู้รับเงินและ   ไม่ระบุวันที่

                                -  จ่ายเงินยืมซ้ำราย

                                -  การเดินทางเป็นหมู่คณะไม่มีประมาณการเงินยืมรายบุคคล

                                -  กรณี  การคืนใบสำคัญจ่าการยืมเงินให้เจ้าหน้าที่การเงินลงรับการคืนเงินทันที

- ผู้ยืมรายนั้นจะยืมต่อได้เลย โดยใบสำคัญที่ส่งยังไม่ได้ตรวจว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้อง  ก็เรียกมาดำเนินการให้ถูกต้อง

                                ข้อสังเกตด้านใบสำคัญ

-                   การขออนุญาตเดินทางไปราชการไม่ครอบคลุมวันเดินทาง

-                   กรณีเดินทางโดยรถยนต์ส่วนกลาง ไม่ระบุชื่อพนักงานขับระและหมายเลขทะเบียน

รถยนต์

-                   เอกสารประกอบใบสำคัญไม่สมบูรณ์   เช่น  ไม่ลงลายมือชื่อผู้รับเงิน ผู้จ่ายเงิน วันที่

-                   ใบส่งของ,ใบแจ้งหนี้ ,  ใบเสร็จรับเงินไม่ลงวันที

-                   ใบสำคัญรับเงินไม่ลงวันที่ ไม่ลงชื่อผู้รับเงิน ผู้จ่ายเงิน

-                   ค่ารักษาพยาบาลเกินสิทธิ์

-                   ไม่มีสำเนาโครงการและกำหนดการประชุมแนบเอกสารเบิก จ่าย

ข้อสังเกตดานการบัญชี

-                   ใบสำคัญการลงบัญชี

     -  คำอธิบายไม่มี/มีแต่ไม่ชัดเจน

            -  ไม่แนบเอกสารประกาบการลงบัญชี

            -  ช่องผู้จัดทำ  ผู้สอบทาน ผู้อนุมัติ ไม่มีลายมือชื่อ

            -  ใบสำคัญการลงบัญชีจัดทำในโปรแกรมสำเร็จรูป ไม่ได้พิมพ์ออกมา

-      สมุดรายวันขั้นต้นไม่พิมพ์ออกมาเพื่อใช้ตรวจสอบตามระบบบัญชี

-      เอกสารใบบันทึกบัญชีไม่ได้จัดเก็บไว้ที่ฝ่ายบัญชี

-      งบการเงิน ณ วันสิ้นปี  ๓๐  กันยายนทุกปี ไม่มีหมายเหตุประกอบงบการเงิน

-       การบันทึกบัญชีไม่ถูกต้อง

-       การบันทึกบัญชีไม่เป็นปัจจุบัน

-       การจัดทำบัญชีไม่ครบถ้วน

-       การบันทึกรายการไม่ตรงกับหลักฐาน

-       งบกระทบยอดเงินฝากธนาคารจัดทำล่าช้า ไม่ได้จัดทำ จัดทำไม่ถูกต้อง

-       ไม่เสนอรายงานทางการเงินให้ผู้บริหารลงนามเห็นชอบทุกเดือน

ข้อสังเกตด้านระบบบัญชี  GFMIS

-       คำสั่งมอบหมายการปฏิบัติหน้าที่ในระบบ  GFMIS   ไม่มี,ไม่เป็นปัจจุบัน

-        รายงานประจำเดือนจากระบบ GFMIS ส่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ภายใน

๑๕  วัน  ของเดือนถัดไป

                                -        ไม่จัดทำทะเบียนคุมเลขที่ได้จากระบบ GFMIS  เช่น ทะเบียน คุม ขบ., ขจ., บส.

                                -         งบการเงินในระบบเกณฑ์คงค้างกับระบบ  GFMIS   ยังไม่ตรงกัน

                                -         บัญชีพักสินทรัพย์ยังมิได้ดำเนินการกลับรายการเป็นรายการสินทรัพย์

                                ข้อสังเกตด้านพัสดุ

-                   การบริหารพัสดุ

-                   ไม่มีการจัดทำแผนการจัดซื้อ/จัดจ้าง

-  ไม่สำรวจความต้องการในการใช้พัสดุ

-   แต่งตังหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ  หัวหน้าหน่วยพัสดุ และเจ้าหน้าที่พัสดุ ไม่เป็นปัจจุบัน

-     คณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปี และคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็น

 ชุดเดียวกัน

-                   แต่งตั้งลูกจ้างชั่วคราวเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ

-                   ใบเบิกวัสดุไม่มีลายมือชื่อผู้เบิก / ผู้อนุมัติ/ ผู้จ่าย/ผู้รับพัสดุ

-                   แต่งตั้งคณะกรรมการาตรวจรับพัสดุเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ความชำนาญในด้านนั้น ๆ

-                   จัดซื้อพัสดุเกินความจำเป็น / เคลื่อนไหวช้า

-                   ทำบัญชีวัสดุ / ทะเบียนคุมทรัพย์สิน ไม่ถูกต้องครบถ้วน และไม่เป็นปัจจุบัน

-                   ไม่ให้หมายเลขประจำตัวครุภัณฑ์

-                   มีวัสดุขาด / เกินบัญชี

-                   การจัดเก็บรักษาพัสดุไม่เป็นระเบียบ

-                   ตรุภัณฑ์สูญหาย / ชำรุด ไม่ดำเนินการตามระเบียบ

-                   ไม่แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปี

-                   ผู้ได้รับแต่งตั้งไม่ปฏิบัติหน้าที่ / ปฏิบัติหน้าที่ไม่ครบถ้วน

-                   ไม่จัดทำรายงานตรวจสอบพัสดุประจำปี

ข้อสังเกตการณ์จัดซื้อจัดจ้าง

                                วิธีตกลงราคา

-                   ใบสั่งซื้อไม่กำหนดระยะเวลาส่งมอบพัสดุ และไม่กำหนดระยะเวลาประกันพัสดุ

-                   การจัดซื้อ/จัดจ้าง ตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐  บาทขึ้นไป แต่งตั้งกรรมการไม่ครบ (ถ้าไม่ถึง ๑๐,๐๐๐.- บาท ตั้งกรรมการ  ๑  คนได้

-                   ทำการจัดซื้อ/จัดจ้างภายหลัง

-                   ไม่ระบุวันที่ในใบส่งของ/ใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงิน

วิธีตกลงราคา/ประกวดราคา

-                   กำหนดเวลาขาย/ให้เอกสาร น้อยกว่าระเบียบกำหนด

-                   ทำเอกสารประกอบ/ประกวดราคาไว้จำนวนไม่เพียงพอกับผู้ต้องการ

-                   ไม่ยอมขาย/ให้เอกสารสอบ/ประกวดราคา ซึ่งยังไม่หมดระยะเวลา

-                   ส่งประกาศประกวดราคา ไม่เผยแพร่ ไม่ทั่วถึง หรือไม่ส่ง

-                   ส่งประกาศไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามกำหนดเวลาที่ระเบียบกำหนด

-                   ไม่ปิดประกาศสอบราคา/ประกวดราคา ณ ที่ทำการ/ปิดแต่น้อยกว่าระยะเวลากำหนด

-                   หมดเวลารับซองแล้วยังมีการรับซอง

-                   ไม่ต่อรองราคา ผู้เสนอราคาสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อ/จ้าง (ผู้ที่ได้ราคาต่ำสุดก็ต้องต่อรอง

-                   ไม่ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาว่าเป็นไปตามเงื่อนไข

-                   ไม่ประกาศทางเวปไซด์

ข้อสังเกตจาการทำสัญญา

-                   แบบของสัญญาไม่เป็นไปตามระเบียบ  /  แบบที่ กวพ.กำหนด

-                   สัญญาไม่ระบุรายละเอียดของปริมาณงานที่ค้าง

-                   เงื่อนไขในสัญญาไม่ตรงกับที่ระบุไว้ในประกาศสอบ / ประกวดราคา

-                   ตอดอากรแสตมป์ไม่เป็นไปตามประมวลรัษฎากร

-                   ไม่ใช้ใบสลักหลังตราสาร  แต่กลับใช้อากรแสตมป์แทนในกรณีวงเงินจัดจ้าง ตั้งแต่ ๒๐๐,๐๐๐.- บาทขึ้นไป

-                   หนังสือค้ำประกันของธนาคารมิได้ระบุเลขที่และวันที่ของสัญญา

-                   เวปไซด์ กรมบัญชีกลาง มีตัวอย่างสัญญา

-                   ไม่ได้จัดทำทะเบียนคุมหลักประกันสัญญา

-                   คืนหลักประกันสัญญาให้ผู้รับจ้างก่อนครบกำหนด / ก่อนพ้นข้อผูกพันตามสัญญา

-                   ไม่เรียกผู้ขาย/ผู้รับจ้าง เข้าดำเนินการแก้ไขในช่วงระยะเวลาประกันความชำรุดบกพร่อง

-                   ไม่ส่งสำเนาสัญญา/  ข้อตกลง ตั้งแต่  ๑  ล้านบาท ให้สตง. และสรรพากรภายใน ๓๐ วัน นับจากลงนามหรือส่งให้แต่ล่าช้ากว่ากำหนด

-                   ผู้ขาย / ผู้รับจ้างส่งมอบล่าช้า ไม่มีการแจ้งการปรับตามสัญญา

-                   อนุมัติให้ขยายเวลา / ต่ออายุสัญญา โดยไม่มีเหตุผลสมควรถูกต้องตามความเป็นจริง

-                   ไม่จัดทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม / บันทึกแนบท้ายสัญญา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายที่จัดซื้อ  / จัดจ้าง

-                   คณะกรรมการตรวจรับ / ตรวจการจ้างขาดความรอบคอบไม่ใส่ใจต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

-                   ไม่ทำทะเบียนครุภัณฑ์หลังการตรวจรับเรียบร้อยแล้ว

ข้อสังเกตยานพาหนะ

-                   ใบขออนุญาตใช้รถยนต์ (แบบ ๓) ไม่ระบุหมายเลขทะเบียนรถ และชื่อพนักงานขับรถ

-                   ใบขออนุญาตใช้รถยนต์ (แบบ ๓)  กับสมุดบันทึกการใช้รถ (แบบ ๔) ไม่ถูกต้องตรงกัน

-                   ไม่จัดทำทะเบียนคุมการใช้น้ำมันเชื่อเพลิง

-                   ไม่จัดทำทะเบียนคุมการซ่อมแซมรถยนต์

-                   การขอใช้รถยนต์ราชการ  ติดต่อราชการในจังหวัดให้เขียนใบเดียวได้  แต่พนักงานขับรถยนต์  ต้องเขียนรายละว่าติดต่อราชการกี่แห่ง ในวันนั้นให้สัมพันธ์กับเข็มไมล์ท


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
นำผลการพัฒนาไปใช้ประโยชน์บุคลากรในหน่วยงานรับเพื่อปฏิบัติตามระเบียบ โดยเคร่งครัด


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตรวม ทั้งกลวิธีในการเสริมสร้างราชการใสสะอาดและการดำเนินการป้องกันและปราบปราม การทุจริตและได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์ เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและเสริมสร้างราชการให้ใสสะอาดและ สามารถนำไปปรับใช้กับงานถ่ายทอดผู้ร่วมงานมีความรู้ ความเข้าใจได้ดีขึ้น

(293)

Comments are closed.