ผู้บันทึก : นางมณฑิรา มังสาทอง และคณะ | |
กลุ่มงาน : งานวิจัยและผลงานวิชาการ | |
ฝ่าย : ฝ่ายส่งเสริมวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 26 มิ.ย. 2555 ถึงวันที่ : 29 มิ.ย. 2555 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก | |
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร | |
เรื่อง/หลักสูตร : การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในมุมมองต่าง ๆ | |
วันที่บันทึก 10 ต.ค. 2555 | |
|
|
รายละเอียด | |
การ เขียนโครงร่างการวิจัยที่ถูกต้องตามหลักการเพื่อการสนับสนุนทุนวิจัย เริ่มจากชื่อโครงการวิจัย ต้องตั้งชื่อให้เป็นวิจัย ไม่แคบหรือกว้างเกินไป ไม่ตื้นหรือลึกเกินไป ให้สะท้อนว่าเป็นการวิจัยประเภทใด และต้องเป็นไปได้ว่าจะวิจัยได้สำเร็จ
ส่วน การเขียนโครงร่างการวิจัย แบ่งออกได้เป็น ๒ ส่วน คือ ส่วน ก. องค์ประกอบของข้อเสนอโครงการวิจัย และส่วน ข. ประวัติคณะผู้วิจัยดังรายละเอียดต่อไปนี้ ส่วน ก. องค์ประกอบของข้อเสนอโครงการวิจัย ๑. ผู้รับผิดชอบโครงการวิจัย ต้องระบุ หัวหน้าโครงการวิจัย ผู้ร่วมวิจัย ที่ปรึกษาโครงการ หน่วยงานหลัก และหน่วยงานสนับสนุน ๒. ประเภทการวิจัย ระบุประเภทการวิจัยเพียง ๑ ประเภท ได้แก่ การวิจัยพื้นฐาน (Basic research) การวิจัยประยุกต์ (Applied research) และการวิจัยเพื่อพัฒนาทดลอง(Experimental development) ๓. คำสำคัญ (Keyword) ของการวิจัย ต้องระบุคำสำคัญ ที่มีความสำคัญต่อชื่อเรื่องหรือเนื้อหาของเรื่องที่ทำการวิจัย ๔. ความสำคัญ และที่มาของปัญหาวิจัย ต้องเขียนเชื่อมโยงเป็นเหตุเป็นผล และแสดงให้เห็นถึงความสำคัญที่จำเป็นต้องทำวิจัยเรื่องนี้ ส่วนการอ้างอิงในเนื้อหาไม่ต้องมาก แต่ในการอ้างแต่ละครั้งต้องมีน้ำหนัก และต้องจบลงด้วย statement of problem ๕. วัตถุประสงค์ของการวิจัย ต้องระบุให้ชัดเจน ซึ่งวัตถุประสงค์ก็คือปัญหารองของการวิจัย และต้องเขียนให้เป็นวัตถุประสงค์เชิงวิจัย มีการเรียงลำดับตามความสำคัญเป็นข้อ ๆ ที่สำคัญต้องระวังในการเขียนวัตถุประสงค์ ไม่ใช่ประโยชน์ของการวิจัย ๖. ขอบเขตของการวิจัย เป็นการเขียนระบุขอบเขตของการวิจัยในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพที่ไม่สามารถระบุโดยตรงในชื่อ หรือวัตถุประสงค์การวิจัยได้ (เช่น กลุ่มเป้าหมาย ตัวแปร ระยะเวลา หรือ เนื้อหา วิธีการในการวิจัย) ๗. ทฤษฎี สมมุติฐาน และ/หรือกรอบแนวคิดของการวิจัย ๘. การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ ต้องเชื่อมโยงกับประเด็นการวิจัย มีโครงสร้างการนำเสนอ วิธีการนำเสนอ และการอ้างอิงในการเสนอวรรณกรรม ๙. เอกสารอ้างอิงของการวิจัย ต้องระบุตามระบบสากล ให้มีจริงตามที่อ้าง และให้อ้างจริงตามที่มี พยายามดูความเก่าใหม่ของเอกสารที่นำมาอ้างด้วย นอกจากนี้สิ่งที่ไม่ควรนำมาอ้าง คือ บทคัดย่อ ๑๐. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ แนวการเขียนก็คือ หลังจากได้ผลวิจัยแล้ว ไม่ใช่วัตถุประสงค์ เขียนเป็นแนวทางการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ กลุ่มเป้าหมายที่จะนไปใช้ประโยชน์ได้ และผลกระทบที่เกิดกับกลุ่มเป้าหมาย ๑๑. แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือผลการวิจัยไปสู่กลุ่มเป้าหมายเมื่อสิ้นสุดการวิจัย ควรระบุกลุ่มเป้าหมาย วิธีการถ่ายทอด ระยะเวลา สถานที่ ๑๒. วิธีดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล ๑๓. ระยะเวลาทำวิจัย และแผนการดำเนินงานตลอดโครงการวิจัย แผนการดำเนินงานต้องชัดเจน มีการระบุเวลาที่ชัดเจน และเป็นไปได้ นอกจากนี้ต้องแนบ Gantt chart มาด้วย ๑๔. ปัจจัยที่เอื้อต่อการวิจัยที่มีอยู่ เช่นห้องทดลอง เครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ ๑๕. งบประมาณของโครงการวิจัย ต้องแสดงรายละเอียดงบประมาณเฉพาะปีที่เสนอขอ เขียนแยกให้ชัดเจนตามหมวดต่าง ๆ สำหรับค่าธรรมเนียมการอุดหนุนสถาบันต้องไม่เกิน 10% นอกจากนี้การเขียนของบประมาณต้องมีความเหมาะสม เป็นไปได้ ไม่ซ้ำซ้อน ๑๖. ผลสำเร็จ ความคุ้มค่าของการวิจัยฯ ต้องระบุผลสำเร็จเบื้องต้น ผลสำเร็จกึ่งกลาง และผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ ส่วน ข. ประวัติคณะผู้วิจัย ๑. ชื่อ – นามสกุล (ภาษาไทย)/ ชื่อ – นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)/หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน/ตำแหน่งปัจจุบัน/หน่วยงานและสถานที่อยู่ ที่ติดต่อได้สะดวก ๒. ประวัติการศึกษา/สาขาวิชาที่มีความชำนาญพิเศษ/ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิจัย หลังจากนี้ยังต้องมี หัวข้อต่าง ๆ ต่อไปนี้ด้วยตามลำดับ คือ - ข้อเสนอฯ ได้นำไปเสนอต่อแหล่งทุนอื่น(ด้วยหรือไม่) - คำชี้แจงอื่น ๆ - หนังสือรับรองการเป็นที่ปรึกษาของโครงการวิจัย - ลงลายมือชื่อหัวหน้าโครงการ |
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
นำ ความรู้ที่ได้จากการไปประชุมไปใช้ในการเขียนโครงร่างการวิจัยที่ถูกต้อง เพื่อขอสนับสนุนทุนวิจัยจากภายนอก จะสามารถทำให้บรรลุเกณฑ์การประเมินคุณภาพของวิทยาลัยในประเด็นเงินทุนสนับ สนุน
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
พัฒนา สมรรถนะด้านการทำวิจัย เนื่องจากในการประชุมครั้งนี้มีการทบทวนเกี่ยวกับกระบวนการในการทำวิจัยทั้ง ในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ แต่สิ่งที่ได้เพิ่มเติมคือ การเขียนโครงร่างการวิจัยที่ถูกต้องเพื่อขอเงินทุนสนับสนุนจากภายนอก |
(274)