ผู้บันทึก : นางสาวภาวดี เหมทานนท์ | |
กลุ่มงาน : งานวิจัยและผลงานวิชาการ | |
ฝ่าย : ฝ่ายส่งเสริมวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 10 ต.ค. 2554 ถึงวันที่ : 21 ต.ค. 2554 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล | |
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร | |
เรื่อง/หลักสูตร : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ: ศาสตร์และศิลป์เพื่อประโยชน์สุขของปวงชน รุ่นที่ ๖ | |
วันที่บันทึก 6 ธ.ค. 2554 | |
|
|
รายละเอียด | |
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research)
การวิจัยเชิงปฏิบัติการหรือการปฏิบัติการและการวิจัย มีหลายความหมาย หลายรูปแบบ ดังนี้คือ ความหมายที่ 1 การปฏิบัติการ + การวิจัย คือ การเน้นการแก้ปัญหาบนฐานความรู้ หรือ นำด้วยการแก้ปัญหา/การพัฒนา และตามด้วยการวิจัยเพื่อสร้างความรู้บนฐานการแก้ปัญหา/ การปฏิบัติการ/การพัฒนา ความหมายที่ 2 การวิจัย + การปฏิบัติการ คือ การสร้างความรู้ หรือ รู้ ก่อนแล้วนำความรู้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหา หรือ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา/การพัฒนา หรืออาจเรียกว่าการศึกษา-วิจัยปัญหาหนึ่งๆเพื่อให้เกิดความรู้/องค์ความรู้ ก่อน เมื่อมีความรู้-ความเข้าใจ หรือ มีองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ/เรื่องนั้นๆ/กลุ่มคนนั้นๆ/ชุมชนนั้นๆ แล้วจึงทำการแก้ปัญหานั้น หรือ มีการกระทำ-การปฏิบัติการ เพื่อแก้ปัญหา/พัฒนาตามมา ความหมายที่ 3 วิจัยไป แก้ปัญหาไป/พัฒนาไป เป็น วงจรต่อเนื่องไม่รู้จบ หรือมีการดำเนินภารกิจทั้งสองไปพร้อมๆกัน ซึ่งอาจเป็นการดำเนินภารกิจ โดยคนละคน หรือคนละทีมกัน หรือ ทีมเดียวกัน/คนเดียวกันก็ได้ ซึ่งเป็นการวิจัยว่า ทำได้สำเร็จหรือไม่ เพราะอะไร ปัจจัยที่เกี่ยวข้องระดับต่างๆมีอะไรบ้าง เป็นต้น และจะก่อให้เกิดการแก้ไขปัญหา-กาพัฒนาแบบก้าวกระโดด (Quantum leap) ได้หรือไม่ อย่างไร ภายใต้เงื่อนไขใด ทั้งนี้ การวิจัยเชิงทดลอง เชิงเปรียบเทียบ เชิงพิสูจน์ต่างๆ ยังสามารถทำได้ แต่ต้องทำด้วยความระมัดระวัง และจะต้องมีมุมมองของผู้ถูกวิจัยด้วย (มนุษย์เป็นสิ่งที่ประณีต) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research) การ วิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นรูปแบบของการวิจัยที่นักวิจัยมีความเกี่ยวข้องในฐานะเป็นผู้มีส่วนร่วม ในกิจกรรมส่วนหนึ่งขององค์การและการเป็นนักวิจัย เป็นการนำแนวคิดและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพมาใช้ในการศึกษา โดยผู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยช่วยกันแสวงหารูปแบบของการพัฒนาหรือหา วิธีการแก้ปัญหา มีการพัฒนาความสำนึกในการวิเคราะห์ วิจารณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุง สภาวะความเป็นอยู่และวิถีชีวิต ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างและความสัมพันธ์พื้นฐานในสังคมของตนเอง ลักษณะของการวิจัยแบบมีส่วนร่วมประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต การสะท้อนผลการปฏิบัติ และการปรับปรุงแผนเพื่อนำไปปฏิบัติในวงจรการปฏิบัติช่วงต่อไป จนกว่าจะได้รูปแบบของการปฏิบัติงานที่น่าพึงพอใจ ซึ่งกระบวนการวิจัยต้องมีความยืดหยุ่นสูง มีความเป็นพลวัตร ไม่จำเป็นต้องเป็นการดำเนินงานเป็นเส้นตรง สามารถทำการวิจัยซ้ำๆกันได้อีก โดยพิจารณาจากผลสะท้อนกลับ ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการพัฒนาแผนงานและกระบวนการวิจัยในลำดับต่อๆไป สรุป การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม คือ การแก้ไขปัญหาต่างๆ-ปัญหาหนึ่งบนฐานความรู้ หรืออาจเป็นการสร้างความรู้เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา เป็นการดำเนินการอย่างมีส่วนร่วมในขั้นตอนต่างๆของผู้เกี่ยวข้อง การ มีส่วนร่วม หมายถึง ร่วมทุกขั้นตอน หรือบางขั้นตอน ตั้งแต่การร่วมคิด ร่วมพูดคุย ปรึกษาหารือ ร่วมวิเคราะห์ปัญหา ร่วมวางแผน ร่วมลงมือดำเนินการ ร่วมแสวงหาหรือระดมทรัพยากรต่างๆ จนถึงร่วมรับประโยชน์ และ ร่วมประเมินผล ร่วมสร้างองค์ความรู้ ร่วมทบทวน ร่วมสรุปบทเรียน/ถอดบทเรียน ร่วมเขียน ร่วมวิพากษ์ ร่วมสร้างความรู้ใหม่บนฐานการทำงาน หรือร่วมสร้างกระบวนการขับเคลื่อน เพื่อให้เกิดการต่อยอด ขยายผล หรือการปรับเปลี่ยน เพื่อนำไปสู่วิธีคิดใหม่ๆ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ ที่อาจช่วยแก้ปัญหาที่ประสบอยู่ให้ดีกว่าเดิม จุดมุ่งหมายของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การ วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงคุณภาพองค์การ ประชาชน ชุมชน และชีวิตครอบครัว โดนมีสาระที่สำคัญ คือ การใช้กระบวนการวิจัยเพื่อส่งเสริมจุดมุ่งหมายของความเสมอภาค และความเป็นประชาธิปไตย เปิดกว้างให้ผู้ที่มีส่วนร่วมในการวิจัยเกิดความร่วมมือในการตัดสินใจ มีความเห็นร่วมกันทั้งในฐานะผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์การและผู้ร่วม กระทำกิจกรรมการวิจัยบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ปัญหา/โจทย์ร่วมกัน มีความสำคัญเพื่อนำไปสู่พลังร่วมในการแก้ปัญหาร่วมกัน ทั้ง นี้ปัญหามีหลายประเภท ทั้งปัญหาเชิงโครงสร้าง ปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาเร่งด่วน ปัญหาเฉพาะด้าน ปัญหาที่เป็นองค์รวม ปัญหาที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโช่ ปัญหาในห้องเรียน/โรงเรียน/โรงพยาบาล ผู้ป่วย/ผู้ป่วยเรื้อรัง ไร่นา โรงงาน องค์กร ครอบครัว ชุมชน ประชากรกลุ่มเฉพาะ เช่น วัยรุ่น ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้สูบบุหรี่ กลุ่มคนชายขอบ เป็นต้น
การกำหนด/ตั้งคำถามที่ชัดเจน เพื่อ ให้เกิดการสร้างพลังร่วมตั้งแต่ต้น มีความสำคัญ ตัวอย่างเช่น ปัญหาการเรียนการสอนในชั้นเรียน ปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาการขาดความสมานฉันท์ในสังคม ปัญหาการขาดธรรมาภิบาลในองค์กร สิ่งเหล่านี้เราจะต้องกำหนดโจทย์ปัญหาและตั้งคำถามในเชิงบวก เช่น สภาพการเรียนการสอนที่เป็นอยู่เป็นอย่างไร ผู้เรียน-ผู้สอนจะร่วมกันทำให้การเรียนเกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นได้อย่างไร หรือ ผู้เรียนจะมีความพึงพอใจสูงสุดได้อย่างไร ขั้นตอนต่างๆที่เกี่ยวข้องควรมีอะไรบ้าง เป็นต้น การกำหนดวัตถุประสงค์แบบ AR การ กำหนดวัตถุประสงค์จำเป็นต้องมีทั้งวัตถุประสงค์ในเชิงการศึกษา-วิจัย-การ สร้างความรู้ในภาพรวม หรือในกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งวัตถุประสงค์ในเชิงการแก้ปัญหาหรือเชิงการพัฒนา และ/หรือ เชิงการเปลี่ยนแปลง วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ คือ การกระทำที่จำเป็นเพื่อให้สามารถตอบโจทย์วิจัยและบรรลุความมุ่งหมายที่ต้องการ การทบทวนแนวคิด ทฤษฎี ผลงานวิจัย หรือ องค์ความรู้ที่มีอยู่ หรือที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ต้องการแก้ไข หรือ การพัฒนาที่เผชิญหน้าอยู่ เป็นสิ่งที่ทำได้ เพราะจะช่วยทำให้รู้และเข้าใจสิ่งที่ประสบอยู่/สิ่งที่ต้องการทำในระดับ หนึ่ง แต่ควรนำไปใช้อย่างระมัดระวัง ใช้อย่างวิพากษ์ ใช้เพื่อให้เห็นแนวทางการขับเคลื่อนที่มีกลยุทธ์ เทคนิค วิธีการต่างๆ ในการเก็บข้อมูล - การพูดอย่างไม่เป็นทางการ (Informal talk) - การสังเกตการณ์ ทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม - การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก / ระดับลึก (In-depth-interview) - การเล่าเรื่อง (Narrative) - การประเมินรวดเร็วแบบมีส่วนร่วม (RAP) - สุนทรียสนทนา (Dialogue) - การสนทนากลุ่มแบบเจาะจง (Focus group discussion) - การสัมภาษณ์กลุ่ม (Group interview) - การศึกษาเฉพาะกรณี (Case study) –ปัจเจก องค์กร จังหวัด ประเทศ - การศึกษาชีวประวัติชีวิตและครอบครัว (Life history/family history study) - การศึกษาชุมชน (Community study) เครื่องมือต่างๆในการเก็บข้อมูล - แบบบันทึกภาคสนาม (Field note) - แบบสอบถาม/แบบสัมภาษณ์/แบบสำรวจ - แนวคำถามในการสัมภาษณ์ระดับลึก - แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม เทคนิค/วิธีการในการสร้างกระบวนการขับเคลื่อนการสร้างพลัง การสร้างการมีส่วนร่วม การกระทำการเชิงสื่อสาร การถอดบทเรียน - เทคนิค Appreciative Inquiry (AI) - เทคนิค การทบทวนอดีต ปัจจุบัน และกำหนดอนาคตร่วมกัน (AIC) - เทคนิคการค้นหาอนาคต (Future Search Conference: FSC) - เทคนิคการทบทวนหลังการปฏิบัติ (AAR) - เทคนิคการเป็นวิทยากรกระบวนการ - เทคนิคการสร้าง เสริม เพิ่ม ดึงพลัง ยกระดับพลัง เช่น การให้รางวัล การกระตุ้น การผลักดัน การสนับสนุน ส่งเสริมในด้านต่างๆ การวิเคราะห์และตรวจสอบ เพื่อยืนยันความถูกต้อง/ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล การวิเคราะห์และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) ซึ่งประกอบด้วย - Data sources Triangulation - Methods Triangulation - Methodologies Triangulation - Investigators Triangulation - Concepts/Theories Triangulation
การวิเคราะห์ข้อมูล I รหัสได้มาจาก
หน้าที่ประโยชน์
II การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการต่อจิ๊กซอ (แต่ละตัวคือข้อมูลดิบ ที่ผ่านการทำรหัส จิ๊กซอแต่ละตัวก็คือ รหัส) Approach ที่ใช้ Inductive approach (อุปมาน/อุปนัย)
#ไม่ได้ตั้งไว้ก่อนว่าตรงนี้ควรจะเป็นอย่างไร (ถ้าตั้งไว้ก่อน เรียก deductive approach) #หลังจากวิเคราะห์ ข้อมูลที่ได้มาบอกอะไรเราบ้าง ข้อมูลดิบนำเราไปสู่อะไร Tacit knowledge ความรู้ฝังลึก Explicit knowledge ความรู้เด่นชัด Tacit culture ฝังอยู่ในตัวคน เวลาไปเก็บข้อมูลจะไม่ค่อยได้ จะออกมาก็เมื่อมีวิกฤต เช่น เหตุการณ์น้ำท่วม ทำให้คนช่วยกัน Explicit culture เห็นเด่นชัด III หลักเกณฑ์โดยทั่วไป
1.1 Universal patterns (แบบแผนหลักๆ) สิ่งที่คนส่วนใหญ่ประพฤติปฏิบัติ 1.2 แบบแผนรอง (Competitive/rival pattern) ไม่ไปด้วยกันกับแบบแผนหลัก เป็นการฉายภาพให้ผู้อ่านเห็น
2.1 การหาคำอธิบายโดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่เป็นอธิบาย (first ordered interpretation) เป็นข้อมูลจากภาคสนาม insider’s views หรือ phenetic 2.2 คำอธิบายที่ผู้วิจัยเป็นผู้วิเคราะห์และให้คำอธิบาย เรียกว่า outsider’s views หรือ ETIC’s views หรือ Phonetic 2.3 ใช้ทฤษฎีที่ผู้อื่นสร้างไว้มาอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น 2.4 สร้างทฤษฎีใหม่จากโครงการวิจัยของผู้วิจัยเอง มาอธิบายปรากฏการณ์
ระดับ ….3+4 พื้นผิว…… 2 Underlying …….1
กรณี ที่มีการศึกษาแบบแบ่งกลุ่ม (ที่ต่อเนื่องกัน เช่น แบ่งตามช่วงอายุ แบ่งตามความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง) ตัวแทนแต่ละกลุ่มจะต้องมีภูมิหลังคล้ายกัน วิเคราะห์ตัวแทนแต่ละกลุ่ม ให้ครบทุกกลุ่ม แล้วเอาสิ่งที่วิเคราะห์ทุกกลุ่มมาต่อกัน ก็จะเป็นเรื่องราวทั้งหมดที่ต่อเนื่องกันในภาพรวม ….String analysis
IV เทคนิคในการวิเคราะห์ (ตัวช่วย)
- ตอนที่เริ่มต้นทำงาน อาจจะมีแนวคิดคร่าวๆ (หรืออาจจะตั้งสมมติฐานก็ได้ ) แต่ต้องปรับเปลี่ยนได้ - เมื่อได้ข้อมูลมาจะต้องปรับเปลี่ยน ขยาย - เก็บข้อมูลเพิ่มเติม แล้ววิเคราะห์เพิ่มเติม *สมมติฐานเปลี่ยนไปเรื่อยๆจนกว่าจะอยู่ตัว (แบบแผนอยู่ตัว ไม่ใช่ข้อมูลดิบ) saturation… อิ่มตัว/ตกผลึก นิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลงแล้ว* 2. Illustrative model การวิเคราะห์เพื่อแสดงตัวอย่าง มีโมเดล/ทฤษฎี อยู่แล้ว เก็บข้อมูล/วิเคราะห์ เพื่อแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่าง 3. Domain analysis การวิเคราะห์โดยการจัดกลุ่ม -Folk domains การจัดกลุ่มแบบพื้นบ้าน เช่น ยอดตำลึงกับฟักทองอยู่ด้วยกัน เพราะมียอดเหมือนกัน -Mixed domains ผสมระหว่างพื้นบ้านกับทฤษฎี เช่น ตำลึง กับฟักทอง เพราะมีวิตามินเอสูง -Analytic domain 4. Analytic comparison การวิเคราะห์เปรียบเทียบ จะต้องมีข้อมูลอย่างน้อย 2 กลุ่ม เพื่อเปรียบเทียบ (การเปรียบเทียบ เป็นหัวใจสำคัญของการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ) -method of agreement มิติ /พฤติกรรม อะไรบ้างที่เหมือนกัน แล้วอธิบาย ด้วยเหตุผล -method of difference ดูว่า มิติ/พฤติกรรมอะไรบ้างที่ต่างกัน แล้วอธิบายด้วยเหตุผล 5. Ideal type การ วิเคราะห์โดยการตั้งเกณฑ์มาตรฐาน คือเรามีข้อมูลชุดเดียว ทำให้เราต้องตั้งเกณฑ์ไว้ก่อน วิธีแรก คือ ยืมเกณฑ์ที่เขาตั้งไว้แล้ว กรณีที่ไม่มีของใคร ก็ตั้งเกณฑ์ของเราเองไว้ก่อนที่สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งอาจจะมี Ideal type หลายตัวได้ แบ่งออกเป็น -Contrast การเปรียบเทียบ เอาข้อมูลที่มีอยู่เปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตังไว้ ดูว่ามีความต่างอะไรบ้าง แล้วอธิบายด้วยเหตุผล
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
การจัดการเรียนการสอน การวิจัย
การใช้ในการปฏิบัติงาน
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ การทำผลงาน |
(732)