การพัฒนาวิชาชีพการพยาบาลอย่างยั่งยืนด้วยการวิจัย

การพัฒนาวิชาชีพการพยาบาลอย่างยั่งยืนด้วยการวิจัย
ผู้บันทึก :  นางสาวภาวดี เหมทานนท์
  กลุ่มงาน :  งานวิจัยและผลงานวิชาการ
  ฝ่าย :  ฝ่ายส่งเสริมวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 20 ธ.ค. 2553   ถึงวันที่  : 23 ธ.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สมาคมการพยาบาลแห่งประเทศไทย
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนาวิชาชีพการพยาบาลอย่างยั่งยืนด้วยการวิจัย
  วันที่บันทึก  20 ก.พ. 2554


 รายละเอียด
                องค์ประกอบของ Routine to Research (เป็นการวิจัยประยุกต์: Applied research) 1) โจทย์วิจัย ต้องมาจากงานประจำเป็นการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานประจำ โดยโจทย์วิจัยได้มาจาก – ความไม่พอใจในสิ่งที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน • สำรวจ/สังเกตว่างานที่ทำอยู่ในปัจจุบันมีอะไรที่เป็นปัญหา • ถ้าไม่มีปัญหาแล้ว การปฏิบัติแบบเดิมๆที่ทำ ปรับให้ดีขึ้นได้หรือไม่ • ถ้ารู้สึกว่าดีแล้ว ทำให้ดักว่านี้ได้หรือไม่ – เป้าหมายขององค์กร/หน่วยงาน • วิจัยที่ดี ต้องมีคนต้องการ • วิจัยที่ดี ต้องแก้ปัญหาได้ • การวิเคราะห์ความต้องการของผู้เกี่ยวข้องจะทำให้ได้รับ support ที่ดี (เงิน เวลา นโยบายในการเปลี่ยนแปลง) – การอ่านหนังสือ วารสาร งานวิจัยที่ตีพิมพ์ • ศึกษางานของคนอื่นๆบ้าง (ใครทำอะไร ทำไปถึงไหน ช่องว่างอยู่ตรงไหน) • การสืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูลหรือแหล่งข้อมูลงานวิจัย – 2) ผู้ทำวิจัย ต้องเป็นผู้ทำงานประจำนั้นเองเป็นผู้แสดงบทบาทหลักของการทำวิจัย 3) ผลลัพธ์ของการวิจัย ต้องวัดที่ผลผลิต (Output) 4) การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ต้องวนกลับไปมีผลเปลี่ยนแปลงการทำงานโดยตรงหรือต่อการบริการโดยตรงเป็นความ สำเร็จระดับผลลัพธ์  การวิจัยเชิงปฏิบัติการ 1) เป็นรูปแบบของการรวบรวมปัญหาหรือคำถามจากการสะท้อนการปฏิบัติงานของกลุ่มผู้ ปฏิบัติงานในสังคมใดสังคมหนึ่ง เพื่อต้องการที่จะพัฒนาหลักการ เหตุผล และวิธีการปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้รูปแบบหรือแนวทางไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพ การปฏิบัติงานนั้นและในขณะเดียวกันก็เป็นการพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับการ ปฏิบัติงานนั้นๆให้สอดคล้องกับสภาวะของสังคมและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง 2) เป้าหมายของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อทำความเข้าใจและปรับปรุง สถานการณ์เฉพาะที่พบว่ามีปัญหาหรือช่องว่างระหว่างทฤษฎีกับปฏิบัติ นโยบายกับปฏิบัติและการวิจัยกับการกระทำ 3) ลักษณะของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ – เป็นการพัฒนากิจกรรมโดยการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง (improving by changing) -เป็นการวิจัยที่อาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงาน -เป็นการทดลองปฏิบัติ โดยอาศัยเทคนิคการสะท้อนของบุคลากรหรือกลุ่ม ในกระบวนการวางแผน ปฏิบัติ สังเกต สะท้อนการปฏิบัติและปรับปรุงแผนเพื่อพัฒนาให้ดีขึ้น การทดลอง ปฏิบัตินี้ทดลองปฏิบัติในสถานการณ์ตามธรรมชาติ -เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์อย่างมีวิจารณญาณ (critical analysis) เพื่อความเข้าใจในสถานการณ์อย่างแท้จริงตามธรรมชาติของสถานการณ์นั้นๆไม่ใช่ เป็นการแก้ไขอย่างเผินๆ -เป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรมที่ศึกษาเรียนรู้วิธีการพัฒนากิจกรรมนั้นๆ – เป็นกระบวนการทางด้านการเมือง (political process) เพราะการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมักจะมีการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอ การต่อต้านที่เกิดขึ้นทั้งผู้วิจัยและผู้ปฏิบัติงาน -เป็นการบันทึกความก้าวหน้าและบันทึกการสะท้อนปฏิบัติของกลุ่มอย่างเป็นระบบ เกี่ยวกับกิจกรรมที่ศึกษาและวิธีการศึกษา -เป็นการสร้างทฤษฎีโดยหาเหตุผลของการปฏิบัติจากประกฎการณ์ที่ศึกษาแล้วนำมา ประมวลเป็นข้อเสนอเชิงทฤษฎี และสรุปเป็นหลักการภายหลัง -เป็นการศึกษาที่เริ่มจากวงจรเล็ก (กลุ่ม หรือแม้แต่ผู้วิจัยเพียงคนเดียว) แล้วจึงขยายเป็นวงจรใหญ่ (กลุ่มใหญ่ เช่น หอผู้ป่วย แผนก ภาควิชา โรงพยาบาล) 3) ขั้นตอนวิจัยเชิงปฏิบัติการ -ขั้นการวางแผน • เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ สะท้อน การปฏิบัติงาน และระบุข้อขัดแย้งต่าง • อาจใช้ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณขึ้นกับคำถามการวิจัย -ขั้นทดลองปฏิบัติ • เป็นการปฏิบัติตามวงจรการวิจัยเชิงปฏิบัติการซึ่งรวมทั้งการเก็บรวบรวม ข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลขณะทดลองปฏิบัติด้วย เพื่อหาสมมติฐานที่จะทำให้เกิดการพัฒนากิจกรรมนั้นๆ -ขั้นสะท้อนปฏิบัติ • เป็นการนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากขั้นทดลอง ปฏิบัตินำมาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อหาวิธีการในการปรับปรุงแผนที่วางไว้ให้สามารถปฏิบัติได้อย่างมีคุณภาพ ยิ่งขึ้น และสรุปวิเคราะห์ในขั้นตอนสุดท้าย 4) จุดเด่นของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ -เป็นประการณ์จริง -อยู่ในบริบทเฉพาะ -เป็นกระบวนการเชิงวัฎจักร -เน้นผลลัพธ์ที่นำไปสู่การปรับปรุงนโยบาย และการปฏิบัติงานในองค์กร -สร้างความเข้าใจในความซับซ้อนของสังคม -สร้างความไว้ใจในวิถีของบุคคลในการสร้างความรู้ ความเชื่อ และวิธีปฏิบัติ 5) ข้อจำกัดของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ -ใช้เวลานาน -ถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร โอกาสที่จะดำเนินงานวิจัยสำเร็จเป็นการ “ทำไป แก้ไป” ทำให้การเขียนโครงร่างการวิจัยทำได้ไม่ชัดเจน จึงเกิดปัญหาด้านการขอทุนสนับสนุนการวิจัย -นักวิจัยเชิงปฏิบัติการต้องมีทักษะเฉพาะ 6) คุณสมบัติพิเศษของนักวิจัยเชิงปฏิบัติการ – มีความเชื่อ ศรัทธาอย่างมั่นคง และลึกซึ้งในศักยภาพของมนุษย์ที่จะสามารถเรียนรู้สร้างองค์ความรู้ และทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง – มีความอดทนอย่างสูงต่อความไม่แน่นอน -มีความสามารถที่จะละวาง และปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ -มีพันธะสัญญาอย่างแท้จริงที่จะเปลี่ยนแปลง -มีทักษะการวิจัยเชิงคุณภาพ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การจัดการเรียนการสอน การวิจัย


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              -การเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต วิจัยทางการพยาบาล -การบริการวิชาการ -การพัฒนาบุคลากร

(333)

Comments are closed.