ผู้บันทึก : นางสุภาวดี สักมาส นางสาวขวัญหฤทัย บุญสำราญ | |
กลุ่มงาน : งานบริหารทั่วไป | |
ฝ่าย : ฝ่ายบริหาร | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 1 ก.ย. 2554 ถึงวันที่ : 2 ก.ย. 2554 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข | |
จังหวัด : ปทุมธานี | |
เรื่อง/หลักสูตร : การจัดทำรายงานต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตตามหลักเกณฑ์และวิธีการกรมบัญชีกลาง (การบันทึกค่าใช้จ่ายเข้าสู่กิจกรรมย่อยในระบบ GFMIS) | |
วันที่บันทึก 20 ก.ย. 2554 | |
|
|
รายละเอียด | |
แนวทางในการจัดทำต้นทุนผลผลิต เพื่อให้หัวหน้าส่วนราชการและหัวหน้ารัฐ วิสาหกิจคำนวณค่าใช้จ่ายตามงบรายจ่ายของแต่ละผลผลิตหรือโครงการ เพื่อใช้ในการจัดทำค่าใช้จ่ายต่อหน่วยผลผลิตหรือโครงการสำหรับการจัดทำงบ ประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณต่อไป เป็นข้อมูลทางการเงินประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร การจัดทำบัญชีต้นทุนจะให้ข้อมูลต้นทุนกิจกรรมและผลผลิตในระดับศูนย์ต้นทุน รวมทั้งสื่อให้เห็นถึงกระบวนการทำงานในศูนย์ต้นทุนด้วย จึง ให้ข้อมูลทางการเงินที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารทุกระดับ อันจะนำไปสู่การปรับปรุงกระบวนการทำงานของหน่วยงาน และเพื่อเป็นข้อมูลในการวัดผลการดำเนินงาน การวางแผนและการควบคุมทางการเงินในการวางแผนการใช้จ่ายเงินของส่วนราชการใน ปัจจุบันนั้น จะเน้นการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินสำหรับเงินในงบประมาณเป็นหลัก ดัง นั้น เพื่อให้การคำนวณหาต้นทุนผลผลิตได้เป็นเครื่องมือในการวัดผลการดำเนินงาน การควบคุมและเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับแผนที่วางไว้ได้อย่างถูกต้อง
กรมบัญชีกลางกำหนดให้ส่วนราชการต้องคิดต้นทุนกิจกรรมย่อย ผลผลิตย่อยดังนี้ ๑. ต้นทุนกิจกรรมย่อยของหน่วยงานสนับสนุน ๕ กิจกรรม ได้แก่ - ด้านการเงินและบัญชี - ด้านการพัสดุ - ด้านบริหารบุคลากร - ด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคล - ด้านตรวจสอบภายใน ๒. ต้นทุนกิจกรรมย่อยของหน่วยงานหลัก ๑ กิจกรรม ๓. ต้นทุนผลผลิตย่อย ๒ ผลผลิต
การจัดทำรายงานต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตมีความจำเป็นในการคิดค้นต้นทุนต่อหน่วย ดังนี้ ๑. เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานของหน่วยงานในการบริหารการเงินการคลังของหน่วยงานนั้น ๆ ๒. เพื่อเฝ้าระวังการบริหารการเงินการคลังของหน่วยงาน เป็นฐานข้อมูลในภาพรวมของประเทศเพื่อหาค่าเฉลี่ยของต้นทุนต่อหน่วยเสมือนค่า ต้นทุนต่อหน่วยมาตรฐานของประเทศ ๓. เพื่อหาค่าใช้จ่ายขั้นต่ำของสถานบริการในการต่อรองกับผู้ซื้อบริการ ๔. ตามกฎหมายเพื่อการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพตามระบบ Government Financial Management Information System (GFMIS) ของกรมบัญชีกลาง |
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
- ในการจัดทำรายงานต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต ต้นทุนรวมโดยตรง ซึ่งได้แก่เงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ งบกลาง และค่าเสื่อมราคา เพื่อให้หน่วยงานทราบผลการดำเนินงานของหน่วยงานในการใช้จ่ายเงินแต่ละหมวดของหน่วยผลผลิต
- สามารถบันทึกค่าใช้จ่ายเข้าสู่กิจกรรมย่อยในระบบ GFMIS เพื่อให้หน่วยงานทราบถึงสถานะในการเบิกจ่ายเงินแต่ละหมวดในระบบ GFMIS และสามารถเรียกรายงานในภาพรวมของหน่วยเบิกจ่ายได้
สรุป ข้อดี - ในการจัดทำรายงานต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต เพื่อให้หน่วยงานมีความเข้าใจในการลง กิจกรรมย่อยและหลักเกณฑ์การปันส่วนค่าใช้จ่าย และสามารถจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตของหน่วยงานให้ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นแนวทางเดียวกันของระบบ GFMIS - ได้ควบคุมต้นทุนและงบประมาณ - ได้วัดผลการดำเนินงาน - ได้ประเมินความเหมาะสมของกิจกรรม - การตัดสินใจและคำนึงถึงความเหมาะสมทางการเงิน - พัฒนาการบริหารจัดการทางเงินที่ดี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี |
(321)