บุคลิกภาพกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

บุคลิกภาพกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
 ผู้บันทึก :  นางสาวภาวดี เหมทานนท์
  กลุ่มงาน :  งานวิจัยและผลงานวิชาการ
  ฝ่าย :  ฝ่ายส่งเสริมวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 10 ธ.ค. 2553   ถึงวันที่  : 12 ธ.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  โรงพยาบาลสวนสราญรมย์
  จังหวัด :  สุราษฎร์ธานี
  เรื่อง/หลักสูตร :  บุคลิกภาพกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
  วันที่บันทึก  20 ก.พ. 2554


 รายละเอียด
               บุคลิกภาพ (Personality) ในทางจิตเวช หมายถึง แบบแผนหรือลักษณะจำเพาะของแต่ละบุคคลที่แสดงออกในการใช้ชีวิตประจำวันปกติ ซึ่งเป็นผลรวมของความรู้สึกนึกคิด การรับรู้ และพฤติกรรมของบุคคลนั้น บุคลิกภาพของแต่ละบุคคลจะแตกต่างออกไป เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านพันธุกรรม ประวัติการเลี้ยงดูในวัยเด็ก รวมถึงประสบการณ์ทางสังคมในอดีตของบุคคลนั้นๆ ก่อให้เกิดแบบแผนหรือลักษณะเฉพาะที่ใช้ในการดำเนินชีวิตและจัดการกับปัญหาใน ชีวิตที่แตกต่างกัน โดยในบุคคลหนึ่งอาจมีลักษณะดังกล่าวนี้หลายๆด้านประกอบกัน เรียกแต่ละด้านของลักษณะเหล่านี้ว่า Personality trait บุคลิกภาพที่ผิดปกติ หรือ Personality disorder คือ การที่บุคคลมีบุคลิกภาพที่เบี่ยงเบนอย่างชัดเจนจากกรอบของสังคมและวัฒนธรรม นั้นๆ ในลักษณะที่ไม่สามารถยืดหยุ่นตามสถานการณ์ได้ ทำให้เกิด -Distress -Disturb -Dsyfunction หรือ Disable -กรณีทั้ง 3 ตัวด้านบนไม่ชัดเจนแต่ได้รับการ Diagnosis ตามเกณฑ์ DSM IV *มีตัวใดตัวหนึ่งจาก 4 ตัวถือว่าป่วย การประเมินบุคลิกภาพ จะต้องอาศัย 3 ส่วน คือ – History ประวัติการเลี้ยงดูและช่วงชีวิตในอดีต – Behavior การประเมินจากพฤติกรรม -Defense Mechanism กลไกการป้องกันทางจิตที่พบบ่อย Personality disorder แบ่งออกเป็น 10 แบบ 3 Cluster Cluster A คือ ผู้ที่มีลักษณะบุคลิกภาพแบบแยกตัว หรือมีพฤติกรรมที่แปลกแตกต่างไป จากคนอื่น แบ่งออกเป็น – Paranoid – Schizoid – Schizotypal Cluster B คือ ผู้ที่มีลักษณะบุคลิกภาพแบบอารมณ์ไม่คงที่ เจ้าอารมณ์ ไม่อยู่กับร่องกับรอย หรือเอาแน่นอนไม่ได้ แบ่งออกเป็น – Narcissistic – Histrionic – Borderline – Antisocial Cluster C คือ ผู้ที่บุคลิกภาพแบบเจ้าความคิด ยึดติดกับเหตุผลและกรอบความคิดของ ตนเอง หรือวิตกกังวลง่าย คิดมาก แบ่งออกเป็น – Avoidant – Dependent – Obsessive – Compulsive


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การจัดการเรียนการสอน การบริหารบุคคลภายใต้ความแตกต่าง


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การจัดการเรียนการสอน การบริหารบุคคลภายใต้ความแตกต่าง

(654)

Comments are closed.