การปรับปรุงหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ สาขาพยาบาลศาสตร์

การปรับปรุงหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ สาขาพยาบาลศาสตร์
ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ
  กลุ่มงาน :  รองวิชาการ
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 26 ก.พ. 2554   ถึงวันที่  : 27 ก.พ. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  เครือข่าย SC-Net
  จังหวัด :  สงขลา
  เรื่อง/หลักสูตร :  การปรับปรุงหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ สาขาพยาบาลศาสตร์
  วันที่บันทึก  9 มี.ค. 2554


 รายละเอียด
               การวิพากษ์ มคอ.๒ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผศ.ดร.เบญจา เตากล่ำ ผศ.ดร.กรองกาญจน์ สังกาศ ผศ.จรัสศรี บัวบาน และ ดร.หทัยรัตน์ แสงจันทร์ – หน้าปก ใช้หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๕ – ชื่อหลักสูตร ภาษาอังกฤษ ต้องมี programme ต่อท้าย – รูปแบบหลักสูตร ให้เขียนว่า หลักสูตรปริญญาตรี ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ – ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรเฉพาะของ วพบ.นครศรีธรรมราช สมทบกับคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ – สถานภาพของหลักสูตร ต้องผ่านการเห็นชอบ/อนุมัติหลักสูตร จากคณะพยาบาลศาสตร์ คณะกรรมการวิชาการ สภาวิชาการ สภามหาวิทยาลัย ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แล้วต้องส่งให้สภาการพยาบาล และ สกอ. ต่อไป (ควรต้องส่งให้ คณะพยาบาล มอ. ภายในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ๕๔) – รูปแบบการเขียนวุฒิการศึกษา สูงสุด ไป ต่ำสุด หากจบจากต่างประเทศ ให้เขียนจบปี ค.ศ. ……… – สถานการณ์ภายนอก ควรเขียนให้เห็นภาพกว้างระดับสากล/โลก ด้วย เช่น อาเซียนไร้พรมแดน และสอดคล้องกับปรัชญาของหลักสูตรด้วย – วัตถุประสงค์ของหลักสูตร จะต้องถูกวัดและประเมินทั้งหมดในแต่ละรายวิชา และมาตรฐานผลการเรียนรู้ (Learning outcome) จึงต้องดูความสอดคล้องด้วย – การอ้างถึงระเบียบใดๆ ให้แนบไว้ในภาคผนวกด้วย – การจัดชั่วโมงเรียน ไม่ให้เกิน ๓๕ ชม./สป. – การแต่งตั้งอาจารย์พิเศษ ต้องได้รับการเห็นชอบจาก คกก.บริหารหลักสูตร และมีหนังสือแต่งตั้งจากวิทยาลัย – การทำโครงงานหรือวิจัย เป็นชิ้นงานที่ระบุว่า นักศึกษาต้องทำก่อนจบ เช่น การทำวิจัย โครงงาน – การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษา ขึ้นอยู่กับอัตลักษณ์ของแต่ละสภาบัน – การพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน ต้องครอบคลุมตาม มคอ.๑ และสามารถเพิ่มเติมตามบริบทของวิทยาลัยได้ – แผนที่การกระจายความรับผิดชอบรายวิชากับผลการเรียนรู้ ให้ใช้สัญลักษณ์ วงกลมทึบ  แทนความรับผิดชอบหลัก วงกลมโปร่ง  แทนความรับผิดชอบรอง การวิพากษ์ มคอ.๓ และ ๔ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผศ.ดร.เบญจา เตากล่ำ ผศ.ดร.กรองกาญจน์ สังกาศ ผศ.จรัสศรี บัวบาน และ ดร.หทัยรัตน์ แสงจันทร์ – รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน เนื่องจาก สบช.ไม่ได้มีการระบุไว้ จึงไม่ต้องเขียน และวิทยากรเสนอว่า สามารถที่จะเขียนเป็น “รายวิชาที่ควรเรียนมาก่อน” ได้หากจำเป็น ให้ SC-Net ประชุมตกลงกันเพื่อเป็นแนวทางเดียวกัน – จุดมุ่งหมายของรายวิชา หมายถึง วัตถุประสงค์รายวิชา และเพิ่มเติมได้ตามอัตลักษณ์ของวิทยาลัย – วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา: หลักสูตรใหม่ ให้เหตุผลว่า ทำไมต้องมีวิชานี้ หากเป็น หลักสูตรเก่า ให้เหตุผลว่า ทำไมต้องปรับปรุง – คำอธิบายรายวิชา ใน มคอ.๓ ต้องเหมือนกับ มคอ.๒ – การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ต้องให้สอดคล้องกับแผนที่กระจายฯ (mapping) รูปแบบเขียน ได้ทั้งความเรียง และตาราง ซึ่งควรตกลงกันว่าจะใช้แนวทางใด มติที่ประชุม SC-Net ใช้ตาราง และต้องเขียนให้สอดคล้องกับรายวิชาด้วย – หมวดที่ ๕ แผนการสอน ซึ่งไม่ละเอียดเหมือนแผนการสอนของพยาบาล เปรียบได้กับประมวลรายวิชา เทคนิคการเขียน วิทยากรแนะนำให้อ่านหนังสือของ อ.ทัศนา แขมณี ไม่ต้องเขียนว่า เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แต่ให้เขียนว่าสอนอย่างไร – แผนการประเมินผลการเรียนรู้ เพิ่มช่อง ผลการเรียนรู้ด้วย เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องที่ระบุในการพัฒนาผลการเรียนรู้ และเป็นหลักฐานในการทวนสอบ – การทวนสอบ เป็นการพิสูจน์ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นได้เกิดขึ้นจริงหรือไม่ การวิเคราะห์ข้อสอบ สามารถนำค่า P R มาลงกราฟ เพื่อดูแนวโน้มได้ ให้กลุ่มวิชาประชุมตกลงว่าจะทวนสอบ ๒๕% ในแต่ละกลุ่มวิชาในรายวิชาใดบ้าง – สิ่งสนับสนุนการศึกษา ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสิ่งที่จะสอน (มีอยู่ในห้องสมุด) – ปัญหา/อุปสรรคที่พบ การเขียน มคอ.๓ เช่น ๑) คำอธิบายรายวิชาไม่สอดคล้องใน มคอ.๒ ๒) ความไม่สอดคล้องของมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่ระบุใน Mapping แนวทางแก้ไข ควรให้หัวหน้ากลุ่มวิชา ตรวจสอบเบื้องต้น และมีการตรวจสอบไขว้ระหว่างกลุ่มวิชา – การเขียนผลการเรียนรู้ หากมีระบุใน mapping ต้องเขียนทั้งความรับผิดชอบหลัก และรอง และควรเขียนให้เรียงตามลำดับ – ในการระบุผลการเรียนรู้ ใน mapping ระบุเฉพาะความรับผิดชอบหลักก็ได้ แต่ต้องให้ครบถ้วนทุกด้าน – การทำรายงานและนำเสนอ ระบุในสัปดาห์ที่กำหนดว่า ตลอดเทอม เป็นสิ่งที่ ไม่เหมาะสม เพราะแสดงว่าผู้เรียนต้องมีรายงานทุกหัวข้อ – มคอ.๔ เป็นการจัดการเรียนการสอนในประสบการณ์จริง ต้องระบุให้ชัดเจน ข้อควรระวัง อย่าสอนทฤษฎี/pre conference นานเกินไป ควรให้นักศึกษาได้ดูแลผู้ป่วยจริงๆ – การจัดการความเสี่ยง ต้องมีแผนการจัดการความเสี่ยงแม้ว่านักศึกษาจะฝึกในโรงพยาบาลใกล้สถานศึกษา – กิจกรรมนักศึกษา ต้องระบุชิ้นงานที่ทำ และวันเวลาที่ส่งให้ชัดเจนด้วย ข้อตกลงของ SC-Net ชิ้นงาน มคอ.๒ ต้องแก้ไขตามที่วิทยากรแนะนำก่อนส่งให้คณะพยาบาลศาสตร์ภายใน ๑ พ.ค. ๕๔ ซึ่งบางประเด็นต้องพิจารณาร่วมกันเป็นภาพรวมของเครือข่าย – วันที่ ๒๖-๒๗ มี.ค.๕๔ ประชุมตัวแทนวิชาการ ๓-๔ คน/วิทยาลัย – ส่ง มคอ.๒ ให้ วพบ.สงขลา ภายในวันที่ ๘ เม.ย.๕๔ เพื่อส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาอีกครั้ง – ส่ง มคอ.๒ ฉบับแก้ไข ให้ วพบ.สงขลา ภายในวันที่ ๒๙ เม.ย.๕๔ เพื่อส่งให้คณะพยาบาลศาสตร์ คณะกรรมการวิชาการ สภาวิชาการ สภามหาวิทยาลัย ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตามลำดับ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              นำไประยุกต์ใช้กับงาน พัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรในการเขียน มคอ.๒, ๓ และ ๔ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต พ.ศ.๒๕๕๕ ต่อไป


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(406)

Comments are closed.