การบริหารจัดการความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำ

การบริหารจัดการความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำ
ผู้บันทึก :  นางปวันณัฐ จันทร์ภักดี
  กลุ่มงาน :  งานบริหารทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 6 ก.ย. 2553   ถึงวันที่  : 6 ก.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  กลุ่มบริหารงานบุคคล กระทรวงสาธารณสุข
  จังหวัด :  นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การบริหารจัดการความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำ
  วันที่บันทึก  13 ก.ย. 2553

 รายละเอียด
               การบริหารจัดการความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำระบบใหม่ ส่วนที่ ๑ ระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำในปัจจุบัน มี ๗ หมวด และ ๑ กลุ่ม ๑. หมวดแรงงาน ๒. หมวดกลุ่มฝีมือ ๓. หมวดฝีมือ ๔. หมวดฝีมือพิเศษระดับต้น ๕. หมวดฝีมือพิเศษระดับกลาง ๖. หมวดฝีมือพิเศษระดับสูง ๗. หมวดฝีมือพิเศษเฉพาะ ๘. กลุ่มชื่อ/ลักษณะงานเหมือนข้าราชการ จำนวนสายงานของลูกจ้างประจำ รวมทั้งหมด ๑,๒๖๘ สายงาน จำนวนลูกจ้างประจำ จำนวนตามหมวด รวม ๑๖๘,๖๗๕ คน ส่วนที่ ๒ การจัดระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำใหม่ ๑. กลุ่มงานบริการพื้นฐาน – สายงานด้านพื้นฐานทั่วไปและสถานที่ – สายงานด้านการเกษตร – สายงานด้านงานเรือ – สายงานด้านการเขียน การพิมพ์ และเอกสารข้อมูล – สายงานอื่น ๒. กลุ่มงานสนับสนุน – สายงานด้านการเงิน ธุรการและการพิมพ์ – สายงานด้านข้อมูล สถิติ วิจัยและการศึกษา – สายงานด้านการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ การสอน และการแสดง – สายงานด้านการสาธารณสุข – สายงานด้านการเกษตร ทรัพยากร วิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรม – สายงานด้านงานเรือ – สายงานเฉพาะในพระราชฐาน – สายงานด้านการป้องกัน ปราบปราม และความปลอดภัย – สายงานอื่น ๓. กลุ่มงานช่าง – สายงานด้านแบบและแผนที่ – สายงานด้านไฟฟ้า สื่อสาร และอิเลคทรอนิคส์ – สายงานด้านการก่อสร้าง เครื่องยนต์ เครื่องกล และโลหะกรรม – สายงานด้านการต่อเรือและเครื่องเรือ – สายด้านขับเครื่องจักรกลและล้อเลื่อน – สายงานด้านอุตสาหกรรม เหมืองแร่ และแหล่งน้ำ – สายงานด้านศิลปวัตถุ หัตถกรรม และงานฝีมือ – สายงานด้านการสอนงานช่าง – สายงานอื่น ๔. กลุ่มงานเทคนิคพิเศษ – สายงานด้านศิลปหัตถกรรมไทย – สายงานด้านเครื่องกล – สายงานด้านการบิน กลุ่มงานบริการพื้นฐาน (บ.๑-๒) /หน. ให้บริการเป็นหลักหรือเป็นงานพื้นฐานทั่วไป กลุ่มงานสนับสนุน (ส.๑-๔)/หน. ช่วยปฏิบัติหรือสนับสนุนผู้ปฏิบัติภารกิจหลัก กลุ่มงานช่าง (ช.๑-๔)/หน ปฏิบัติงานช่างในการสร้างใช้ซ่อม ประกอบ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ กลุ่มงานเทคนิคพิเศษ (ท.๑-๓)/หน ปฏิบัติงานที่ต้องใช้เทคนิคพิเศษ ผลของการพัฒนาระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำใหม่ ๑. ทางก้าวหน้าชัดเจนยิ่งขึ้น ๒. มีโอกาสเลื่อนสู่ชั้นงาน/ตำแหน่งที่สูงขึ้น ๓. มีแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองเพื่อก้าวสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น ๔. มีโอกาสได้รับค่าตอบแทนสูงขึ้น ๕. เกิดความเป็นธรรม/ไม่ลักลั่นในการบริหารงานบุคคล ส่วนที่ ๓ การปรับตำแหน่งลูกจ้างประจำเข้าสู่ระบบใหม่ ตาม ว ๕/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ *มอบอำนาจให้ส่วนราชการบริหารอัตรากำลังลูกจ้างประจำเกี่ยวกับการปรับระดับ ตำแหน่ง การเปลี่ยนตำแหน่ง และการตัดโอนตำแหน่ง โดยจะต้องไม่เป็นการเพิ่มจำนวนลูกจ้างประจำ ตาม ว ๔/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ * ให้ส่วนราชการหยุดการดำเนินการเกี่ยวกับการปรับระดับตำแหน่ง เปลี่ยนตำแหน่ง และตัดโอนตำแหน่ง ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ได้มอบอำนาจให้ส่วนราชการดำเนินการตาม ว ๕/๒๕๔๗ ตาม ว๑๔/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๓ * แจ้งเวียนส่วนราชการให้ทราบถึงการจัดระบบตำแหน่งใหม่ประกอบด้วยเอกสารดังนี้ ๑. รายชื่อตำแหน่งลูกำจ้างประจำตามกลุ่ม ๒. หน้าที่โดยย่อ ๓. ตารางเปรียบเทียบตำแหน่งระบบใหม่กับระบบเดิม ตาม ว ๒๑/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ • มอบอำนาจให้ส่วนราชการบริหารอัตรากำลังลูกจ้างประจำเกี่ยวกับการปรับ ระดับตำแหน่ง การเปลี่ยนตำแหน่ง และการตัดโอนตำแหน่งได้ ภายหลังจาที่การจัดตำแหน่งลูกจ้างประจำของส่วนนราชการ ตามระบบใหม่เสร็จสมบูรณ์แล้ว • การบริหารอัตรากำลังลูกจ้าง – การปรับระดับชั้นงาน – การเปลี่ยนสายงาน(ชื่อตำแหน่ง) และกลุ่มงาน – การตัดโอนตำแหน่ง – ให้ส่วนราชการจัดทำรายละเอียดคำบรรยายลักษณะงานแบบ ลปจ. ๑ – ส่วนราชการสามารถดำเนินการบริหารลูกจ้างได้ – การแต่งตั้งลูกจ้างประจำให้ดำรงตำแหน่งจากผลของการปรับระดับชิ้นงาน ของตำแหน่ง การเปลี่ยนสายงาน กลุ่ม ให้ดำเนินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด การจัดจำแนกลูกจ้างประจำเข้าระบบ ส่วนราชการได้ประโยชน์ – สามารถเลือกสรรจัดคนให้เหมาะสมตรงกับตำแหน่งที่ปฏิบัติงานอยู่ – บริหารอัตรากำลังลูกจ้างได้อย่างเหมาะสม ลูกจ้างได้ประโยชน์ – ความก้าวหน้าหน้าที่การงาน – สามารถปฏิบัติงานได้ตามความถนัด ลูกจ้างประจำเมื่อเปลี่ยนสายงานเปลี่ยนตำแหน่งแล้วต้องปฏิบัติงานให้ ตรงกับตำแหน่งที่เปลี่ยน เพราะเวลาเลื่อนระดับ ต้องใช้ผลงานของตำแหน่งที่ดำรงอยู่เป็นผลงานการประเมินค่างาน สำหรับบัตรลูกจ้างประจำมีอายุการใช้งาน ๖ ปี ให้ใช้อันเดิมไปก่อน ยกเว้นเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ยังเหมือนเดิมได้เฉพาะ หมวดฝีมือขึ้นไปใน อนาคตถ้าออกใหม่น่าจะเป็นค่าจ้างเป็นหลัก ลูกจ้างที่เปลี่ยนตำแหน่งแล้วปฏิบัติงานไม่ตรงกับตำแหน่ง เดิมเคยปฏิบัติตำแหน่งนั้นมา Ex ดำรงตำแหน่ง พนักงานรหัส ปฏิบัติงานด้านนี้มา เป็นเวลา ๓ ปี ปัจจุบันทำงานด้านธุรการ พิมพ์หนังสือราชการ รับ – ส่งหนังสือ ไม่อย่างเปลี่ยนตำแหน่งเอาระยะการทำงานในอดีตมาเกื้อกูลได้ ปฏิบัติงานไม่ตรงกับตำแหน่งเลย ต้องให้ลูกจ้างไปปฏิบัติงานในหน้าที่ตำแหน่งที่ดำรงอยู่บ้าง อย่างน้อยอาทิตย์ละ ๑-๒ วัน เพื่อเอาเนื้องานไปประเมินเมื่อเลื่อนระดับ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              กฎระเบียบ ขั้นตอน กระบวนการ การดำเนินการ เรื่อง การพัฒนาระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำของทางราชการ และการจัดระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำใหม่


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การบริหารจัดการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำ

(307)

Comments are closed.