หลักสูตรผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน

หลักสูตรผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน
ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ
  กลุ่มงาน :  รองวิชาการ
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 17 ม.ค. 2554   ถึงวันที่  : 20 ม.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  สงขลา
  เรื่อง/หลักสูตร :  หลักสูตรผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน
  วันที่บันทึก  8 มี.ค. 2554


 รายละเอียด
               วิทยากร ผศ.ดร.จินดา งามสุทธิ บรรยาย “การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในรับอุดมศึกษาในบริบทใหม่” โดยใช้คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓ ฉบับเดือนมกราคม ๒๕๕๔ กล่าวถึง เงื่อนไขสำคัญในการจัดระบบ ประกันคุณภาพอุดมศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๓ ต้องคำนึงถึง พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ แผนอุดมศึกษาระยะยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๖๕) กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยสถาบันอุดมศึกษาต้องรับผิดชอบจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ โดยจัดให้มีการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่ง ของการปฏิบัติงานประจำตามปกติ (IQA) แนวทางการพัฒนาคุณภาพในสาระสำคัญบางประเด็นจากแผน ๑๕ ปี ประเด็นที่ ๑) เพื่อแก้ปัญหาการไร้ทิศทาง ความซ้ำซ้อน การขาดคุณภาพ และการขาดประสิทธิภาพ ให้พัฒนาจัดสถาบันอุดมศึกษาเป็น ๔ กลุ่ม ซึ่งวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก จะอยู่ในกลุ่ม ค๒ สถาบันเฉพาะทางเน้นระดับปริญญาตรี ระบบประกันคุณภาพภายใน ในความรับผิดชอบของกกอ.: กำหนดกรอบนโยบาย หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในประกันคุณภาพภายใน ภายใต้ ๙ องค์ประกอบคุณภาพ ประกอบด้วย ๑) พัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินในแต่ละองค์ประกอบ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถประเมินตนเองในทุกมิติของการบริหารการศึกษา ๒) กำหนดแนวทางการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพการศึกษาโดยเริ่มจากระดับสาขา วิชา/ภาควิชา คณะ และสถาบัน ๓) สกอ./ต้นสังกัด ติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสาม ปี ๔) สกอ.นำผลการประเมินประกอบการรับรองวิทยฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎ กระทรวงว่าด้วยการขอให้รับรองและการรับรองวิทยฐานะฯ สำหรับความรับผิดชอบของ สถาบันฯ: พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและแนวทางการดำเนินงานของตนเอง ประกอบด้วย ๑) พัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในภายใต้กรอบนโยบาย หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่ กกอ. กำหนด ๒) สร้างตัวบ่งชี้และเกณฑ์เพิ่มเติมนอกเหนือจากตัวบ่งชี้ของ กกอ. และ สมศ. ที่เหมาะสมกับวิสัยทัศน์และสภาพแวดล้อมของตนเอง ๓) ประเมินตนเองและส่งรายงานประจำปีไปยัง สกอ./ต้นสังกัด ทุกสิ้นปีการศึกษาตามระบบ CHE QA-Online ๔) ติดตามตรวจสอบและพัฒนาตามผลการประเมิน หลักการในการพัฒนาตัวบ่งชี้ประกันคุณภาพ สกอ. ได้แก่ – ตัวบ่งชี้ครอบคลุม ๙ องค์ประกอบคุณภาพและเป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓ – ตัวบ่งชี้ตอบสนองเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ มาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง – ตัวบ่งชี้ประเมินปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิตและผลลัพธ์ โดยตัวบ่งชี้ด้านผลผลิตและผลลัพธ์จะรวมตัวบ่งชี้ของ สกอ.และ สมศ. ทั้งนี้ เพื่อความเชื่อมโยงและเป็นเอกภาพของระบบประกันคุณภาพอุดมศึกษาไทย – ตัวบ่งชี้มีความสมดุลระหว่างมุมมองการบริหารจัดการทั้ง ๔ ด้าน คือ ด้านนักศึกษาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านกระบวนการภายใน ด้านการเงิน และด้านบุคลากร การเรียนรู้และนวัตกรรม – จำนวนตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้น เป็นเพียงจำนวนตัวบ่งชี้ขั้นต่ำสถาบันอุดมศึกษาสามารถเพิ่มเติมตัวบ่งชี้และ เกณฑ์ได้ตามความเหมาะสมกับระดับการพัฒนาของสถาบัน – เกณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมีทั้งประเภทเกณฑ์มาตรฐานทั่วไปที่ใช้กับทุกกลุ่มสถาบัน อุดมศึกษา และเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มเติมเฉพาะกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา ตามนิยามที่กำหนดในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา ประเภทตัวบ่งชี้ ในรอบปีการประเมิน ๒๕๕๓ – ตัวบ่งชี้เชิงคุณภาพจะระบุเกณฑ์มาตรฐานเป็นข้อๆ กำหนดเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้เป็น ๕ ระดับ มีคะแนนตั้งแต่ ๑ ถึง ๕ การประเมินจะนับจำนวนข้อและระบุว่าผลการดำเนินงานได้กี่ข้อ ได้คะแนนเท่าใด กรณีที่ไม่ดำเนินการใดๆ หรือดำเนินการไม่ครบที่จะได้ ๑ คะแนน ให้ถือว่าได้ ๐ คะแนน – ตัวบ่งชี้เชิงปริมาณอยู่ในรูปของร้อยละหรือค่าเฉลี่ย กำหนดเกณฑ์การประเมินเป็นคะแนนระหว่าง ๑ ถึง ๕ โดยเป็นค่าต่อเนื่อง (มีจุดทศนิยม) สำหรับการแปลงผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ (ซึ่งอยู่ในรูปร้อยละหรือค่าเฉลี่ย) เป็นคะแนนทำโดยการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ โดยที่แต่ละตัวบ่งชี้จะกำหนดค่าร้อยละหรือค่าเฉลี่ยที่คิดเป็นคะแนน ๕ ไว้ เกณฑ์การประเมิน  คะแนน ๐.๐๐ – ๑.๕๐ หมายถึง การดำเนินงานต้องปรับปรุงเร่งด่วน  คะแนน ๑.๕๑ – ๒.๕๐ หมายถึง การดำเนินงานต้องปรับปรุง  คะแนน ๒.๕๑ – ๓.๕๐ หมายถึง การดำเนินงานระดับพอใช้  คะแนน ๓.๕๑ – ๔.๕๐ หมายถึง การดำเนินงานระดับดี  คะแนน ๔.๕๑ – ๕.๐๐ หมายถึง การดำเนินงานระดับดีมาก และได้ดำเนินการฝึกการประเมินคุณภาพภายในของ วพบ.สงขลา ตามที่กำหนดในตารางการอบรม


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(342)

Comments are closed.