หลักสูตรผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในขั้นสูง

หลักสูตรผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในขั้นสูง
 ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ
  กลุ่มงาน :  รองวิชาการ
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 28 ม.ค. 2554   ถึงวันที่  : 28 ม.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  หลักสูตรผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในขั้นสูง
  วันที่บันทึก  8 มี.ค. 2554


 รายละเอียด
               ด้านเนื้อหาสาระ – “ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน พ.ศ.๒๕๕๓” มีตัวบ่งชี้ทั้งหมด ๒๓ ตัวบ่งชี้ที่ใช้ร่วมกันทุกกลุ่มสถาบัน และมีตัวบ่งชี้เฉพาะของแต่ละสถาบัน โดยใช้คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓ ฉบับเดือนมกราคม ๒๕๕๔ เน้นที่ Input และ Process มี Output เพียงตัวเดียว (ตัวบ่งชี้ ๒.๘) – เกณฑ์การประเมิน ใช้วิธีการนับรายข้อ ไม่มีการไต่ระดับ – คะแนนตัวบ่งชี้เชิงปริมาณ ใช้ทศนิยม ๒ ตำแหน่ง (ตำแหน่งที่ ๓ เกิน ๕ แล้วปัดขึ้น) – หากคณะใช้กลุ่มสถาบันแตกต่างกับมหาวิทยาลัย ต้องได้รับการอนุมัติจากสภาสถาบันก่อน – ในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ต้องเป็นธรรมชาติ ต้องไม่รู้สึกว่าอึดอัด สถาบันต้องตกลงกันว่า แต่ละคณะต้องรับตัวบ่งชี้อะไรบ้าง ตัวใดเป็นภาพรวมของสถาบัน – ตัวบ่งชี้ ๒.๕ เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถนับ Notebook Netbook Ipod หรือเครื่องอะไรก็ได้ที่นักศึกษาสามารถสืบค้นได้ โดยที่ต้องมีการลงทะเบียนกับทางมหาวิทยาลัยเพื่อเข้าใช้เครือข่ายใน มหาวิทยาลัย – การนับปีการศึกษา ปีงบประมาณ ปีปฏิทิน ในการประเมินคุณภาพ ต้องใช้เลขชุดเดียวกัน เช่น ปี ๒๕๕๓ – ตัวบ่งชี้ ๒.๘ หน่วยงานหรือองค์กรระดับชาติ ต้องระดับกรมขึ้นไป อบจ. ไม่เทียบเท่ากรม (นับไม่ได้) หากเป็นจังหวัด จะเป็นระดับภูมิภาค – ตัวบ่งชี้ ๔.๓ เงินสนับสนุนงานวิจัยฯ นับเงินที่อนุมัติ (ดูวันที่อนุมัติในวงรอบประเมิน) หากต่อเนื่องหลายปี ให้ดูตามข้อตกลงที่เซ็นสัญญา หากไม่มีข้อตกลงให้ใช้จำนวนปีหารเฉลี่ยเท่าๆกัน – ตัวบ่งชี้ ๗.๓ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ ต้องมีแผนระบบสารสนเทศระยะยาว อย่างน้อย ๓ ปี – ตัวบ่งชี้ ๘.๑ ระบบและกลไกการเงินและงบประมาณ ต้องมีแผนกลยุทธ์ทางการเงิน กล่าวถึงการหารายได้อย่างไร ควบคุมรายจ่ายอย่างไร – ระบบ CHE online ใช้เพื่อรายงานการประเมินตนเอง ให้ผู้ตรวจประเมิน โดยรายงานตัวบ่งชี้ สกอ. ๒๓ ตัว และสมศ. ๑๘ ตัวด้วย


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ใช้ในการเตรียมความพร้อมในการรับการประเมินคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอก


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(298)

Comments are closed.