การพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ (TQF)

การพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ (TQF)
 ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ นางธมลวรรณ แก้วกระจก และนางสาวจามจุรี แซ่หลู่
  กลุ่มงาน :  รองวิชาการ
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 11 ม.ค. 2554   ถึงวันที่  : 14 ม.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  ปทุมธานี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ (TQF)
  วันที่บันทึก  8 มี.ค. 2554


 รายละเอียด
               การบรรยายเรื่อง “การจัดการศึกษาการเรียนรู้ในอนาคต” โดย รศ.ดร.วิชัย วงษ์ใหญ่ ที่ปรึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มศว. ๑. การเรียนรู้ในอนาคต ควรการเรียนแบบ Multi Disciplinary Team สอนให้เรียนรู้ที่จะทำงานกับทุกคน ทุกประเภท เป็นทีม และการเรียนรู้กว้างแบบ Liberal Arts มีโครงการให้ทำร่วมกัน การเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือ การเรียนที่จะฟังจากคนอื่นที่เราไม่เชื่อ ฟังเรื่องที่เราไม่เชื่อจากคนที่เราไม่รู้จัก นวัตกรรมจึงจะเกิดขึ้นได้ การศึกษาในอนาคต ต้องสร้างคนแบบใหม่ พร้อมที่จะเป็นผู้นำบนโลกที่ซับซ้อนในอนาคต (Navigating Complex World Liberal Arts) สอนให้คนรู้จักสร้าง มีความเข้าใจโลก เข้าใจการเปลี่ยนแปลง เข้าใจคน มีวิสัยทัศน์กว้างไกลกว่า ซึ่งการศึกษาที่ดี คือ การเรียนรู้ที่จะเรียน เพราะทุกวันนี้โลกเปลี่ยนไป อะไรที่ดำรงอยู่ในวันนี้อาจล้าสมัยได้เสมอ เพราะฉะนั้นการมีวิสัยทัศน์กว้างไกล จะช่วยให้เราพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้เสมอ ทำอะไรใหม่ๆ เสมอ ทุกวันคือการเรียนรู้ใหม่ และการเรียนรู้ต้องทำตลอดชีวิต การสอนต้องเน้นที่ความเข้าใจใน concept และการแสดงความคิดเห็น รู้จักวิเคราะห์ ความรู้จากหลายด้านที่เรียนมาบูรณาการ นำไปประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์ปัจจุบัน การปรับกระบวนทัศน์ทางการศึกษา เพื่อมุ่งให้คนมีคุณภาพ ต้องกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ฐานคิดการพัฒนาหลักสูตร มีดังนี้ – มุมมองจากผู้เรียน (Demand side) – มุมมองจากผู้ให้บริการ (Supply side) – การศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างหลักสูตร (Feasibility Study) การวิจัยเพื่อหาความต้องการสร้างหลักสูตรใหม่ – การปรับปรุงหลักสูตรต้องมีผลการประเมินหลักสูตรเดิม เพื่อเป็นฐานข้อมูล (based – line data) ในปรับปรุงหลักสูตร – การพัฒนาหลักสูตรทำโดยคณะกรรมการ มีสัดส่วนองค์ประกอบของคณะกรรมการที่มีความเชี่ยวชาญเหมาะสมกับหลักสูตรที่ จะสร้าง (ผู้จ้างงานได้คน บัณฑิตได้งานทำ) ๒. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาหลักสูตร ได้แก่ – ปัจจัยภายนอก เช่น ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจถดถอยของโลก การเคลื่อนย้ายของประชากร แรงกดดันทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ทำให้วิทยาลัยต้องปรับโครงสร้าง ปรับเปลี่ยนนโยบายการบริหารการศึกษา งบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ ไม่เพียงพอที่จะทำให้วิทยาลัยพัฒนาตนเองไปสู่ระดับแนวหน้าของโลกได้ – ปัจจัยภายใน เช่น คุณลักษณะของอาจารย์ในระดับอุดมศึกษา ได้แก่ ๑)เป็นนักวิชาการ นักวิจัยมืออาชีพและมีความเป็นครู ๒)ให้บริการทางวิชาการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ๓)เป็นสมาชิกสมาคมวิชาชีพ เป็นผู้นำด้านความก้าวหน้าทางวิชาการ และวิชาชีพในสาขาที่ชำนาญ ๔)สามารถจัดการเรียนการสอนที่เน้นการวิจัยเป็นฐาน ๕)ดำรงตนอย่างมีศักดิ์ศรี สมกับเป็นอาจารย์ระดับอุดมศึกษา และ ๖)ต้องได้รับการประเมินงานของอาจารย์ในทุกมิติ ด้วยวิธีการที่เป็นระบบและยืดหยุ่น – ปัจจัยกำหนดด้านผู้เรียน ๓. แนวคิดหลักการของการพัฒนาหลักสูตร และการจัดการศึกษา การศึกษาระดับอุดมศึกษา วิชาการศึกษาทั่วไป (General Education) มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ สะท้อนอัตลักษณ์ของสถาบัน (Brand) การจัดการเรียนการสอนจะต้องบ่มเพาะคุณลักษณะมากกว่าเนื้อหาสาระ (มุ่งสร้างคนดี) สำหรับวิชาแกน (core course) ระดับบัณฑิตศึกษา มุ่งสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยง สร้างกระบวนทัศน์ การคิด และมุมมองใหม่ รวมทั้งระเบียบวิธี Methodology ลักษณะหลักสูตร ต้องสอดคล้องกับกลุ่มผู้เรียนเป้าหมาย พัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ และคุณลักษณะทางวิชาชีพ การอภิปรายเรื่อง “ผลการสังเคราะห์ปรัชญา โครงสร้างหลักสูตรพยาบาลศาสตร์” ดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์พจนา ปิยะปกรณ์ชัย ๑. ปรัชญาหลักสูตร สถาบันพระบรมราชชนก มีความเชื่อว่ามนุษย์มีศักยภาพในการดูแลตนเองและการพยาบาลเป็นปฏิสัมพันธ์ ระหว่างพยาบาลกับผู้ใช้บริการบนพื้นฐานการดูแบบเอื้ออาทร (Caring) ประกอบด้วยความเอื้ออาทรเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Caring) และความเอื้ออาทรเชิงความเป็นมนุษย์ (Humanistic Caring) รวมทั้งศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมาใช้เชื่อมโยงในการดูแลสุขภาพของบุคคล ครอบครัว ชุมชน ภายใต้บริบทและวัฒนธรรมที่หลากหลาย การจัดการศึกษาพยาบาลเป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยบูรณาการ ศาสตร์ทางการพยาบาล (Professional meaning) ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการเรียนรู้เกี่ยวกับผู้ใช้บริการ (Client Meaning) ในเชิงสังคมวิทยา มนุษยวิทยามีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน ผู้สอนและผู้ใช้บริการบนพื้นฐานความเอื้ออาทรภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ การเรียนรู้จากสภาพจริงด้วยวิธีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายเพื่อให้ได้ บัณฑิตมีความรู้ความสามารถเชิงวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะทางปัญญา ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและทักษะการปฏิบัติการพยาบาลรวมทั้งมีภาวะผู้นำ สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม ๒. โครงสร้างหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ เดิม ใหม่ หมายเหตุ หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป ๓๐ หน่วยกิต ๓๑ หน่วยกิต กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ๖ หน่วยกิต คงเดิม วค.๑๑๐๑ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ๓ (๓-๐-๖) คงเดิม วค.๑๑๐๒ เทคโนโลยีสารสนเทศและสิ่งแวดล้อม ๒ (๒-๐-๔) คงเดิม วค.๑๓๐๓ สถิติพื้นฐาน ๑ (๑-๐-๒) คงเดิม กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ๑๓ หน่วยกิต ๑๐ หน่วยกิต สม.๑๑๐๑ มนุษย์กับการอยู่ร่วมกัน ๓(๓-๐-๖) สม.๑๑๐๑ มนุษย์กับการอยู่ร่วมกัน ๒ (๒-๐-๔) ลดลง ๑ หน่วยกิต สม.๑๑๐๓ ทักษะชีวิต ๓(๓-๐-๖) สม.๑๑๐๓ ทักษะชีวิต ๒ (๒-๐-๔) ลดลง ๑ หน่วยกิต สม.๑๑๐๒ การพัฒนากระบวนการคิด ๒(๒-๐-๔) คงเดิม สม.๑๑๐๔ พฤติกรรมมนุษย์ ๓ (๓-๐-๖) สม.๑๑๐๔ พฤติกรรมมนุษย์ ๒ (๒-๐-๔) ลดลง ๑ หน่วยกิต สม.๑๑๐๕ ภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิต๒(๒-๐-๔) คงเดิม กลุ่มวิชาภาษา ๙ หน่วยกิต ๑๕ หน่วยกิต ภ.๑๑๐๑ ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ๓(๓-๐-๖) คงเดิม ภ.๑๑๐๒ ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ๓ (๒-๒-๕) คงเดิม ภ.๑๒๐๓ ภาษาอังกฤษพื้นฐานเชิงวิชาการ ๓ (๒-๒-๕) คงเดิม ภ.๑๓๐๔ ภาษาอังกฤษเชิงวิชาชีพ ๓(๒-๒-๕) ย้ายจากกลุ่มพื้นฐานวิชาชีพ ภ.๑๔๐๕ ภาษาอังกฤษก้าวหน้า ๓(๑-๔-๔) เปิดใหม่ กลุ่มวิชาพลานามัยและสันทนาการ ๒ หน่วยกิต พส.๑๑๐๑ พลานามัยและสันทนาการ ๑(๐-๔-๐) ยกเลิก พส.๑๑๐๒ อาหารกับสุขภาพ ๑(๑-๐-๒) หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มพื้นฐานวิชาชีพ ๒๙ หน่วยกิต ๒๘ หน่วยกิต พว…..จุลชีวและปรสิตวิทยา ๒(๒-๒-๕) พว….จุลชีวและปรสิตวิทยา ๓ (๒-๒-๕) เพิ่ม ๑ หน่วยกิต พว….กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา๑ ๓(๒-๒-๕) คงเดิม พว….กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา๒ ๓(๒-๒-๕) คงเดิม พว…..ชีวเคมี ๒(๑-๒-๓) พว…..ชีวเคมี ๒(๒-๐-๔) ไม่มีทดลอง พว…..เศรษฐศาสตร์กับระบบสุขภาพ ๒(๒-๐-๔) คงเดิม พว…..เภสัชวิทยา ๓(๓-๐-๖) คงเดิม พว…..พยาธิสรีรวิทยา ๓(๓-๐-๖) คงเดิม พว…..โภชนบำบัด ๒(๑-๒-๓) พว…..โภชนบำบัด ๓(๒-๒-๕) เพิ่ม ๑ หน่วยกิต พว.๑๑๐๓ มนุษย์ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ๒(๒-๐-๔) คงเดิม พว.๑๑๐๗ จิตวิทยาพัฒนาการของมนุษย์ ๑(๑-๐-๒ ) คงเดิม พว.๑๓๑๓ ภาษาอังกฤษเชิงวิชาชีพ ๓(๒-๒-๕) ยกเลิก ย้ายกลุ่มวิชาภาษา พว.๑๑๐๔ ฟิสิกส์ทางการพยาบาล ๒(๑-๒-๓) คงเดิม พว…..ระบาดวิทยาและชีวสถิติสำหรับพยาบาล ๑(๑-๐-๕) คงเดิม แผนการดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๕ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขั้นตอน กิจกรรม/การดำเนินการ ระยะเวลา ๑. แต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตร -ทาบทามคณะกรรมการ และเสนอมหาวิทยาลัยเพื่อดำเนินการแต่งตั้ง ตุลาคม ๒๕๕๓ ๒. “ร่าง” หลักสูตรพยาบาลศาสตร -ประชุมวางแผนการดำเนินการ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ บัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. -พิจารณาปรับปรุงหลักสูตรตาม TQF ๒๐-๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๒๕๕๕ -จัดทำ “ร่าง” หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๕ ๐๗-๒๑ มกราคม ๒๕๕๔ ๐๔-๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ -จัดทำประชาพิจารณ์ ๐๘ มีนาคม ๒๕๕๔ -ปรับปรุง “ร่าง” หลักสูตร ๐๘-๒๒ เมษายน ๒๕๕๔ ๓. ส่ง “ร่าง” หลักสูตรฯ ให้คณะศิลปศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และงานหลักสูตรและพัฒนา (กบศ.) -คณะศิลปศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และงานหลักสูตรและพัฒนา (กบศ.) พิจารณาให้ความเห็นชอบรายวิชาที่เกี่ยวข้อง พฤษภาคม ๒๕๕๔ ๔. นำเสนอ “ร่าง” หลักสูตรฯ ในที่ประชุม คณะกรรมการศึกษาระดับปริญญาตรี และคณะกรรมการประจำคณะฯ -คณะกรรมการศึกษาระดับปริญญาตรี และคณะกรรมการประจำคณะพยาบาลศาสตร์ พิจารณาให้ความเห็นชอบ “ร่าง” หลักสูตรฯ มิถุนายน ๒๕๕๔ ๕. เสนอ “ร่าง” หลักสูตรฯ ในที่ประชุม คณะกรรมการวิชาการมหาวิทยาลัย -คณะกรรมการวิชาการมหาวิทยาลัยพิจารณาให้ความเห็นชอบ “ร่าง” หลักสูตร กรกฎาคม ๒๕๕๔ ๖. เสนอ “ร่าง” หลักสูตรฯ ต่อคณะกรรมการสภาวิชาการ -สภาวิชาการ พิจารณาให้ความเห็นชอบ “ร่าง” หลักสูตร สิงหาคม ๒๕๕๔ ๗. เสนอ “ร่าง” หลักสูตรฯ ต่อสภามหาวิทยาลัย -สภามหาวิทยาลัย พิจารณาให้ความเห็นชอบ “ร่าง” หลักสูตร กันยายน ๒๕๕๔ ๘. เสนอหลักสูตรฯ ต่อสภาการพยาบาล และ สกอ. -สภาการพยาบาล พิจารณาให้ความเห็นชอบหลักสูตร -สกอ. พิจารณาให้ความเห็นชอบหลักสูตร ตุลาคม ๒๕๕๔ – มกราคม ๒๕๕๕ มกราคม ๒๕๕๕ การประกันคุณภาพหลักสูตร -KPI ๑๕ ข้อ ใช้เกณฑ์การประเมิน ๒ ระดับ ได้แก่ ผ่านระดับดี = KPI ๑ – ๑๐ ผ่านทุกข้อ และโดยภาพรวมผ่านร้อยละ ๘๐ ไม่ผ่าน = KPI ๑ – ๑๐ ไม่ผ่าน และโดยภาพรวมผ่านน้อยกว่าร้อยละ ๘๐ การพิจารณารายวิชา เลือกเสรี ต้องมี ๓ เท่าของ ๖ หน่วยกิต (๑๘ หน่วยกิต) ให้แต่ละ วพบ. เขียน “ร่าง” คำอธิบายรายวิชา และ มคอ.๓ ประชุมวันที่ ๒๑-๒๓ ก.พ.๕๔ ณ วพบ.สงขลา ล.๑๐๐๑ ศิลปะวิจักษณ์ วพบ.สฎ ล.๑๐๐๒ สารสนเทศทางการพยาบาลและการสืบค้น ยกเลิกรายวิชา (ย้ายหมวดวิชา) ล.๑๐๐๓ ปรัชญาและศาสนาสำหรับพยาบาล ยกเลิกรายวิชา ล.๑๐๐๔ ทักษะการปฏิบัติทางการพยาบาล วพบ.ตรัง ล.๑๐๐๕ หลักรัฐศาสตร์เบื้องต้นและการปกครองของไทย วพบ.สข ล.๑๐๐๖ เพศศึกษากับครอบครัว วพบ.ตรัง ล.๑๐๐๗ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ วพบ.นคร ล.๑๐๐๘ เทคโนโลยีทางการศึกษา วพบ.ยะลา ล.๑๐๐๙ พืชสมุนไพร ยกเลิกรายวิชา ล.๑๐๑๐ ธุรกิจเบื้องต้นในการบริการสุขภาพและการตลาด วพบ.สฎ ล.๑๐๑๑ การนวดแผนไทยเพื่อการบำบัด วพบ.สข ล.๑๐๑๒ การศึกษาอิสระ วพบ.สฎ ล……….. พฤติกรรมสุขภาพกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม เพิ่มรายวิชา วพบ.ยะลา ล……….. การดูแลสุขภาพแบบผสมผสาน เพิ่มรายวิชา วพบ.นคร การดำเนินงานต่อไป รวบรวมหลักสูตรแกนกลาง และ KPI สบช. = จะจัดทำคู่มือหลักสูตร วิทยาลัย = จะดำเนินการต่อไป การจัดทำ มคอ. ๒ มคอ. ๓ มคอ.๔ ฉบับสมบูรณ์ โดยผ่านการเสนอแนะของผู้แทนสภาฯ และผู้ทรงคุณวุฒิ งานที่ต้องส่ง สบช. มคอ. ๒ ก่อนส่งสภามหาวิทยาลัยเพื่อให้ สบช. รับทราบ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน พัฒนาหลักสูตร


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(408)

Comments are closed.