Author Archives: admin

การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)

การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)

การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)

การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งสมมติฐาน สาเหตุและกลไกของการเกิดปัญหานั้น ค้นคว้าความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับปัญหา เพื่อจะนำไปสู่การแก้ปัญหาต่อไปโดยผู้เรียนอาจจะไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆมาก่อน แต่อาจให้ความรู้ที่ผู้เรียนมีอยู่เดิมหรือเคยเรียนมา วิธีการเรียนรู้ตามแนวทางที่มีลักษณะที่สำคัญคือ

1. การเรียนรู้ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นๆ เน้นกระบวนการคิดอย่างมีระบบเป็นเหตุผล

2. เนื้อหาวิชาจะเป็นลักษณะของการบูรณการ (Integration) โดยผสมผสานเนื้อหาของหลายๆ วิชาเข้าด้วยกันเพื่อที่จะอธิบายปัญหา

3. เรียนเป็นกลุ่มย่อย โดยมีอาจารย์ประจำกลุ่ม (Facilitation) เป็นผู้สนับสนุนและกระตุ้นนักศึกษาต้องร่วมกันสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในกลุ่ม

4. การเรียนรู้และค้นคว้าหาความรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตนเองหรือกลุ่มตั้งไว้ (Self-directed learning)

สรุปจากการ ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ด้านการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี  17-19 มีนาคม 2558 โดย นางสาวสุธาสินี เจียประเสริฐ

Read the rest of this entry (3063)

หลักการเขียน อ่านภาษาอังกฤษ

หลักการเขียน อ่านภาษาอังกฤษ

Part of grammar and writing

ประโยคในภาษาอังกฤษ

ประเภทของคำในประโยคภาษาอังกฤษ

1. Verb กิริยา คำที่แสดงการกระทำ เช่น  (to) be, have, do, like, work, sing, can, must

2. Noun คำนาม คือคำที่แทนสิ่งต่างๆ เช่น  คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ เช่น pen, dog, work, music, town, London, teacher, John

3. Adjective คำขยาย(บรรยาย)คำนาม  เช่น  a/an, the, some, good, big, red, well, interesting (มักอยู่หน้าคำนาม)

4. Adverb คำขยาย Verb, Adjective หรือขยาย Adverb เอง มักลงท้ายด้วย -ly เช่น quickly, silently, well, badly, very, really (มักอยู่หน้า verb หรืออยู่ท้ายประโยค)

5. Pronoun คำสรรพนาม เอาไว้พูดแทนคำนามที่พูดไปแล้ว เช่น  I, you, he, she, some

6. Preposition คำบุพบท ใช้เชื่อมคำนามกับคำนามอื่น เช่น in, on, at, to, after, under, over, from (มักอยู่หลังคำนามที่มันไปขยาย) Read the rest of this entry (3673)

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ULIBM6

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ULIBM6

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ULIBM6

ULIBM6 (Union  Library  Management) เป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติ  ULIBM เวอชั่นล่าสุดจากผู้พัฒนา มีโมดูลใหม่ๆเข้ามามากมาย คือ

1. หน้าเว็บการสีบค้นผ่านมือถือ โดยเมือผุ้ใช้งานสืบค้นผ่านอุปกรณ์สมาร์ทโฟน ระบบจะโหลดหน้าเว็บแบบโมบายโฟนให้อัตโนมัติเลย ซึ่งใช้งานง่าย รวดเร็ว

2.การกำหนดสิทธ์การใช้งานใหม่

3.การปรับแต่งหน้าเว็บรูปแบบใหม่

4.ระบบการกำหนดสิทธ์แบบใหม่

5.ปรับเพิ่มฐานข้อมูล

6.การยืมคืนโดยใช้ระบบ RFID

การอัพเดทจากเวอชั่น 5.75 เป็นเวอร์ชั่น 6.0

ขั้นตอนที่ 1

1.นำโปรแกรมเวอร์ชั่น 6 ไว้ที่เซิฟเวอร์

2.สร้างฐานข้อมูลใหม่ไม่ให้เหมือนของเวอรชั้่นเดิม

ขั้นตอนที่ 2

1.เข้าไปที่โปรแกรมเวอร์ชั่นใหม่ โดยเจ้าหน้าที่สูงสุด

2.คลิก เมนู อัพเกรด Varoiableเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด  แล้วจะมีหน้าให้ใส่ ข้อมูลต่างๆของฐานข้อมูลเดิม

ตามด้วยคลิก connect

3.คลิก เมนู ปรับ ULIBM เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด จะมีหน้าให้ใส่ข้อมูลของฐานข้อมูลเวอร์ชั่นเดิมเพื่อดึงมาใส่ในเวอร์ชั่นใหม่

ระบบจะใช้เวลานานหน่อย

ขั้นตอนที่ 3

การนำข้อมูลไฟล์ต่างๆจากเวอร์ชั่นเดิมมาใส่เวอร์ชั่นใหม่

_fulltext

_globalupload

_tmp

pic

web/_files––

เสร็จสิ้นขั้นตอนกาารับอัพเดทเวอร์ชั่น

 

1. การกำหนดสิทธิ์การเข้าใช้งาน

เจ้าหน้าที่สูงสุด

1.เข้าระบบด้วยเจ้าหน้าที่สูงสุด

2.จัดการรายชื่อเจ้าหน้าที่สูงสุด

3.เพิ่มแก้และแก้ไขเจ้าหน้าที่สูงสุดได้ โดยสามารถเพิ่มเจ้าหน้าที่สูงสุดได้หลายคน

เจ้าหน้าที่ห้องสมุด

1. เข้าระบบด้วยเจ้าหน้าที่สูงสุด

2. จัดการรายชื่อเจ้าหน้าที่ห้องสมุด

3. เพิ่มและแก้ไข รายชื่อเจ้าหน้าที่ห้องสมุด พร้อมกับกำหนดสิทธ์ต่างๆ

2. การจัดการหมวดหมู่ของฐานข้อมูล

คือการจัดหมวดหมู่ของสื่อห้องสมุดให้บริการเช่น รูปภาพ  เพลงและไฟล์เสียง คลิปภาพยนตร์ เพื่อให้เป็นหมวดหมู่ง่ายต่อการจัดการ การค้นหา

3. การจัดการฐานข้อมู

คือการจัดการแก้ไขต่างของสื่อห้องสมุดต่างๆในส่วนของรายละเอียดปลีกย่อย (จากข้อ 2)ให้มีรายละเอียดต่างๆเพิ่มมากขึ้นในรูปแบบของ metadata 15 element

4. การปรับแต่งการแสดงผล

คือการปรับแต่งหน้าเว็บที่เป็นหน้าสืบค้น ที่ผู้ใช้งานมองเห็นเวลาใช้งาน  ซึ่งสามารถกำหนดและปรับแต่งได้ดังนี้คือ

1.สีหลัก สีรอง ของหน้าเว็บ

2.รายการแนะนำ

3.สื่อใหม่

4.รายละเอียดสมาชิก

5.ผลการสืบค้น

5. การกำหนดสิทธิ์การเข้าชม

เป็นการกำหนดสิทธิในการเข้าเว็บสืบค้น  ที่สามารถเข้ามาใช้งานได้โดยไม่ต้องล็อกอินเข้าระบบ

ก็จะเป็นการตั้งค่าให้เป็นหมายเลขไอพีของหน่วยงาน

สรุปจากการ ประชุมเชิงปฏิบัติการระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ULIBM6 27-30 เมย 58 ณ โรงแรมบีพีเชียงใหม่ซิตี้ โดย นายวิชัย จิรวัฒนกูลชัย นางสาวอมรรัตน์ ชูปลอด
(755)

โรคเรื้อรังกับยาสูบ: บทบาทพยาบาล

โรคเรื้อรังกับยาสูบ: บทบาทพยาบาล

โรคเรื้อรังกับยาสูบ: นโยบายสู่การปฏิบัติ

          นโยบายเพื่อช่วยควบคุมการระบาดของยาสูบขององค์การอนามัยโลก มีชื่อว่า ยุทธศาศตร์เอ็มพาวเวอร์ (WHO’s  MPOWERM strategy) ประกอบด้วย

          1. การควบคุมติดตามการใช้ยาสูบและการป้องกัน   (Monitoring tobacco use and prevention)

          2. การปกป้องผู้คนจากควันบุหรี่ (Protecting people from tobacco smoke)

          3. การเสนอให้ความช่วยเหลือเพื่อเลิกสูบบุหรี่ (Offering help to quit tobacco use)

          4. การเตือนผู้คนเกี่ยวกับอันตรายขอบงยาสูบ (Warning people about the dangers of tobacco)

          5. การบังคับใช้การห้ามโฆษณายาสูบ การโปรโมตและการอุปถัมภ์ (Enforcing bans on tobacco advertising promotion and sponsorship)

          6. การขึ้นภาษีบุหรี่ (Raising taxes on tobacco) Read the rest of this entry (767)

หลักการข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

หลักการข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

หลักการข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดพฤติกรรมที่เกี่ยวกับความคิด (thinking) ซึ่งเป็นความสามารถทางสมองหรือด้านสติปัญญา เป็นลักษณะที่เกี่ยวกับวิชาการ หรือที่เรียกว่าพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย (Cognitive domain) เป็นพฤติกรรมที่เป็นผลการเรียนของผู้เรียน และเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของการศึกษา เพื่อต้องการตัดสินว่าในการเรียนการสอนผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนหรือเกิดการพัฒนางอกงานขึ้นมาจากการฝึกฝนอบรมสั่งสอนระดับใด ทั้งนี้การวัดผลการเรียนรู้ในสถาบันการศึกษาระดับต่าง ๆ จะใช้ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นเครื่องมือที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และนิยมใช้เป็นเครื่องมือหลักสาหรับการวัดผลการเรียนรู้ ในการสร้างข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ให้มีคุณภาพนั้น นอกจากจะต้องคำนึงถึงความครอบคลุมเนื้อหาและใช้คาถามที่ดีแล้ว จำเป็นต้องคำนึงถึงพฤติกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เป็นจุดมุ่งหมายของหลักสูตร กล่าวคือ ต้องพยายามเขียนคำถามวัดพฤติกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของรายวิชานั้น ๆ ด้วย ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวสามารถแบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ ๆ ได้ ๖ ชนิด ตามที่บลูมและคณะ (Bloom, B.S. et.al.,๑๙๕๖) ได้จำแนกไว้ และแต่ละชนิดยังแบ่งเป็นพฤติกรรมย่อย ๆ อีก ดังนี้ Read the rest of this entry (5644)