Author Archives: admin

การจัดทำแผนการปรับหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดม ศึกษา (TQF) ครั้งที่ ๑

การจัดทำแผนการปรับหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดม ศึกษา (TQF) ครั้งที่ ๑
 ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ และนางเกษรา วนโชติตระกูล
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 4 มี.ค. 2553   ถึงวันที่  : 5 มี.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การจัดทำแผนการปรับหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดม ศึกษา (TQF) ครั้งที่ ๑
  วันที่บันทึก  16 มี.ค. 2553


 รายละเอียด
               ก. การบรรยายของอาจารย์พจนา ปิยะปกรณ์ชัย (ที่ปรึกษาสบช.) เกี่ยวกับระบบการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผู้เรียน ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (Learning outcome) ข. นำเสนอผลการปรับหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต พ.ศ.๒๕๕๒ ของแต่ละเครือข่าย พบว่า ทุกเครือข่ายได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาลแล้ว ค. ประชุมกลุ่มแยกตามเครือข่ายวิทยาลัย วิเคราะห์ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ กับมาตรฐานผลการเรียนรู้ (LO) และนำเสนอพิจารณาร่วมกันเป็นภาพรวมของสบช.


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การวิเคราะห์ความสอดคล้องของมาตรฐานผลการเรียนรู้ (LO)ระดับอุดมศึกษา แห่งชาติ สาขาพยาบาลศาสตร์ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร รายวิชาต่างๆ


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              ระบบการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผู้เรียน ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (Learning outcome)

(288)

การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่เน้นหัวใจความเป็นมนุษย์

การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่เน้นหัวใจความเป็นมนุษย์
 ผู้บันทึก :  นางรัถยานภิศ พละศึก
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 1 ก.พ. 2553   ถึงวันที่  : 2 ก.พ. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
  จังหวัด :  นครศรีธรรมราช
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่เน้นหัวใจความเป็นมนุษย์
  วันที่บันทึก  24 มี.ค. 2553


 รายละเอียด
               ความเข้าใจมนุษย์ เป็นการทำความเข้าใจกับชีวิตตามความเป็นจริงของบุคคล ดังนั้น การเรียนรู้ที่เน้นหัวใจความเป็นมนุษย์เป็นการเรียนจากความเป็นจริงในชีวิต ของบุคคล จึงจำเป็น ที่ผู้เรียนต้องมีข้อมูลที่เป็นความจริงในการดำเนินชีวิตของบุคคล นำไปสู่การวิเคราะห์ การทำความเข้าใจบุคคลตามบริบทสภาพแวดล้อมของเขา สร้างบทเรียนที่ได้จากชีวิตเขา ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับการเรียนตามทฤษฎีที่มีกรอบของทฤษฎีไป ทำความเข้าใจกับชาวบ้านโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น การวินิจฉัยปัญหาก็เป็นปัญหาตามทฤษฎี ไม่ใช่ปัญหาจริงของชาวบ้าน การสร้างการเรียนรู้ก็สร้างบนกรอบทฤษฎี ซึ่งไม่ได้ทำให้เกิดคุณค่าทางปัญญา แสดงให้เห็นถึงการมีกรอบในการทำความเข้าใจบุคคล ในการจัดการเรียนการสอน ครูต้องควบคุมให้ดีว่าขณะนี้กำลังมุ่งประเด็นการวิเคราะห์ ไปที่เป้าหมายใด หรือขอบเขตใดของการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายในการวิจารณ์การเรียนรู้มี ๓ ขอบเขต ๑. เป้าหมายอยู่ที่ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ การดึงประเด็นในของเขตนี้เป็นขั้นพื้นฐาน โดยเน้นว่าข้อมูลมีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด ยังมีส่วนไหนที่ต้องเพิ่มเติม การดึงประเด็น ในขอบเขตนี้ทุกครั้งที่เข้ากลุ่มจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย และไม่ได้เรียนรู้ส่วนอื่น ๆ เพิ่มเติม พร้อมทั้งไม่ได้ตระหนักรู้ถึงแนวทางการเก็บข้อมูลที่เน้นสภาพจริง ๒. เป้าหมายอยู่ที่สาระ คือ ส่วนที่เป็นชีวิตคนซึ่งเป็นการขยับขึ้นมาอีกหนึ่งระดับ การวิจารณ์ขอบเขตนี้จะเกี่ยวกับเรื่องราว สุข ทุกข์ ของชาวบ้าน ซึ่งหากข้อมูลที่ได้มาไม่ใช่ความจริง การวิจารณ์และการเรียนรู้ก็ไม่ใช่เป็นการเรียนรู้ชีวิตจริงของบุคคลเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะพบว่านักศึกษาจะได้ข้อมูลโดยหาหัวข้อจากตำรา จากประสบการณ์ หรือความคิดของตนเอง เป็นกรอบในการเก็บข้อมูล จึงเป็นอุปสรรคอย่างมากในการเรียนรู้ตามสภาพจริงเพราะไม่ได้ข้อมูลที่เป็น ความจริง ๓. เป้าหมายอยู่ที่ความคิดของนักศึกษา โดยชี้ให้เห็นว่าตรงไหนเป็นข้อมูลของนักศึกษา (ข้อมูลที่เกิดจากการเอาทฤษฎีหรือคือกรอบเป็นตัวตั้งในการตั้งคำถาม ลักษณะของข้อมูลจะได้มาเป็นท่อน ๆ มองไม่เห็นความเป็นมา และความเป็นไปของบริบทที่ก่อให้เกิดพฤติกรรม และขาดความเชื่อมโยงกับความจริงในการดำเนินชีวิต) การวิจารณ์ในขอบเขตนี้จัดได้ว่าเป็นการวิจารณ์ที่มีคุณค่า และมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ตามสภาพจริง ครูจึงต้องฝึกทำความเข้าใจในข้อมูล ให้ชัดเจน และการดึงประเด็นมาวิจารณ์ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ในแต่ละครั้ง ดังนั้น การเรียนรู้ตามสภาพจริง ครูต้องอธิบายความจริงว่าผู้เรียนเป็นอย่างไร ถ้าอธิบายความจริงเรื่องนี้ไม่ได้ก็ไม่ต่างกับการเรียนทฤษฎี ซึ่งเป็นการเอาทฤษฎีไปอธิบาย นักศึกษาก็เอาทฤษฎีไปให้ชาวบ้าน วิเคราะห์ปัญหาชาวบ้านได้ตามทฤษฎี แก้ปัญหาตามทฤษฎี โดยละเลยความเป็นจริงที่มีอยู่ในชีวิตของชาวบ้าน การแก้ปัญหาข้างต้นที่ง่ายที่สุด คือ อย่าเอาทฤษฎีใด ๆ มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ แต่ให้ดึงจากข้อมูลความเป็นจริงของชีวิตชาวบ้านมาอธิบาย หากครูทำแบบนี้ไม่ได้แสดงว่า ที่เรียนมาก็ไม่สามารถนำมาใช้ได้ นั่นคือครูก็ยังไม่เข้าใจ ในการดึงประเด็น น้ำหนักอยู่ที่ความคิดของนักศึกษา (กรอบ) ว่าขณะเก็บข้อมูลนักศึกษากำลังคิดอะไรอยู่ จึงได้ข้อมูลนั้นมา ส่วนใหญ่ข้อมูลจะเป็นส่วน ๆ แยกออกจากกัน ขาดข้อมูล ที่เชื่อมโยงเข้ามาในชีวิต แล้วขยับไปดึงประเด็นที่นักศึกษาไม่ได้เขียนมาพูดมาสอนย้อนกลับ ก็จะทำให้นักศึกษาตระหนักรู้ว่าเขาควรดำเนินการอย่างไรที่จะเรียนรู้ความ จริงในแต่ละด้านในชีวิตจริงของชาวบ้าน แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาภูมิปัญญาไทยในการดำเนินชีวิต สิ่งสำคัญครูอย่าคิดว่าจะสอนอะไร? แต่ให้คิดว่าในชีวิตจริงมีอะไร? ดังนั้น ต้องเข้าใจ “ความหมาย” ซึ่งเป็นสิ่งที่มี ติดตัวมาแต่เดิมอยู่ก่อนแล้ว ครูจึงต้องรู้และเข้าใจประเด็นหลัก ๆ ตามเหตุการณ์จริงว่ามีอะไรบ้าง ที่ชาวบ้านเรียนรู้ และก่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างไร ? การเรียนรู้ดังกล่าวมีองค์ประกอบของ การเรียนรู้อย่างไร ? เมื่อกล่าวถึงภูมิปัญญา ต้องทำความเข้าใจใน ๒ มิติ คือ ๑) มิติของกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดด้วยปัญญาของคน ซึ่งปัญญาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของมนุษย์ ที่ทำให้คนมีการคิดอย่างมีเหตุผลบนข้อเท็จจริง โดยมีวิชาเป็นตัวนำ (ไม่ได้อยู่ในอวิชา) และโดยธรรมชาติคนทุกคนมีเหตุผล ความรู้สึก และความเชื่อที่ไม่เท่ากัน ทำให้แต่ละคนมีความคิด ความเชื่อ และเหตุผลที่แตกต่างกัน ๒) ผลของการเรียนรู้ (ไม่เกี่ยวกับนิยาม) ซึ่งจะมีความเกี่ยวเนื่องมาจากกระบวนการเรียนรู้ของคน จึงพบว่าในสองมิติดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน เมื่อมีผลการเรียนรู้ก็อยู่บนเหตุผล ความคิด ความเชื่อของแต่ละบุคคล ดังนั้น เมื่อความคิด ความเชื่อ และเหตุผลเปลี่ยนไป ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ใหม่ ผลการเรียนรู้ใหม่จึงเกิดขึ้น ภูมิปัญญาจึงมีจุดมุ่งหมายปลายทาง ของการใช้ปัญญาในแต่ละขณะ ของแต่ละคนที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามความต้องการของคน ดังนั้น การศึกษาภูมิปัญญาจึงต้องทำความเข้าใจทั้งสองมิติ คือ ผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของการใช้ปัญญา และกระบวนการเรียนรู้ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกัน ดังรายละเอียดกล่าวคือ จุดหมายปลายทางของการใช้ปัญญา จะเกี่ยวข้องกับ ๑) ความต้องการพึ่งตนเอง ความต้องการแก้ปัญหาเพื่อฝ่าฟันอุปสรรค อาจเป็นด้านสุขภาพ การทำงาน การดำรงชีวิต ๒) การบรรลุความสุข/ ความต้องการของตนเอง หรือทั้งสองอย่างก็ได้ เมื่อพิจารณาถึงความต้องการบรรลุความสุข/ ความต้องการของแต่ละบุคคลจะพบว่ามีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริบทที่แวดล้อมของบุคคล เช่น วัย เศรษฐกิจ ครอบครัว สถานภาพทางสังคม เพราะฉะนั้น การทำความเข้าใจคนแต่ละคน จึงต้องมีทั้ง ๒ มิติ ดังกล่าวเข้ามาเกี่ยวข้อง คือ เขามีจุดมุ่งหมาย/ ความต้องการอย่างไร สุดท้ายกระบวนการเรียนรู้ของเขาบรรลุผลอย่างไร (เขาอยากได้อะไร) สิ่งเหล่านี้ต้องศึกษาจากบุคคลคนนั้นจริง ๆ (การศึกษาตามสภาพจริง) เราอย่าไปคิดแทนเขา กล่าวโดยสรุปได้ว่า การเรียนรู้กระบวนการทางปัญญาต้องมีจุดหมายปลายทาง ยกตัวอย่างเช่น การเห็นเครื่องสีข้าวแล้วบอกว่าเป็นภูมิปัญญานั้นไม่ใช่ แต่เราต้องรู้ว่าสิ่งนั้น (เครื่องสีข้าว) ตอบสนองชีวิตเขาอย่างไร และเมื่อเวลาเปลี่ยนๆไป คนไม่ต้องการเครื่องสีข้าว นั่นคือจุดหมายเปลี่ยนไป ไม่มีใครคิดต่อ กระบวนการทางปัญญานั้นก็หยุดลง ปัญญาที่ใช้กับสิ่งนั้นก็หยุดลง ตรงนั้น จึงจะเห็นได้ว่าปัญญาในอดีตก็จะตอบสนองการใช้ชีวิตในอดีต การใช้ปัญญาในปัจจุบันก็ตอบสนองการใช้ชีวิตในปัจจุบัน เนื่องจากถ้าเป็นวิวัฒนาการต้องมีความเชื่อมโยง แค่การนำมาใช้ไม่ใช่วิวัฒนาการ เช่น หากกล่าวถึงหลอดไฟ ตัวหลอดไฟอาจเป็นวิวัฒนาการ แต่การใช้หลอดไฟไม่ใช่วิวัฒนาการ เราจึงต้องคิดให้ดีว่าการสืบสานภูมิปัญญาพื้นบ้านคืออะไร? เมื่อกล่าวถึงกระบวนการเรียนรู้ เราลองคิดถึงกระบวนการผลิตหลอดไฟ ก็จะพบว่ามีความผิดพลาดมากมาย แต่กระบวนการเรียนรู้ไม่ได้กล่าวถึงความผิดพลาด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นการลองผิด-ลองถูก ซึ่งเป็นการตัดสินใจลงมือปฏิบัติภายใต้ข้อมูลที่มีอยู่ แล้วค้นหาความเป็นจริง ซึ่งในขั้นตอนการตัดสินใจอยู่บนความไม่ชัดเจนว่าผลจะเป็นอย่างไร แต่เมื่อมีการประเมินผลจากการปฏิบัติจึงรู้ว่าผลเป็นอย่างไร ตรงตามที่ต้องการหรือเป้าหมายหรือไม่ ในชีวิตจริง กระบวนการทั้งหมด คือ ๑) การค้นหาข้อมูล ๒) การตัดสินใจปฏิบัติ ๓) การลงมือปฏิบัติ และ ๔)การประเมินผล ผสมผสานกันไปอย่างต่อเนื่อง และประเมินผลได้ข้อมูลใหม่ ก็เข้าสู่วงจรของการเรียนรู้รอบใหม่ ไปเรื่อย ๆ หากยังไม่บรรลุจุดหมายปลายทางที่ต้องการ จึงเห็นได้ว่า เมื่อเกิดการทำซ้ำ ๆ ในกระบวนการเรียนรู้ ก็จะเกิดการปรับต่อเนื่องโดยอัตโนมัติ ผลลัพธ์ก็จะปรับตาม อย่างชัดเจนและตรงกับที่ตนเองต้องการ กระบวนการเรียนรู้ที่กล่าวแล้วจึงเรียนทฤษฏีได้เฉพาะขั้นที่ ๑ ซึ่งการขาดขั้นตอนอื่น ๆ โดยเฉพาะขั้นตอนที่ ๓ จะไม่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่มีจุดหมายปลายทางในการแก้ปัญหาเป็นตัวตั้ง ในการเรียนรู้อย่างแท้จริง จึงไม่เกิดผลลัพธ์ที่ตอบสนองปัญหา เพราะฉะนั้น ถ้าพยาบาลไม่ได้ถูกฝึกมาให้เห็นความจริง ปัญหาจริงของผู้ป่วย แต่เอาทฤษฎีเป็นตัวตั้ง (กรอบ) ผู้เรียนก็ไม่เกิดการเรียนรู้ ที่ถูกจัดการจากปัญญา แต่เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการฟังบรรยายเท่านั้น จึงไม่เข้าใจชีวิตจริง ของผู้ป่วย การแก้ปัญหาจึงไม่ตอบสนองปัญหาสุขภาพจริง ๆ การค้นหาชีวิตจริงของผู้ป่วยอาจไม่สามารถหาได้จากความจริงของคน ขึ้นอยู่กับการมองของนักศึกษาว่ามองผู้ป่วยอย่างไร ? ครูต้องรู้ทันและเข้าใจความคิดของนักศึกษาว่าขณะนั้นเขาคิดอย่างไร จึงได้ข้อมูลมาเช่นนั้น และชี้ให้เห็นว่าความเป็นจริงตามสภาพเป็นอย่างไร ? ปัญหา คือ เมื่อสอนใน ward เต็มไปด้วยกรอบ เช่น งานที่นักศึกษาต้องทำให้เสร็จ ทฤษฎีต่าง ๆ ดังนั้น แนวทางการปรับคือ ตั้งแต่ ขั้นที่ ๑ ของการเรียนรู้ คือ การค้นหาข้อมูล ตั้งต้นจากการหาข้อเท็จจริง เข้าไปคุยกับชาวบ้าน (คนไข้) ตามเป้าหมายการเรียนรู้ อย่ารีบร้อน (ยังไม่ต้องทำ intervention ใด ๆ, ไม่ต้องถึงขั้นประยุกต์) ขั้นนี้ต้องหาความจริง (ข้อมูล) ซึ่งเป็นการตั้งต้นของกระบวนการเรียนรู้ หากขั้นนี้ไม่ได้ข้อมูลจริง ขั้นตอนอื่น ๆ ก็ไม่ได้สร้างให้เกิดการเรียนรู้ เนื่องจาก เป้าหมายปลายทางเพี้ยนไป ขั้นที่ ๒ , ๓ และ ๔ ในการเรียนรู้หมุนวนตลอดเวลา และขึ้นกับจุดหมายปลายทางของการเรียนรู้ว่าเดิมที่ยังไม่บรรลุ การเรียนรู้ที่ขึ้นอยู่กับปัญญาของคนที่มีไม่เท่ากัน จึงไม่สามารถทำให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายของการเรียนรู้พร้อมกัน การทำความเข้าใจการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา การประยุกต์ ต้องมีคนอื่นมาศึกษาข้อมูลที่มีอยู่ แล้วนำไปตัดสินใจไปปฏิบัติตามความคิดของเขา ว่าเขาจะเอาส่วนไหนไปปฏิบัติอย่างไร มากน้อยแค่ไหน และทำการประเมินผลการกระทำกับเป้าหมายปลายทาง พร้อมทั้งนำข้อมูลจากการประเมินไปสู่การตัดสินใจในการปฏิบัติต่อไปอย่างต่อ เนื่อง ซึ่งเข้าสู่การเรียนรู้จากการปฏิบัติ จะเห็นว่าการเรียนรู้ มีลักษณะจำเพาะ ไม่เหมาะที่จะนำไปเป็นทั่วไป ถ้าจะนำไปก็ได้แค่เพียงประสบการณ์ไม่ใช่ความรู้ สิ่งที่ต้องระวัง ! อย่านำคำว่า “ภูมิปัญญา” กับ “กระบวนการเรียนรู้ ๔ ขั้น” มาเป็นเรื่องเดียวกัน และเมื่อกล่าวถึง “ภูมิปัญญา” คนส่วนใหญ่มักคิดถึงของเก่า, โบราณวัตถุ ต้องระลึกเสมอว่า ความรู้ต้องตื่นอยู่บนชีวิตจริง ไม่ใช่สิ่งสมมติ ซึ่งทำให้ขาดความเป็นจริงและการปฏิบัติตามความเป็นจริง เราพิจารณาสิ่งที่อยู่บนความเป็นจริงได้จากสิ่งนั้นจะตอบสนองชีวิต นั่นคือต้องมีจุดหมายปลายทางที่เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตอย่างใดอย่าง หนึ่ง


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ๑. นำแนวคิดการบูรณการไปใช้ในการเรียนรู้ในวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ ๒. นำหลักการเรียนรู้ตามสภาพจริงไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต และสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลตามสภาพจริง


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              ด้าน การวิจัย ๑. นำหลักการเรียนรู้เชิงบูรณาการไปใช้ในการกำหนดกรอบแนวคิดในการศึกษาด้าน สุขภาพ ๒. นำหลักการเรียนรู้ตามสภาพจริงไปใช้ในขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ สังเกต และสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้านการบริหาร ๑. นำแนวคิดการเรียนรู้เชิงบูรณาการและการเก็บรวบรวมข้อมูลตามสภาพจริงไปใช้ใน หลักการบริหารคน และการบริหารงาน ด้านทัศนคติ นำแนวคิดการเรียนรู้เชิงบูรณาการและการศึกษาตามสภาพจริงไปทำความเข้าใจบุคคล อื่นตามบริบทของเขา ไม่นำความคิดเห็นของตนเองไปตัดสินผู้อื่น

(342)

มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ:การนำสู่การปฏิบัติ

มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ:การนำสู่การปฏิบัติ
ผู้บันทึก :  นางเกษรา วนโชติตระกูล และคณะ
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติ
  เมื่อวันที่ : 21 ม.ค. 2553   ถึงวันที่  : 23 ม.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  -
  จังหวัด :  สงขลา
  เรื่อง/หลักสูตร :  มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ:การนำสู่การปฏิบัติ
  วันที่บันทึก  18 ก.พ. 2553


 รายละเอียด
               ๑. ด้านความรู้ เกี่ยวกับ มาตรฐานคุณวุฒิสาขาพยาบาลศาสตร์ และบรรยายการดำเนินงานตาม TQF ๑.๑ รศ.ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ เล่าความเป็นมาและการดำเนินงานการจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิสาขาพยาบาลศาสตร์ และบรรยายการดำเนินงานตาม TQF โดยแต่ละสถาบันต้องดำเนินการจัดทำมคอ. ๒ เพื่อการรับรองภายในปี ๒๕๕๕ วิทยาลัยฯ มอบหมายให้ผู้ประสานงานรายวิชาจัดทำ มคอ.๓ มคอ.๔ ทุกรายวิชาตลอดหลักสูตร ให้เสร็จก่อนเปิดหลักสูตรและจัดทำมคอ.๕ มคอ.๖ ภายใน ๑ เดือนหลังสิ้นสุดการดำเนินงาน และจัดเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลที่วิทยาลัย ทุกปีวิทยาลัยต้องจัดทำ มคอ.๗ ภายใน ๖๐ วันหลังสิ้นสุดปีการศึกษา และส่ง ไปสภาการพยาบาลและสกอ. รศ.ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ บรรยายการจัดทำรายละเอียดหลักสูตร (มคอ.๒) พร้อมตัวอย่างการเขียน ตามเอกสาร ผศ.ดร.สุนทราวดี เธียรพิเชษฐ บรรยายการจัดทำรายละเอียดรายวิชา (มคอ.๓) พร้อมตัวอย่างการเขียน ตามเอกสาร ดร.เบ็ญจา เตากล่ำ บรรยายการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานรายวิชา (มคอ.๕) พร้อมตัวอย่างการเขียน ตามเอกสาร วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๓ ผศ.ชุลีพร เชาวน์เมธากิจ บรรยายการจัดทำรายละเอียดประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ.๔) และการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ.๖) พร้อมตัวอย่างการเขียน ตามเอกสาร รศ.ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ บรรยายการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานหลักสูตร (มคอ.๗) พร้อมตัวอย่างการเขียน ตามเอกสาร วิทยาลัยฯ ต้องวางแผนการเก็บข้อมูลที่เป็นระบบ การจัดทำ มคอ.๗ จะง่าย ถ้า มคอ.อื่นๆ จัดทำอย่างละเอียด ทำอย่างไร จึงมีรายงานที่ดี ๑. จัดระบบ คน และการจัดการเกี่ยวกับรายงานทุก มคอ. ๒. ระบบการเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดการข้อมูล มีประสิทธิภาพ ๓. รายงานเป็นความจริง ถูกต้อง ข้อมูลครบถ้วน ทันสมัย ตรงเวลา แบ่งกลุ่มเป็น ๔ กลุ่ม โดยให้กลุ่ม ๑-๒ ทำ มคอ.๓ และ มคอ.๕ และ กลุ่ม ๓-๔ ทำ มคอ.๔ และ มคอ.๖ และนำเสนอ – กลุ่ม ๑ ทำ มคอ.๓ และ มคอ.๕ ของวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น – กลุ่ม ๒ (วพบ.นครศรีฯ วพบ.ตรัง วพบ.สุราษฎร์ฯ) ทำ มคอ.๓ และ มคอ.๕ ของวิชาการพยาบาลพื้นฐาน – กลุ่ม ๓ ทำ มคอ.๔ และ มคอ.๖ ของรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ ๑ – กลุ่ม ๔ ทำ มคอ.๔ และ มคอ.๖ ของรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ ๒ ซึ่งแต่ละกลุ่มได้นำเสนอและได้รับการวิพากษ์จากวิทยากร หัวข้อที่ทำยากคือ ๑. การเขียน LO ให้สอดคล้องกับระดับชั้นของผู้เรียน และรายวิชา ๒. การเขียนวิธีการสอนและการประเมินให้สอดคล้องกับ LO


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติ สาขาพยาบาลศาสตร์ และแนวทางปฏิบัติ


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              -

(328)

สร้างคน- สร้างสันติ สำหรับบุคลากรที่ปฏิบัติงานท่ามกลางความขัดแย้ง

สร้างคน- สร้างสันติ สำหรับบุคลากรที่ปฏิบัติงานท่ามกลางความขัดแย้ง
 ผู้บันทึก :  นายสิงห์ กาญจนอารี, นายอาทิตย์ ภูมิสวัสดิ์, นางรัถยานภิศ พละศึก,
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการศึกษาทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 2 ส.ค. 2554   ถึงวันที่  : 5 ส.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  สงขลา
  เรื่อง/หลักสูตร :  สร้างคน- สร้างสันติ สำหรับบุคลากรที่ปฏิบัติงานท่ามกลางความขัดแย้ง
  วันที่บันทึก  24 ส.ค. 2554


 รายละเอียด
ความเชื่อในเรื่องการบำบัดรักษา ตามรูปแบบของ แสทเทียร์ ( Satir Therapeutic Beliefs )

๑.การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ ถึงแม้ว่ายังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงภายนอก แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงภายในเกิดขึ้นแล้ว

๒.พ่อแม่ย่อมทำอย่างดีที่สุดแล้วในเวลานั้น

๓.เราทุกคนล้วนมีทรัพยากรพร้อมอยู่แล้วภายในตัวเอง ที่จะนำมาใช้จัดการให้เราได้

พัฒนาและประสบความสำเร็จ

    ๔.เรามีตัวเลือกเสมอ โดยเฉพาะที่จะนำมาต่อกรกับความบีบคั้นต่างๆ แต่ไม่ใช่นำทางเลือกมาใช้ตอบโต้กับสถานการณ์ที่เป็นประเด็นปัญหานั้น

    ๕.การบำบัดรักษาจำเป็นต้องเน้นไปที่สุขภาพและความเป็นไปได้ มากกว่าจะเน้นที่พยาธิสภาพ

    ๖.การมีความหวัง เป็นองค์ประกอบสำคัญในการทำให้คนเปลี่ยนแปลงตัวเอง

    ๗.มนุษย์จะเชื่อมสัมพันธ์กันโดยใช้ความเหมือนกัน เป็นพื้นฐานในการเชื่อม และมนุษย์พัฒนางอกงามขึ้นโดยใช้ความแตกต่างกันเป็นฐาน

    ๘.เป้าหมายหลักของการบำบัดรักษา คือ การทำให้บุคคลสามารถเป็นผู้เลือกกำหนดด้วยตัวเองได้

    ๙.ความเป็นเราที่ฉายปรากฏขึ้นมาเด่นชัดนี้ เกิดจากพลังชีวิต จิตวิญญาณแบบเดียวกันหมด พวกเราทุกคนคือผลพวงของพลังชีวิตแบบเดียวกัน

    ๑๐.คนส่วนมากมักเลือกทางที่ตนคุ้นเคยมากกว่าทางที่เหมาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อยามที่มีภาวะกดดัน บีบคั้นมากๆ

    ๑๑.ตัวของปัญหานั้นที่จริงไม่ใช่ปัญหา แต่วิธีการจัดการกับปัญหาต่างหากที่เป็นปัญหา

    ๑๒.อารมณ์ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของเรา ทุกคนล้วนมีสิ่งนี้

    ๑๓.คนเราล้วนมีพื้นฐานที่เป็นคนดีด้วยกันทั้งนั้น เราจำเป็นต้องค้นหาขุมทรัพย์ล้ำค่า

ภายในตัวเรา เพื่อจะได้ยืนยันให้มั่นใจในความมีคุณค่าของตัวเรา และเราจำเป็นต้องค้นหาขุมทรัพย์ล้ำค่าภายในอันนั้นของเราได้

    ๑๔.บิดา มารดามักทำอุปนิสัยที่เขาคุ้นเคย ทำซ้ำๆ ตามที่เขาเคยเรียนรู้มาตั้งแต่เด็กจนเติบใหญ่ ถึงแม้ว่าสิ่งที่เขาจะทำเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม

    ๑๕.เราไม่อาจเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต แต่เราอาจเปลี่ยนผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเราได้

    ๑๖.การสำนึกในบุญคุณและการยอมรับสิ่งต่างๆในอดีต จะเพิ่มศักยภาพในการบริหาร

จัดการปัจจุบันกาลของเรา

    ๑๗.เป้า หมายหนึ่งในการยกระดับความเป็นตัวเราทั้งมวลรวมเต็มตัวได้ ก็คือการยอมรับบิดามารดาในฐานะที่ท่านเป็นมนุษย์ที่มีชีวิตจิตใจ แล้วให้เราเข้าถึงความต้องการท่านในฐานะที่ท่านเป็นบุคคลที่มีคุณค่ามากกว่า จะยอมท่านเพราะเพียงแค่ท่านมีบทบาทหน้าที่เป็นพ่อแม่เรา

    ๑๘.วิธีการจัดการกับชีวิตก็คือการฉายออกถึงผลของระดับความมีคุณค่าของตนเองที่อยู่

เบื้องใต้ผู้ที่รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าสูงเท่าไร ผู้นั้นก็จะยิ่งมีวิธีการปรับตัวบริหารชีวิตได้อย่างกลมกลืนเป็นมวลเดียวกัน

    ๑๙. สภาวะต่างๆของมนุษย์มีลักษณะเป็นสากล ดังนั้น จึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ใน

สถานการณ์ต่างๆในวัฒนธรรมต่างๆและสภาพแวดล้อมต่างๆได้

    ๒๐. สภาวการณ์ (process) คือ วีทางของการเปลี่ยนแปลงเรื่องราว ข้อเท็จจริง (content) แก่นสารของชีวิต คือตัวที่ก่อให้เกิดบริบท ที่ทำให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นมา

    ๒๑. ความจริงใจ โปร่งใส สอดคล้องกับความรู้สึก (congruence) และการมีคุณค่าน่าภูมิใจ (self-esteem) ของตน เป็นแก่นสำคัญของงานเวอร์จิเนีย แสทเทียร์

    ๒๒. สัมพันธภาพที่เข้มแข็งของมนุษย์สร้างจากความเสมอภาคกัน

 

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
งานบริหาร งานบริการวิชาการ และงานวิชาการ


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
ด้านความเอื้ออาทร และเข้าถึงหัวใจความเป็นมนุษย์

(312)

“การประชุมโครงการพัฒนาสมรรถนะเจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์”

“การประชุมโครงการพัฒนาสมรรถนะเจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์”
ผู้บันทึก :  นางสาว อรรวรรณ ฤทธิ์มนตรี และ นางสาวยุพาวรรณ ทองตะนุนาม
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการศึกษาทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 26 เม.ย. 2554   ถึงวันที่  : 28 เม.ย. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  งานวิเทศสัมพันธ์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  “การประชุมโครงการพัฒนาสมรรถนะเจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์”
  วันที่บันทึก  18 พ.ค. 2554


 รายละเอียด
การ จัดประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านวิเทศ สัมพันธ์ โดยเน้นในด้านการเพิ่มทักษะการสื่อสารกับชาวต่างประเทศ เพื่อการติดต่อสื่อสารในการศึกษาดูงาน การรับรองชาวต่างประเทศ การจัดการประชุมนานาชาติ ลักษณะการประชุมเป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ จึงมุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมประชุม ได้มีโอกาสฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานด้านวิเทศสัมพันธ์ ได้แก่ การติดต่อสื่อสารผ่านทางโทรศัพท์ในสถานการณ์ต่างๆ เช่นการจองที่พัก การสอบถามและการให้ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรและการจัดประชุม การใช้ภาษาเพื่อการต่อรองเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย การแก้ไขปัญหาที่ได้รับการร้องเรียน การจัดประชุมวิชาการนานาชาติ และมารยาทบนโต๊ะอาหารสำหรับการรับประทานอาหารแบบตะวันตกและตะวันออก

ใน การจัดประชุมวิชาการนานาชาติ ผู้จัดการอบรมได้เปิดโอกาสให้ตัวแทนผู้เข้ารับการอบรมที่ได้รับการคัดเลือก โดยการสุ่มตัวอย่าง ได้ฝึกทักษะการจัดประชุมวิชาการนานาชาติ โดยให้นำเสนอในลักษณะการแสดงบทบาทของตัวละคร (Role Play) ซึ่งบทบาทที่สมมติ ได้แก่ บทบาทผู้อำนวยการประชุมประจำวัน (Master of Ceremony: MC) บทบาทผู้กล่าวรายงาน บทบาทผู้กล่าวเปิดการประชุม                บทบาท ประธานประจำห้องนำเสนอผลงาน บทบาทรองประธานประจำห้องนำเสนอผลงาน บทบาทผู้นำเสนอผลงาน และบทบาทผู้เข้าร่วมการประชุม นอกจากนั้นวิทยากรซึ่งมีประสบการณ์ในการจัดประชุมวิชาการนานาชาติและเป็นผู้ อำนวยการการจัดประชุมประจำวัน ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของตนเองให้กับผู้เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับการแก้ไข ปัญหาเฉพาะหน้า การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานและผู้เข้าร่วมประชุม การรู้จักวัฒนธรรมของประเทศต่างๆเพื่อทำให้มีความเข้าใจในการทำงานร่วมกัน การเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้การจัดการประชุมเป็นไปตามกำหนดการที่วางแผนไว้ เป็นต้น


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
- นำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานด้านวิเทศสัมพันธ์

- การสอนภาษาอังกฤษ

- สร้างเครือข่ายผู้ปฎิบัติด้านวิเทศสัมพันธ์ในสถาบันพระบรมราชชนก


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
การใช้ภาษาอังกฤษและการพัฒนาทักษะสากล

(345)