Author Archives: admin

มหกรรมบัณฑิตอุดมคติไทย ภาคใต้

มหกรรมบัณฑิตอุดมคติไทย ภาคใต้
  ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 6 ก.ย. 2553   ถึงวันที่  : 6 ก.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  เครือข่ายบัณฑิตอุดมคติไทย ภาคใต้
  จังหวัด :  สงขลา
  เรื่อง/หลักสูตร :  มหกรรมบัณฑิตอุดมคติไทย ภาคใต้
  วันที่บันทึก  13 ก.ย. 2553


 รายละเอียด
               เสวนา “การดำเนินงานของเครือข่ายฯ ในด้านการจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมแก่นักศึกษา” การดำเนินงานของเครือข่ายฯ เริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ เป็นต้นมา มีสถาบันระดับอุดมศึกษาในเขตภาคใต้เข้าร่วมทั้งหมด ๓๐ สถาบัน โดยมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นแม่ข่าย เน้นการดำเนินงานในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไปเพื่อสร้างบัณฑิตในอุดมคติไทย ใช้คำสำคัญ ๖ คำ ได้แก่ เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย และเศรษฐกิจพอเพียง การจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา ยึดวิสัยทัศน์ที่ว่า “บัณฑิตคิดเป็น ทำเป็น อย่างมีคุณธรรมจริยธรรม” วิธีการเรียนการสอนนอกจากการบรรยายแล้ว สื่อมีส่วนสำคัญอย่างมากที่ก่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ รวมถึงกิจกรรมนอกชั้นเรียน เสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม จิตสาธารณะในสังคม เสริมสร้างความสามัคคี ความสมานฉันท์ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ตัวอย่างของกิจกรรม/โครงการ เช่น โครงการแบ่งปันรอยยิ้มจากพี่สู่น้อง ณ สถานสงเคราะห์บ้านเด็กสงขลา การจัดการเรียนการสอนในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา ในรายวิชามนุษย์และการอยู่ร่วมกัน พบว่า การสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม ครูสามารถทำได้ทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ดู โดยที่นักศึกษาอาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวว่ากำลังถูกสอน เทคนิคการสอนที่ใช้ ได้แก่ การเล่าเรื่องคุณธรรม ผ่านการ์ตูนคุณธรรมเซน ตั้งคำถามให้คิดเมื่อดูวิดิโอจบ การร้องเพลงที่มีความหมายสะท้อนให้คิด (ค่าน้ำนม) ดึงผู้สูงอายุเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนร้องเพลง การเรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรมโครงการเรียนรู้วิถีชุมชน การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ๒ คืน ๓ วัน กับพ่อแม่บุญธรรม และมีการต่อยอดในรายวิชาอาการกับสุขภาพ โดยกลับไปทำโครงการเสริมสร้างสุขภาพพ่อแม่บุญธรรม “กินอย่างไรให้ปลอดโรค” การจัดการเรียนการสอนในวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ มีการบูรณาการกิจกรรมนักศึกษาสู่การเรียนการสอนในรายวิชา เศรษฐกิจพอเพียง “โครงการร่วมด้วย ช่วยกัน สานฝันพ่อ บ่อเกิดความยั่งยืน” เช่น การลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน (ค่าไฟฟ้า, ค่าน้ำ) ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม รู้คุณค่าทรัพยากร (สร้างฝายแม้ว) เพิ่มสวัสดิการเศรษฐกิจครัวเรือน (บัญชีเงินออม) การจัดการเรียนการสอนในวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ยะลา ในรายวิชา คุณธรรมจริยธรรม ซึ่งอาจารย์ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ดึงสถาบันครอบครัว ปราชญ์ชาวบ้าน สถาบันศาสนา เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนานักศึกษา ทุกกิจกรรมที่ให้นักศึกษาทำ ต้องมีการสะท้อนคิดว่า ทำเพื่ออะไร ได้ข้อคิดอะไรบ้างจากกิจกรรม การหล่อหลอมเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ต้องร่วมกันทุกภาคส่วน การจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฎ สงขลา บนพื้นฐานความเชื่อว่า มีความดีอยู่ในคนทุกคน แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ คนที่ดีอยู่แล้ว และคนที่อยากทำความดี แต่ไม่มีโอกาส ผ่านการทำโครงการทำดีไม่ยาก ง่ายนิดเดียว เช่น ช่วยอาจารย์ถือของ เก็บขยะ กวาดใบไม้ ทำความสะอาดโรงอาหาร (การทำความดี ทำวันละนิด แต่ทำบ่อยๆ) โครงการคนดีในดวงใจ ค้นหาคนดี นำเสนอผ่านทางวิดิโอคลิป การดำเนินงานของเครือข่ายฯ ในระยะต่อไป ได้แก่ -สนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรม/โครงการเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนัก ศึกษา ๑๐,๐๐๐ บาท/กิจกรรม กำหนดการนำเสนอภายในเดือนมกราคม ๒๕๕๔ -เสวนาทัศนะการสอนเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โดยผู้นำศาสนา -ค่ายคุณธรรม นำความรู้ เพื่อสร้างแกนนำนักศึกษา กลุ่มเป้าหมาย นักศึกษา ๓ คน/สถาบัน (ต่างศาสนา) และกรรมการเครือข่ายฯ -โครงการค้นหาคนดี ให้นักศึกษาเลือกนักศึกษาที่เป็นคนดีที่สุด ๑ คนและถ่ายทอดผ่านสื่อต่างๆ -สมุดรวบรวมความดี (ปรัชญา แนวคิด) -หนังสือรวบรวมการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา เพื่อสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม -หนังสือพิมพ์สีขาว ให้แต่ละสถาบันรวบรวมเรื่องราวที่นักศึกษาสะท้อนความดีที่ตนเองมีประสบการณ์ ตรง/จากผู้อื่น คัดเลือกส่งแม่ข่าย -คู่มือสำหรับอาจารย์ที่สอนจริยศาสตร์ในหมวดวิชา การศึกษาทั่วไป


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การเรียนการสอนที่สอดแทรกคุณธธรมจริยธรรมให้นักศึกษา ผ่านทางเทคนิคการสอนต่างๆ เช่น การเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องความตรงต่อเวลา


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ

(327)

การพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีฯ

การพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีฯ
  ผู้บันทึก :  นางเกษรา วนโชติตระกูล
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 28 ก.ค. 2553   ถึงวันที่  : 30 ก.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สภาการพยาบาล
  จังหวัด :  นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีฯ
  วันที่บันทึก  19 ส.ค. 2553


 รายละเอียด
               ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๐๘.๔๕-๐๙.๐๐ น.เปิดการประชุมโดย ศ.เกียรติคุณดร.วิจิตร ศรีสุพรรณ นายกสภาการพยาบาล ๐๙.๐๐-๑๐.๓๐ น.ปาฐกถาพิเศษเรื่องคุณลักษณะบัณฑิตพยาบาลในอุดมคติของสังคมไทย กับการปฏิบัติให้เป็นจริงในสถาบันการศึกษาด้วยกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา แห่งชาติโดย รศ.ดร.สุนทร โสตถิพันธุ์ ความกังวลเชิงการบริหารการศึกษา – การประกันว่าผลผลิตเชื่อถือได้หรือไม่ (ทำดีที่สุดแล้วหรือยัง ใช้ประโยชน์ทรัพยากรคุ้มค่าหรือไม่ สามารถตอบคำถามของสังคมได้หรือไม่ – ความรับผิดชอบเชิงวิชาชีพ – การปรับตัวเพื่อให้วิชาชีพอยู่รอดเป็นที่ยอมรับ ระดับความรับผิดชอบและการแสดงออก ทุกระดับตั้งกระทรวงศึกษาธิการ สกอ. มหาวิทยาลัย คณะวิชา ภาควิชา ผู้สอนและนิสิต มีความรับผิดชอบที่เกี่ยวเนื่อง เชื่อมโยงเป็นลูกโซ่ ตั้งแต่ นโยบาย/มาตรการต่างๆ การประสานนโยบาย ประสานแผน ประสานความคิด ประสานใจ ประสานงาน และประสานประโยชน์ร่วมกัน – ซึ่งในการจัดการศึกษาต้องอาศัยกระบวนการ PDCA เช่นเดียวกัน ปัญหาในระบบการศึกษาปัจจุบัน – นักศึกษาที่จบ “Graduate” แต่ไม่ใช่ “บัณฑิต” – อ่อนแอในอิทธิบาท๔ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา – อ่อนแอในการบูรณาการ จะมองเห็นต้นไม้ ไม่เห็นป่า รู้เป็นส่วนๆไม่เห็นภาพรวม – ภาษาวิบัติ ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สะท้อนจากผลงาน – อ่อนแอในมวลปัญญา – สถานการณ์แวดล้อม ได้แก่ ความสามารถในวิชาครู ที่จะทำให้บรรลุ TQF คุณลักษณะบัณฑิต การจัดการศึกษาจึงต้องมี – Input (What to learn, How to learn, Do they learn ) – Process – output ( learning outcome) Educational environment เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ คิดอย่างอิสระ รู้จักสงสัย รู้จักตั้งคำถาม และสามารถค้นพบความรู้ ความจริงได้ If we could not think, we could not acquire any knowledge at all ๑๑.๐๐-๑๒.๓๐ น. บรรยายเรื่อง สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ กับผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ โดย รศ.ดร.ศิริพร ขัมภลิขิต บรรยายสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ (มีในwebsite สภาการพยาบาล) และการเปรียบเทียบกับผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ ซึ่งผลการเรียนรู้จะเป็นส่วนหนึ่งของสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งสมรรถนะไม่ได้กำหนดว่าเป็นพยาบาลที่จบใหม่หรือทำงานมานานกี่ปี การที่บัณฑิตพยาบาลจะมีสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ จึงต้องมีการพัฒนาต่อยอดจากสถานบริการด้วย ๑๓.๑๕-๑๕.๑๕ น. บรรยายเรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติและมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ โดย รศ.ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ บรรยายความเป็นมาและความจำเป็นที่ต้องมีกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่ง ชาติและมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ ๑๓.๔๕-๑๖.๓๐ น. บรรยายเรื่อง การนำมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ไปปฏิบัติในการพัฒนารายละเอียดหลักสูตร โดย รศ.ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ บรรยายการดำเนินการพัฒนา มคอ.๒ และมคอ๓ มคอ.๔ ตามแบบฟอร์มมาตรฐาน ซึ่งต้องดำเนินการให้เสร็จก่อนเปิดหลักสูตร ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๐๙.๐๐-๑๐.๐๐ น. บรรยายเรื่อง การพัฒนารายละเอียดหลักสูตร(มคอ.๒)และการรายงาน (มคอ.๗) โดย รศ.ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ บรรยายการดำเนินการพัฒนา มคอ.๒ และมคอ.๗ ตามแบบฟอร์มมาตรฐานของสกอ. ๑๑.๐๐-๑๔.๐๐ น. ประชุมกลุ่มย่อยเพื่ออภิปรายวิธีการจัดการเรียนการสอนและประเมินผลการเรียน รู้ที่ตอบสนองต่อ ผลการเรียนรู้และสมรรถนะวิชาชีพ โดย รศ.ดร.ศิริพร ขัมภลิขิตและคณะ กลุ่ม ๗ วิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษา ด้านภาวะผู้นำ การจัดการ และการพัฒนาคุณภาพ ซึ่งวิธีการสอน ได้แก่ การเรียนแบบโครงการ การทำงานเป็นทีม การศึกษาดูงาน การฝึกปฎิบัติในบทบาทหัวหน้าทีมการพยาบาล ซึ่งแต่ละสถานศึกษาจะมีการจัดการเรียนการสอนแบบนี้ในรายวิชาต่างๆ เช่น ทักษะชีวิต การบริหารการพยาบาล เศรษฐศาสตร์ ประเด็นและแนวโน้ม เป็นต้น ๑๔.๐๐-๑๗.๐๐ น. ฝึกการวิเคราะห์รายละเอียดหลักสูตร(มคอ.๒) โดย รศ.ดร.ดรุณี รุจกรกานต์และคณะ กลุ่ม ๗ แบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๔-๕ คน วิเคราะห์รายละเอียดหลักสูตร(มคอ.๒) ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตามแบบฟอร์มเกณฑ์การพิจารณาหลักสูตรของสภาการพยาบาล ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. ประชุมกลุ่มการกำหนดพิมพ์เขียว การสอบขึ้นทะเบียนฯ โดย รศ.รัชนี สีดาและคณะ เข้ากลุ่ม วิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น ได้มีการอภิปราย เสนอการปรับเปลี่ยนหัวข้อ และวิธีการตัดสินผลต่อสภาการพยาบาล ๑๓.๐๐-๑๔.๓๐ น. บรรยายเรื่อง ความเชื่อมโยงระหว่าง มคอ.๒ มคอ.๓ และมคอ.๔ โดย รศ.ดร.ดรุณี รุจกรกานต์


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี

(318)

การขอวีซ่าเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา

การขอวีซ่าเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา
 ผู้บันทึก :  นางจรรยา ศรีมีชัย
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  การขอวีซ่าไปศึกษาดูงานต่างประเทศ
  เมื่อวันที่ : 10 พ.ค. 2553   ถึงวันที่  : 12 พ.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  นครศรีธรรมราช
  เรื่อง/หลักสูตร :  การขอวีซ่าเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา
  วันที่บันทึก  9 ก.ค. 2553


 รายละเอียด
               ขั้นตอนการขอวีซ่า การไปในราชการทำหนังสือเดินทางสำหรับราชการเล่มสีน้ำเงินและดำเนินการเขียน ใบ สมัครขอทำวีซา อาจกรอกข้อมูลทางอินเตอร์เนทได้ เอกสารที่ใช้รูปถ่ายข้าราชการ ขนาด ๒X๒ นิ้ว พื้นขาว ใบหน้าชัด สำเนาบัตรราชการ สำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือตอบรับจากมหาวิทยาลัย หนังสือนำส่งจากกระทรวงการต่างประเทศ และรอนัดวันสัมภาษณ์ (ส่วนนี้สำคัญเพราะการทำวีซ่าครั้งนี้ไม่สำเร็จเนื่องจากทางสถานทูตแจ้งว่า มีการขอวีซ่าผิดประเภทซึ่งวีซ่ามีหลายประเภทไปอบรมต้องวีซานักเรียนหรือนัก เรียนแลกเปลี่ยน ต้องมีเอกสาร F1 หรือ J ที่ทางมหาวิทยาลัยที่เราไปอบรมออกให้ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับตารางวันเวลา การอบรมไว้ชัดเจน ) ไปถึงสถานทูตก่อนเวลานัดประมาณ ๓๐ นาที นัด ๗.๑๕น.ไปถึงสถานทูต ๖.๓๐น. เข้าแถวหน้าอาคาร เมื่อถึงเวลาเจ้าหน้าที่เช็คหนังสือเดินเอกสารใบเสร็จรับเงินค่าขอวีซา และเข้าในอาคารสถานทูตได้ครั้งละ 4-5 คน เก็บโทรศัพท์ อุปกรณ์อิเลคโทรนิก ฝากไว้ และเข้าเครื่องสแกนเมื่อผ่านจึงมาช่องเจ้าหน้าที่ตรวจเช็คเอกสาร จัดเรียงเอกสาร และถามข้อมูลเพิ่มเติม เรียบร้อยเขาช่องทางส่งเอกสาร พิมพ์ลายมือ นิ้วมือ และเลือกภาษาที่จะเข้าสัมภาษณ์ เมื่อเสร็จแล้วไปรอด้านในเพื่อสัมภาษณ์ตามช่องที่เรียก เริ่มสัมภาษณ์เวลาประมาณ ๘๓๐ น. การสัมภาษณ์เตรียมตามที่เราเขียนในแบบกรอกข้อมูล แต่เมื่อสัมภาษณ์เพื่อไปอบรมเขาถาม เพียงว่าไปทำอะไร ที่ไหน พักที่ไหน เคยไปต่างประเทศหรือเปล่า แต่วันที่ไปวีซาผิดประเภทเขาถามรายละเอียดและขอข้อมูลจากมหาวิทยาลัยเมื่อ ไม่มีทางสถานทูตจึงให้ใบเหลืองมาแทน เป็นเอกสารแจ้งรายการเพิ่มเติมที่ต้องเตรียมมาในวันมาสัมภาษณ์ครั้งใหม่ และถ้าใครมีใบเหลืองให้มาได้ในวันอังคารและวันพฤหัสบดี ใช้แสดงในการเข้าในสถานทูต กรณีสัมภาษณ์ผ่านออกมาภายนอกซื้อชองไปรษณีย์ จ่ายค่าส่ง 75 บาท เขียนซองให้เจ้าหน้าที่ตามที่อยู่ที่เราสะดวก ก็เรียบร้อย เราได้รับวีซาภายในไม่เกิน 1 สัปดาห์ ตรวจเช็ครายการตามที่แจ้งให้ตรวจเช็คตรงกันก็เป็นอันเรียบร้อย


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ได้แนวทางการทำวีซ่าเพื่อไปศึกษาดูงาน อบรมที่ต่างประเทศ


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การทำวีซ่าเพื่อไปศึกษาดูงาน อบรม ณ ต่างประเทศ


(279)

สัมมนาอาจารย์ใหม่ของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ประจำปี 2553

สัมมนาอาจารย์ใหม่ของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ประจำปี 2553
 ผู้บันทึก :   น.ส. นภาวรรณ วิริยะศิริกุล, น.ส. ชลกร ภู่สกุลสุข, น.ส. วรรณะรัตน์ คำแหง, น.ส.วลัยลักษณ์ สุวรรณภักดี , น.ส.ปิยะพร พรหมแก้ว, น.ส.จิฑาภรณ์ ยกอิ่น, น.ส. จิรกานต์ พันธ์ฤทธิ์ดำ, และน.ส. เบญจวร
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  สัมมนา
  เมื่อวันที่ : 7 มิ.ย. 2553   ถึงวันที่  : 9 มิ.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  ชลบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  สัมมนาอาจารย์ใหม่ของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ประจำปี 2553
  วันที่บันทึก  7 ก.ค. 2553


 รายละเอียด
               ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการสัมมนา มีดังนี้ 1. นพ.สมควร หาญพัฒนชัยกูร ผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก ประธานเปิดการสัมมนา บรรยายพิเศษเรื่อง “นโยบาย และภารกิจที่สำคัญของสถาบันพระบรมราชชนก” โดยสถาบันมีภารกิจหลักคือ การผลิตบุคลากร และการพัฒนาบุคลากรทางด้านสาธารณสุข จุดเด่นของสถาบันคือ มีวิทยาลัยในสังกัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ มุ่งผลิตบุคลากรเพื่อชุมชน และผลิตบุคลากร เพื่อสนองนโยบายของประเทศ เช่นการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ชายแดนใต้ ซึ่งจะสำเร็จการศึกษาในปี 2554 2. มีการแนะนำผู้บริหารสถาบันพระบรมราชชนก และให้ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารส่วนกลาง ที่แบ่งเป็นกลุ่มอำนวยการ กลุ่มยุทธศาสตร์ กลุ่มพัฒนาการศึกษา กลุ่มพัฒนาบุคลากร กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการศึกษา กลุ่มวิจัย พร้อมกับมีการบรรยายบทบาท ภารกิจ โครงสร้างของสถาบัน ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ ลักษณะงานที่ปฏิบัติ สิทธิประโยชน์และสวัสดิการต่างๆ รวมทั้งยังจัดให้มีการดูงาน และศึกษาภารกิจของหน่วยงานในสถาบันพระบรมราชชนกนำโดยวิทยากรประจำกลุ่ม นอกจากนี้มีการจัดให้ศึกษาดูงานที่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี และวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี มีการทำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ร่วมกันในช่วงของการสัมมนาร่วมกัน เพื่อทำความรู้จัก และสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างอาจารย์ของวิทยาลัยต่างๆ ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก 3. อาจารย์ใหม่ของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชนนก ประกอบด้วยทันตแพทย์ เภสัชกร นักวิชาการสาธารณสุข พยาบาล แพทย์อายุรเวท เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข และเจ้าพนักงานเภสัชกรรม จำนวน 118 คน ที่จะไปปฏิบัติงานเป็นอาจารย์ใหม่ทำหน้าที่ด้านการสอนแก่นักศึกษาในวิทยาลัย พยาบาล วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร และวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก การสัมมนาครั้งนี้ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจในองค์กร ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหาร และสร้างเครือข่ายในการทำงานร่วมกันต่อไป


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              -การปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ – การจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์สำหรับนักศึกษา – การสร้างเครือข่ายกับอาจารย์ในวิทยาลัยต่างๆ


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              ความเข้าใจในองค์กร และสร้างเครือข่ายในการทำงานร่วมกันต่อไป

(328)

แนวทางปฏิบัติในการรับโอนย้ายนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยนครราชสีมา

แนวทางปฏิบัติในการรับโอนย้ายนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยนครราชสีมา
  ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 2 มิ.ย. 2553   ถึงวันที่  : 2 มิ.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  วพบ.สุราษฎร์ธานี
  จังหวัด :  สงขลา
  เรื่อง/หลักสูตร :  แนวทางปฏิบัติในการรับโอนย้ายนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยนครราชสีมา
  วันที่บันทึก  10 มิ.ย. 2553


 รายละเอียด
               1. ที่ประชุมแจ้งเกี่ยวกับการรับนักศึกษาพยาบาลจากวิทยาลัยนครราชสีมาเข้าเรียน ใน SC-Net ดังต่อไปนี้ – วพบ.สุราษฎร์ธานี จำนวน ๕ คน นักศึกษาปี ๓ – วพบ.สงขลา จำนวน ๓ คน นักศึกษาปี ๓ – วพบ.นครศรีธรรมราช จำนวน ๓ คน นักศึกษาปี ๓ – วพบ.ยะลา จำนวน ๒ คน นักศึกษาปี ๔ – วพบ.ตรัง จำนวน ๒ คน นักศึกษาปี ๔ 2. หลักเกณฑ์การรับโอนย้ายนักศึกษา ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2552 เรื่องการเทียบโอนหรือรับโอนรายวิชา ต้องได้รับการอนุมัติจากภาควิชา ที่เกี่ยวข้อง (รายละเอียดปรากฏในระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2552 หน้า 10-11 ข้อ 14.6 และ ข้อ 15) 3. การลงทะเบียนเรียนและรายวิชาของทั้งสองสถาบันที่สามารถเทียบโอนได้ ให้พิจารณาจากจำนวนหน่วยกิต คำอธิบายรายวิชา (Course Description) และความสำคัญของรายวิชา พบว่ามีรายละเอียดของรายวิชาที่เทียบโอนได้ เทียบโอนไม่ได้ และรายวิชาที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้ 1)จากระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2552 เรื่องการเทียบโอนหรือรับโอนรายวิชา ต้องได้รับการอนุมัติจากภาควิชาที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดปรากฏในระเบียบ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2552 ข้อ 14.6.3) ให้มีการโอนหรือรับโอนรายวิชาได้ไม่เกินสามในสี่ของจำนวนหน่วยกิตรวมของหลัก สูตรใหม่ (ไม่เกิน108 หน่วยกิต) ดังนั้น นักศึกษาจึงไม่สามารถลงทะเบียนเรียนเฉพาะในชั้นปีที่ 4 ได้ เนื่องจากนักศึกษาไม่สามารถเรียนให้ครบ 36 หน่วยกิต 2)รายวิชาที่สามารถเทียบโอนได้ หากได้ระดับคะแนนต่ำกว่า 2.5 หรือเทียบเท่า(C+) ต้องลงทะเบียนเรียนวิชานั้นใหม่(รายละเอียดปรากฏในระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2552 ข้อ 15.2.2) 3)รายวิชาชีพเฉพาะทางการพยาบาลทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนใหม่ เนื่องจากวิชาชีพการพยาบาลเป็นวิชาชีพที่มีการปฏิบัติกับมนุษย์ เน้นการมีทักษะในการดูแลผู้รับบริการทางสุขภาพ คงไว้ซึ่งมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพและมีมาตรฐานการพยาบาล อีกทั้ง การจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นการสอนแบบ บูรณาการ ไม่สามารถเรียนแยกรายวิชาได้ เมื่อพิจารณาจำนวนหน่วยกิตและคำอธิบายรายวิชา ที่ประชุมมีมติให้ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ดังต่อไปนี้ ปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย 2(0-8-0) การพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 3(3-0-6) ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 2(0-8-0) การพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 3(3-0-6) ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 2(0-8-0) การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 3(3-0-6) ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 3(0-12-0) การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2 3(3-0-6) ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2 3(0-12-0) การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 3 3(3-0-6) ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 3 3(0-12-0) ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต 2(0-8-0) ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1 4(0-16-0) ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 2 2(0-8-0) ปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น 2(0-8-0) ปฏิบัติการบริหารการพยาบาล 1(0-4-0) ทั้งนี้ วิทยาลัยฯ สามารถพิจารณาให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนตามบริบทของวิทยาลัยฯ และตามความต้องการของนักศึกษา โดยมีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 144 หน่วยกิต


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การเทียบโอนรายวิชาของนักศึกษา ต้องพิจารณาถึงความสอดคล้อง ครอบคลุมของเนื้อหาวิชาที่เรียนไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๔ ของรายวิชาของวิทยาลัย และสามารถโอนได้ไม่เกิน ๓ ใน ๔ ของจำนวนหน่วยกิตทั้งหมด


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การเทียบโอนรายวิชาของนักศึกษา หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

(592)