Author Archives: admin

การพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ (TQF)

การพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ (TQF)
ผู้บันทึก :  นางวิลาสินี แผ้วชนะ
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 7 ธ.ค. 2553   ถึงวันที่  : 9 ธ.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ (TQF)
  วันที่บันทึก  20 ก.พ. 2554


 รายละเอียด
               การอภิปรายเรื่อง “ผลการใช้หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต พ.ศ. ๒๕๕๒ ในมุมมองของผู้เกี่ยวข้อง” ดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์พจนา ปิยะปกรณ์ชัย นางศิริวันต์ ยิ้มเลี้ยง รองผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลพิจิตร บัณฑิตที่จบออกไปหลัง พ.ศ. ๒๕๔๕ พบว่า – ทักษะการปฏิบัติการพยาบาลมีน้อย – มีความเสี่ยงในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น – การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ มีน้อย – เก่งวิชาการ แต่ไม่แกร่ง และกล้า – ไม่สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือเครื่องใช้ได้ หากมีอุปกรณ์ไม่เหมือนที่เรียนมา – บางส่วนไม่มีใจรักในวิชาชีพ ถูกบังคับให้เรียน – ขาดการคิดเชิงบวก – สถาบันควรเน้นให้มีใจเป็นนักประชาธิปไตย เสียสละ อดทน ปรับตัวอยู่ในโลกของการเปลี่ยนแปลงได้ โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง มีเหตุผล พอประมาณ และมีภูมิคุ้มกัน ภายใต้การกระตือรืนร้นที่จะเรียนรู้ คิดเชิงรุกในการให้บริการเพิ่มขึ้น ให้เก่งพูด เก่งคิด เก่งทักษะ นายวิลัย วิชาชู ประธานวัฒนธรรมจังหวัดชัยนาท และประธานชมรมผู้สูงอายุ มีความเห็นว่า – นักศึกษาให้การดูแลผู้ใช้บริการดี แม้จบไปเป็นพยาบาลแล้วยังมีความผูกพันกัน เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน – สถาบันควรเพิ่มการผลิตบัณฑิตพยาบาลให้มากขึ้น ดร.ชุติมา ปัญญาพินิจนุกูร ผู้อำนวยการ วพบ.กรุงเทพ มีความคิดเห็นในมุมมองของผู้บริหารว่า ในการนำหลักสูตรไปใช้ ผู้บริหารควร – ต้องมีการประชาสัมพันธ์ และทำความเข้าใจในหลักสูตร – การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน เช่น ห้องเรียนกลุ่มย่อย ระบบสืบค้น ห้องสมุด สื่อที่ส่งเสริมการเรียนรู้ สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ อาคารเรียน หอพัก – สนับสนุน หรือส่งเสริมความรู้ของผู้สอน ในด้านวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ บทบาทของผู้สอนควร – เตรียมการสอน มีการวางแผนร่วมกันในทีมผู้สอน – เลือกใช้วิธีการสอน เทคนิคที่หลากหลาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ – จัดการเรียนการสอนตามแนวคิด (concept) – เลือกวิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสม บทบาทของผู้เรียนควรมี – การเรียนแบบนำตนเอง (Self directed learning) – การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ – การบริหารจัดการตนเอง – การทำงานเป็นทีม – การเชื่อมโยงความรู้จากทฤษฎี สู่การปฏิบัติ – คุณธรรมจริยธรรม ปัญหาที่พบ – ขาดทักษะการเรียนการสอนแบบบูรณาการ การอภิปรายเรื่อง “วิจัย : ผลการประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต พ.ศ. ๒๕๔๕ และความพึงพอใจต่อการใช้แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ วิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๑” ดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์พจนา ปิยะปกรณ์ชัย ดร.นิชดา สารถวัลย์แพศย์ วพบ.จังหวัดนนทบุรี จากการผลวิจัย พบว่า โครงสร้างหลักสูตร ไม่สอดคล้องกับตารางวิเคราะห์หลักสูตร (Blue print) ของสภาการพยาบาล และขาดตำราที่สอดคล้องกับหักสูตรบูรณาการ อ.โสภิต สุวรรณเวลา วพบ.ตรัง จากการผลวิจัย พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ การบรรยายเรื่อง “แนวทางการปรับหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญา ตรี สาขาพยาบาลศาสตร์” โดย รศ.ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ เหตุผลที่ต้องมีการปรับหลักสูตร เนื่องจาก – หลักสูตรมีอายุ – มีข้อบังคับใช้ กฎหมายใหม่ งบประมาณ – ผลการประเมินหลักสูตร ในประเด็น ความต้องการในการเปลี่ยนแปลงและกระบวนการที่เกี่ยวข้อง แรงขับดันจากภายนอก วิเคราะห์ความร่วมมือจากฝ่ายบริการพยาบาล วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของการพยาบาลที่มีผลต่อการเปลี่ยนทัศนคติ ของอาจารย์ นักศึกษา และผู้บริโภค เหตุที่ทำให้กระบวนการปรับเปลี่ยนหลักสูตร ยากที่จะสำเร็จ – Faculty commitment ที่จะเป็นผู้ริเริ่มการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร – การเห็นร่วมกันในประเด็นต่างๆของกระบวนการ – การพัฒนาปรัชญา กรอบแนวคิดและระดับของวัตถุประสงค์ ตลอดจนการนำไปปฏิบัติ – การพัฒนาเครื่องมือประเมินผล – การสื่อสารกระบวนการพัฒนาหลักสูตรต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง ช่น อาจารย์ นักศึกษา แหล่งฝึก – การมีเวลาเพียงพอต่อการพัฒนาหลักสูตร หน้าที่ของอาจารย์ในการปรับปรุงหลักสูตร – วางแผน ปฏิบัติและประเมินหลักสูตรอย่างเป็นระบบ – ระบุแรงขับดันต่อการเปลี่ยนแปลง และการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง – หาความต้องการทางวิชาการ และใช้ที่ปรึกษา – แจ้งการเปลี่ยนแปลงให้ผู้อื่นทราบทุกที่ ทุกเวลา และเมื่อจำเป็น – แจกแจงผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง – พัฒนาทักษะในกระบวนการกลุ่มและการใช้หลักการเปลี่ยนแปลง ระบบการสนับสนุนกระบวนการหลักสูตร – ผู้บริหาร และประธานหลักสูตรทีมีประสิทธิภาพ – ระบบบริหารจัดการที่ดี – ระบบการประเมินผลหลักสูตร การจัดการศึกษา – การสนับสนุนทางกฎหมาย และงบประมาณ – หน่วยงานรับรองสถาบัน – การสนับสนุนทางสิชาการจากวิชาชีพอื่น – การเข้าใจผลลัพธ์ของหลักสูตรจากผู้ใช้บัณฑิตและวิชาชีพอื่นๆ – ระบบข้อมูลย้อนกลับที่ชัดเจน – อาจารย์มีความรู้และเป็นแหล่งประโยชน์ได้ – แหล่งฝึกงานในโรงพยาบาล และชุมชน หลักการสำคัญในการพัฒนา มคอ.๒ – ต้องสอดคล้องกับ มคอ.๑ – สะท้อนความเป็นสถาบันของเจ้าของหลักสูตร เช่น อัตลักษณ์ของสถาบัน คุณลักษณะของบัณฑิต การบริหารหลักสูตร – แต่ละส่วนของ มคอ.๒ มีความสอดคล้องกัน ทั้ง ๘ ส่วน เริ่มต้นจากการพัฒนาปรัชญา มีการทบทวนความเชื่อของคณาจารย์ในสถาบัน อาจคงเดิม หรือปรับเปลี่ยน เนื่องจากปรัชญา เป็นสิ่งที่จะนำทางหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน การผลิตบัณฑิตพยาบาลของแต่ละสถาบัน เมื่อปรัชญาเปลี่ยน หลักสูตรก็ต้องเปลี่ยน – ในการทบทวนปรัชญา ต้องให้ทุกคนมีส่วนร่วม และทำอย่างรอบคอบ – ปรัชญาของแต่ละวิทยาลัย ต้องสอดคล้องกับสถาบันพระบรมราชชนก เป็นรากฐานของหลักสูตร อธิบายบทบาทของพยาบาลที่เปลี่ยนแปลงไปและภาพในอนาคต ต้องเป็นจริงและปฏิบัติได้ อธิบายระบบสุขภาพในปัจจุบัน และอนาคต เขียนสั้นๆ กระชับเนื้อความ – องค์ประกอบของปรัชญา ได้แก่ คน สังคม สุขภาพ การพยาบาล และการเรียนรู้ การปรับปรุงหลักสูตร – ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตรตามที่กำหนดในมคอ.๑ – จัดเตรียมข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ – กำหนดประเด็นที่จะใช้ในการปรับปรุงหลักสูตร เพื่อเตรียมเสนอต่อคณะกรรมการ – จัดประชุมคณะกรรมการ เพื่อวางกรอบการทำงาน – กรรมการภายในสถาบันดำเนินการ การประชุมกลุ่มย่อย เครือข่ายภาคใต้ (SC-Net) ๑. โครงสร้างหลักสูตรที่ปรับปรุง คงจำนวนหน่วยกิต ๑๔๔ หน่วยกิต แบ่งเป็น หมวดการศึกษาทั่วไป ๓๐ หน่วยกิต หมวดวิชาชีพเฉพาะ ๑๐๘ หน่วยกิต กลุ่มพื้นฐานวิชาชีพ ๓๐ หน่วยกิต กลุ่มวิชาชีพ ๗๘ หน่วยกิต แบ่งเป็น ทฤ ๕๑ นก. ปฏิบัติ ๒๗ นก. หมวดวิชาเลือกเสรี ๖ หน่วยกิต ๒. รายวิชาที่มีการเปลี่ยนแปลง – มนุษย์ สังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ ลดหน่วยกิตเหลือ ๒ นก. – ชีวเคมี ลดหน่วยกิตเหลือ ๒ นก. – จุลชีววิทยา ลดหน่วยกิตเหลือ ๒ นก. – การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต เพิ่มหน่วยกิตเป็น ๓ นก. – การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ เพิ่มหน่วยกิต และเนื้อหาเกี่ยวกับผู้สูงอายุ. สรุปผลการประชุมกลุ่มย่อยทุกเครือข่ายภาค พบว่า – จำนวนหน่วยกิต คงเดิม ๑๔๔ – จำนวนหน่วยกิตหมวดวิชาชีพเฉพาะ พบว่า กลุ่มพื้นฐานวิชาชีพอยู่ในช่วง ๓๐-๓๖ นก.และกลุ่มวิชาชีพอยู่ในช่วง ๗๖-๗๙ หน่วยกิต – ประเด็นสำคัญคือ วิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ทุกเครือข่ายภาคต้องการให้แยกเป็นวิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ – อย่าลืม รายวิชาที่ สบช. ต้องการคงไว้ คือ รายวิชามนุษย์ สุขภาพ สิ่งแวดล้อม รายวิชากระบวนการคิด และรายวิชาการสื่อสารทางการพยาบาล – เอกลักษณ์หลักสูตรสบช. ใช้การสร้างเสริมสุขภาพ ให้ความสำคัญกับชุมชน ยึดการดูแลแบบองค์รวมบนพื้นฐานการดูแลแบบเอื้ออาทร ใช้กระบวนการพยาบาลในการแก้ปัญหาสุขภาพ ยึดหลักจริยธรรมและสิทธิมนุษยชน บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เลือกใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีที่เหมาะสม – ทุก วพบ. ต้องทำหลักสูตรให้เรียบร้อย ภายในเดือน มีนาคม ๒๕๕๔


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน พัฒนาหลักสูตร


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน พัฒนาหลักสูตร

(575)

สัมมนาพยาบาลพี่เลี้ยงในแหล่งฝึก ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้

สัมมนาพยาบาลพี่เลี้ยงในแหล่งฝึก ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้
 ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ และนางเกษรา วนโชติตระกูล
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  สัมมนา
  เมื่อวันที่ : 7 ต.ค. 2553   ถึงวันที่  : 8 ต.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  สงขลา
  เรื่อง/หลักสูตร :  สัมมนาพยาบาลพี่เลี้ยงในแหล่งฝึก ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้
  วันที่บันทึก  28 ธ.ค. 2553


 รายละเอียด
               การบรรยายเรื่อง “บทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง” โดย อาจารย์พจนา ปิยะปกรณ์ชัย พยาบาลพี่เลี้ยง คือ พยาบาลที่ยินดีแบ่งปันความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลต่อผู้เรียน มีบทบาทดังนี้ 1. พบนักศึกษา และอาจารย์ของสถาบัน ทบทวนวัตถุประสงค์ของการเรียน และความคาดหวังของนักศึกษาภายใน 2 สัปดาห์แรกของการฝึกปฏิบัติ 2. จัดให้นักศึกษามีประสบการณ์ หรือให้คำแนะนำเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์การเรียน 3. สนับสนุนให้นักศึกษามีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วย/บุคคลร่วมกับพยาบาลประจำการ 4. ร่วมในการประชุมระหว่างนักศึกษา และพยาบาลประจำการ สัปดาห์ละครั้ง จัดให้มีการเรียนรู้ และนิเทศความก้าวหน้าให้แก่นักศึกษา ทั้งด้านความรู้ ทักษะ 5. ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักศึกษาตามที่กำหนด 6. พบกับอาจารย์จากสถาบันร่วมกับนักศึกษา เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานเมื่อสิ้นสุด การเรียน กระบวนการของพยาบาลพี่เลี้ยง แบ่งเป็น 5 ระยะ ได้แก่ 1. Anticipating มีการกำหนดวัตถุประสงค์ ทำความเข้าใจในบทบาท โดยการมีส่วนร่วมกันระหว่างพยาบาลพี่เลี้ยง อาจารย์ และนักศึกษา 2. Intiating พยาบาลพี่เลี้ยงจัดหาโอกาสและประสบการณ์ให้กับนักศึกษา ยอมรับในความสามารถ ข้อจำกัดของนักศึกษา รวมทั้งการสาธิตหากนักศึกษาไม่สามารถปฏิบัติได้ 3. Trusting ให้นักศึกษาปฏิบัติตามอิสระ ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ประเมินผลซึ่งกันและกัน 4. Collaboration พยาบาลพี่เลี้ยงและนักศึกษามีการปฏิบัติร่วมกัน นิเทศและให้ข้อแนะนำ ประเมินและให้กำลังใจ 5. Terminating ระยะสิ้นสุด มีการประเมินผลร่วมกัน คุณสมบัติของพยาบาลพี่เลี้ยงตามทัศนะของนักศึกษา มีดังนี้ 1. เห็นอกเห็นใจ ดูแลให้ความอบอุ่น 2. ยุติธรรม ยืดหยุ่น 3. อารมณ์คงที่ กระตือรือร้น สนใจ 4. ให้การยอมรับ 5. มีความสุขในการสอน 6. สนใจในการเรียนของนักศึกษา 7. แสดงบทบาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ 8. มีภาวะผู้นำ 9. มีทักษะ การสื่อสารที่ชัดเจน 10. เป็นนักแก้ปัญหา 11. สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้ การประชุมกลุ่มย่อย เพื่อทำความเข้าใจ ทบทวนกิจกรรมใน ร่างคู่มือการฝึกปฏิบัติแบบเข้ม โดยการแลกเปลี่ยนกับพยาบาลพี่เลี้ยงและวิทยากร โดยการชี้แจงวัตถุประสงค์ในการฝึก ปฏิบัติแบบเข้ม นักศึกษาจะต้อง 1. ปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวม บนพื้นฐานความเอื้ออาทรแก่บุคคล ครอบครัว และชุมชน สอดคล้องกับวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมโดยยึดหลักจริยธรรมและสิทธิมนุษยชน 2. แสดงบทบาทพยาบาลวิชาชีพในด้านบริการ ด้านบริหาร ด้านวิชาการและประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ โดยบูรณาการความรู้ ทฤษฎี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและผลงานวิจัยมาใช้ในการดูแลสุขภาพแก่บุคคล ครอบครัวและชุมชน 3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้การปรึกษาด้านสุขภาพแก่บุคคล ครอบครัวและชุมชน สถานที่ฝึกปฏิบัติ ในโรงพยาบาลศูนย์/ โรงพยาบาลทั่วไป/ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพชุมชน/ ชุมชนในจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา และสตูล จำนวนนักศึกษาแยกตามจังหวัดที่ฝึกปฏิบัติ จำนวน 2,851 คน แบ่งออกเป็น จังหวัดนราธิวาส จำนวน 947 คน จังหวัดยะลา จำนวน 552 คน จังหวัดปัตตานี จำนวน 917 คน จังหวัดสงขลา จำนวน 276 คน จังหวัดสตูล จำนวน 159 คน ทั้งนี้แต่ละจังหวัดนักศึกษาจะเลือกประสบการณ์ในแต่ละแหล่งฝึกที่สนใจหรือ ตามความต้องการของจังหวัดที่จะให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติในสาขาที่จะต้องกลับไป ปฏิบัติงาน กิจกรรมการเรียนรู้ 1. กิจกรรมนักศึกษา ในโรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลทั่วไป / โรงพยาบาลชุมชน 1) ทำ Learning plan ส่งในวันแรกของการฝึกปฏิบัติในทุกแหล่งฝึก และวางแผนร่วมกับพยาบาลพี่เลี้ยง 2) ให้ Bedside nursing care และเรียนรู้งานพยาบาลในบทบาทพยาบาลวิชาชีพ 3) วางแผนการพยาบาล (Kardex plan) ใช้แบบฟอร์มภาคผนวก ง ในผู้ป่วยที่ดูแลอย่างต่อเนื่อง 1 รายต่อสัปดาห์ 4) ฝึกการบริหารการพยาบาลเป็นหัวหน้าเวร หัวหน้าทีมไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง หรือตามความเหมาะสมของแหล่งฝึก 5) กรณีศึกษาและอภิปราย (Case conference) ร่วมกับอาจารย์พี่เลี้ยงแหล่งฝึกอย่างน้อย 1 ครั้ง 6) ฝึกปฏิบัติการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ก่อนคลอด ระยะคลอด และหลังคลอด 7) ให้การดูแลผู้ป่วย (เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ) ที่มีปัญหาสุขภาพของระบบต่างๆ ไม่น้อยกว่า 5 ราย 8) ฝึกทำหัตถการและทักษะที่จำเป็นและสอดคล้องกับปัญหาสุขภาพ ได้แก่ การประเมินภาวะสุขภาพ, การใส่สายยางและการให้อาหารทางสายยาง, การให้ยา สารน้ำทางหลอดเลือดดำ, การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจน, การสวนปัสสาวะ, การดูแลบาดแผล, การให้คำแนะนำทางสุขภาพ, การเขียนบันทึกทางการพยาบาลสอดคล้องกับปัญหาสุขภาพ 9) ฝึกการแก้ไขปัญหาในผู้ป่วยฉุกเฉินบาดเจ็บ หรือมีปัญหาสุขภาพที่เฉียบพลันอย่างน้อยกว่า 5 ราย (กรณีแหล่งฝึกในห้องฉุกเฉิน) 10) สนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในปัญหาสุขภาพและการดูแลตนเองกับผู้ป่วยและญาติ พร้อมให้คำแนะนำเพิ่มเติมโดยสอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมและศาสนา อย่างน้อย 2 ราย 11) สอนเสริม / ทบทวนความรู้ทางวิชาชีพอย่างน้อย 2 เรื่อง 2. กิจกรรมนักศึกษา ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล / ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพชุมชน / สถานีอนามัย 1) ทำ Learning plan ส่งในวันแรกของการฝึกปฏิบัติ และวางแผนร่วมกับพยาบาลพี่เลี้ยง 2) ฝึกปฏิบัติการพยาบาลและมีส่วนร่วมในสร้างเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาของครอบ ครัวและชุมชนทั้ง 4 มิติ เช่น การสร้างเสริมสุขภาพ การเยี่ยมบ้าน การแก้ไขปัญหาสุขภาพ การเฝ้าระวังโรคระบาดในชุมชน และการส่งต่อ เป็นต้น 3) ฝึกปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น 4) การทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายชุมชน 3. กิจกรรมอาจารย์พี่เลี้ยง 1) ปฐมนิเทศการฝึกปฏิบัติงานแก่นักศึกษา 2) ตรวจสอบแผนการเรียนรู้ (Learning plan) และวางแผนการเรียนรู้ร่วมกับนักศึกษา 3) จัดประสบการณ์ให้นักศึกษารับผิดชอบตามความเหมาะสม เช่น การมอบหมายผู้ป่วย การมอบหมายหน้าที่พิเศษ 4) ประชุมปรึกษาก่อนและหลังให้การพยาบาล (Pre – post conference) 5) สอน แนะนำและนิเทศการปฏิบัติการพยาบาล 6) เป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติการพยาบาลในบทบาทพยาบาลวิชาชีพ 7) สอนในคลินิกหรือชุมชน (Clinical teaching) 8) ประเมินผลการฝึกปฏิบัติหลังเสร็จสิ้นการฝึกภาคปฏิบัติตามแบบประเมิน การประเมินผล 1. ผลสัมฤทธิ์การฝึกประสบการณ์พยาบาลแบบเข้ม ร้อยละ 80 2. การประชุมปรึกษาทางการพยาบาล ร้อยละ 20 การตัดสินผลการฝึกปฏิบัติมี 2 ระดับ ดังนี้ S (Satisfied) หมายถึง นักศึกษาต้องมีผลการปฏิบัติงานไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และ/ หรือฝึกปฏิบัติในรายวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาฝึกปฏิบัติงาน U (Unsatisfied) หมายถึง นักศึกษาต้องมีผลการปฏิบัติงานต่ำกว่าร้อยละ 70 และ/ หรือฝึกปฏิบัติในรายวิชาน้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาฝึกปฏิบัติงาน


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การฝึกปฏิบัติแบบเข้ม สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
               การฝึกปฏิบัติแบบเข้ม สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต

(462)

โครงการปฐมนิเทศข้าราชการใหม่ “หลักสูตรการเป็นข้าราชการที่ดี”

โครงการปฐมนิเทศข้าราชการใหม่ “หลักสูตรการเป็นข้าราชการที่ดี”
ผู้บันทึก :  นางสาวนอลีสา สูนสละ
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 13 ธ.ค. 2553   ถึงวันที่  : 24 ธ.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  วิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข
  จังหวัด :  ปทุมธานี
  เรื่อง/หลักสูตร :  โครงการปฐมนิเทศข้าราชการใหม่ “หลักสูตรการเป็นข้าราชการที่ดี”
  วันที่บันทึก  27 ธ.ค. 2553


 รายละเอียด
               ธรรมะกับการเป็นข้าราชการที่ดี การประยุกต์ใช้เรื่องธรรมะกับการเป็นข้าราชการที่ดี มี 4 ข้อ คือ 1. ฉันทะ เราจะต้องมีความรักในงานที่ทำอย่างจริงจัง เต็มใจทำงาน 2. วิริยะ ต้องแข็งใจทำงานให้ดีที่สุด “ดีเท่านั้นถึงจะดีที่สุด” 3. จิตตะ ตั้งใจทำ 4. วิมังสา ต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทิศทางกาบริหารทรัพยากรบุคคลแนวใหม่ ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย 1. การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน 2. การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน 3. การรื้อระบบการเงินและการงบประมาณ 4. การสร้างระบบบริหารบุคลและค่าตอบแทนใหม่ 5. การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรมและค่านิยม 6. การเสริมสร้างระบบราชการให้ทันสมัย 7. การเปิดระบบการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ข้าราชการยุคใหม่ที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ข้าราชการที่ดีจะต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เช่นการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การปฏิบัติตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ข้าราชการต้องเตรียมร่างกาย จิตใจให้พร้อมในการที่จะทำงาน การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง คือ รักษากายให้มั่นคง รักษาจิตให้ดี ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน และจะต้องทำประโยชน์ให้กับผู้อื่นให้มากที่สุด การควบคุมตนเองเพื่อประโยชน์สุขของชีวิต การควบคุมตนเองจากสิ่งที่ไม่ดีไม่ให้ปฏิบัติ เช่น การมุ่งหาประโยชน์ส่วนตนจากตำแหน่งหน้าที่ และการปฏิบัติตนในทางที่ดีเพื่อให้เกิดประโยชน์คือความสุขของชีวิตตนเอง การเรียนรู้ตามรอยพระยุคบาท:เสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรมสำหรับข้าราชการใหม่ องค์ประกอบในการประกอบวิชาชีพข้าราชการ คือ มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ มีความรู้เรื่องกฎหมาย มีคุณธรรมและจริยธรรม สติ สัมปชัญญะกับการเป็นข้าราชการที่ดี จะต้องทำเพื่อตัวเราเองและประสานประโยชน์ของครอบครัว ชุมชน องค์กรและสังคมที่ดี คือ ต้องมีน้ำมือ น้ำคำ และน้ำใจที่ดี มีวินัยเพราะวินัยเป็นพื้นฐานของความรับผิดชอบ และวินัยและความรับผิดชอบนั้นเป็นพื้นฐานของความซื่อสัตย์สุจริต และตัวชี้วัดความมีวินัยที่ง่ายและดีที่สุดก็คือ การตรงต่อเวลา การไม่มักง่ายในการทิ้งขยะและการมีมารยาทในสังคม การนำหลักคำสอนทางศาสนาไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน จะต้องทำดี ละทิ้งความชั่ว มีความเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา การพัฒนาตนเองเริ่มที่ตนเองก่อน เพื่อให้เรารู้จักตนเอง เพื่อการพัฒนาตนเอง เพื่อการแก้ปัญหาอย่างถูกวิธี และเพื่อการเสพสุขอย่างรู้เท่าทัน


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              พัฒนาตนเองในการดำรงชีวิตที่ดีในการเป็นนข้าราชการยุคใหม่


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              ความรู้เกี่ยวกับการเป็นข้าราชการที่ดี มีเครือข่ายบุคลกรด้านกระทรวงสาธารณสุข

(802)

ประชุมวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก ประจำปี ๒๕๕๓

ประชุมวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก ประจำปี ๒๕๕๓
  ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ และนางเกษรา วนโชติตระกูล
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมวิชาการ
  เมื่อวันที่ : 18 ก.ย. 2553   ถึงวันที่  : 21 ก.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  ระยอง
  เรื่อง/หลักสูตร :  ประชุมวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก ประจำปี ๒๕๕๓
  วันที่บันทึก  29 ก.ย. 2553


 รายละเอียด
               การบรรยายเรื่อง “สถาบันพระบรมราชชนก: อนาคตที่ท้าทาย” โดย นพ.สมควร หาญพัฒนชัยกูร ผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก ๑. ความก้าวหน้าของพรบ.สถาบันพระบรมราชชนก ขณะนี้กำลังปรับแก้ พรบ. เพื่อยื่นร่าง พรบ. ให้ปลัดกระทรวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และผู้แทนราษฎร และยื่นสู่สภาฯ ต่อไป ๒. แผนยุทธศาสตร์ ๕ ปี ของ สบช. (๒๕๕๔ – ๒๕๕๘) ต้องมีการประชาสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอกได้รับรู้เกี่ยวกับภารกิจของ สบช. ด้วย รวมถึงต้องจัดสรรงบประมาณให้ตอบสนองตามแผนยุทธศาสตร์ด้วย ๓. ตราสัญลักษณ์ที่ได้รับพระราชทานมาใหม่ ต้องมีการประชุมเพื่อจัดทำระเบียบการใช้ ให้ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป และอาจมีการเฉลิมฉลองในวันที่ ๒๔-๒๕ ธันวาคมนี้ รวมถึงการจัดแสดงโชว์ผลงาน/นวัตกรรมของนักศึกษาและอาจารย์ ให้บุคคลภายนอกได้รับรู้ด้วย ๔. การทำงานร่วมกับเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกกระทรวงสาธารณสุข ๔.๑ หน่วยงานภายในกระทรวง มีข้อตกลงกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดอบรมหลักสูตรคุ้มครองผู้บริโภคให้กับประเทศภูฐาน วิทยาลัยต่างๆ ควรบูรณาการเนื้อหาลงในรายวิชาที่นักศึกษาเรียนด้วย ๔.๒ หน่วยงานภายนอกกระทรวง มีข้อตกลงกับกองทัพบก เรื่องการเสริมสร้างรู้รักสามัคคีในนักศึกษา ๕. การรับมอบทุนจากธนาคารการเกษตรและสหกรณ์ จำนวน ๙๙๙ ทุน เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนม์พรรษาของในหลวง เริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ เป็นต้นไป จำนวน ๒๐๐ บาท/ปี ๖. การจ้างเหมาลูกจ้าง ให้เป็นไปตามระเบียบที่กรมบัญชีกลางกำหนดไว้ ๗. การสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์ของสถาบันพระบรมราชชนก


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
               การปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์ของสถาบันพระบรมราชชนก

(301)

ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดทำคู่มือการฝึกปฏิบัติเข้ม(Elective Practive)

ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดทำคู่มือการฝึกปฏิบัติเข้ม(Elective Practive)
 ผู้บันทึก :  นางเกษรา วนโชติตระกูล
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 22 ก.ย. 2553   ถึงวันที่  : 24 ก.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  ส่วนพัฒนาการศึกษา สบช.
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดทำคู่มือการฝึกปฏิบัติเข้ม(Elective Practive)
  วันที่บันทึก  28 ก.ย. 2553


 รายละเอียด
               ๒๒ กันยายน ๒๕๕๓ รองผอ. ส่งศรี กิตติรักษ์ตะกูล กล่าวเปิดการประชุม บรรยายแนวทางการจัดทำคู่มือการศึกษาภาคปฏิบัติ โดย อาจารย์พจนา ปิยะปกรณ์ชัย การศึกษาภาคปฏิบัติ เป็นการ จัดโอกาสให้ผู้เรียนลงมือ ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง พัฒนาทักษะให้เกิดความคล่องแคล่ว ความชำนาญ ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติ วิธีการขั้นตอนในการ ปฏิบัติ การสอนภาคปฏิบัติ = วิธีปฏิบัติ ประยุกต์ความรู้ด้านทฤษฎี ผสมผสาน บูรณาการความรู้ ทักษะ ทัศนคติ = การใช้ Scientific knowledge + Humanistic การพัฒนาทักษะ = ทักษะด้านการคิด + ทักษะการปฏิบัติ ทักษะการเรียนรู้+ทักษะการคิดวิเคราะห์ + ทักษะการตัดสินใจ+ ทักษะการแก้ปัญหา เป็นสิ่งจำเป็นต้องรู้เหตุ รู้ผลในการปฏิบัติกิจกรรมนั้น (Know How) มาตัดสินใจ ในการให้การแก้ไขปัญหาของแต่ละบุคคล เป้าหมายของการศึกษาภาคปฏิบัติ 1. ช่วยให้นักศึกษานำความรู้ภาคทฤษฎีไปใช้ในสถานการณ์จริง 2. พัฒนาความสามารถ ความรู้ ทักษะ และทัศนคติเชิงวิชาชีพ 3. เรียนรู้วัฒนธรรมการปฏิบัติงานของวิชาชีพ -LO = จะรู้ เข้าใจ ทำอะไรได้บ้าง – Process = จะเรียนรู้อย่างไรให้รู้ เข้าใจ และทำได้ – Assessment จะวัดอย่างไรว่าเกิด LO – Learning Resources จะต้องสนับสนุนอย่างไร ทักษะที่จำเป็น 10 ประการ 1. ทักษะด้านการสร้างความคิด 2. ทักษะด้านพัฒนาชุมชน 3. ทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร 4. ทักษะด้านการประสานงาน 5. ทักษะด้านการจัดการ 6. ทักษะด้านการสอน 7. ทักษะเทคนิค วิธีปฏิบัติ 8. ทักษะการทำงานเป็นทีม 9. ทักษะด้านการเข้าถึงมนุษย์ 10. ทักษะด้านการค้นคว้าวิจัย การจัดทำคู่มือการศึกษาภาคปฏิบัติ 1. วิเคราะห์ผลลัพธ์ 2. ออกแบบการจัดประสบการณ์ 3. กำหนดวัตถุประสงค์ 4. กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ 5. การฝึกปฏิบัติ 6. กำหนดการวัด ประเมินผล การออกแบบการศึกษาภาคปฏิบัติ ประกอบด้วย – ผลลัพธ์รายวิชา – การวัด ประเมินผล – กิจกรรมการเรียนรู้ – แหล่งเรียนรู้ แลกเปลี่ยนรู้แต่ละวิทยาลัย วพบ.ขอนแก่น : จัดบูรณาการกับวิชาบริหาร จัดเฉพาะในรพ. แต่ละ Ward ประมาณ 4-5 คน วัตถุประสงค์เพื่อเรียนบทบาทการเป็นพยาบาลวิชาชีพ การใช้กระบวนการพยาบาลในด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู การบริหาร บนพื้นฐานการดูแลแบบองค์รวม เอื้ออาทร วพบ.กรุงเทพฯ : มีแนวทางเช่นเดียวกัน วพบ.ลำปาง: ไม่มีการฝึก เวลา ๑๓.๐๐ -๑๘.๐๐ น. ประชุมกลุ่มย่อยเพื่อจัดทำร่างคู่มือการฝึกปฏิบัติ โดยการวิเคราะห์ ผลการเรียนรู้ที่ต้องการจากลักษณะรายวิชา ซึ่งในหลักสูตร ๔๕ ไม่มีรายวิชานี้ จึงต้องเขียนลักษณะการฝึกแทน และจากผลการเรียนรู้ นำมาสู่การกำหนดกิจกรรมการฝึก การวัดและประเมินผล และแหล่งเรียนรู้ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๓ เวลา ๐๙.๐๐-๑๗.๐๐น. นำร่างของทั้งสองกลุ่มมาวิพากษ์ และจัดทำร่างคู่มือการฝึก ๒๔กันยายน ๒๕๕๓ เวลา ๐๙.๐๐-๑๓.๐๐น. ประชุมปรับปรุงแก้ไขระเบียบการจัดการศึกษาของสบช ที่มีประเด็นการเข้าใจไม่ตรงกัน ทางสบช.จะประกาศอีกครั้ง


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              – การเรียนการสอนรายวิชา Elective – การจัดทำคู่มือการฝึกปฏิบัติเข้ม(Elective Practive)


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              - การเรียนการสอนรายวิชา Elective – การจัดทำคู่มือการฝึกปฏิบัติเข้ม(Elective Practive)

(280)