แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้
วันที่บันทึก : 26 พฤศจิกายน 2555
ผู้บันทึก : นางสาวบุญธิดา เทือกสุบรรณ
กลุ่มงาน : การพยาบาลพื้นฐานและพื้นฐานวิชาชีพ
ฝ่าย : วิชาการ
ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2555 ถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2555
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย
สถานที่จัด : ณ โรงแรมตวันนา สุรวงศ์ กรุงเทพมหานคร
เรื่อง : Toward health and happiness of Thai aging society
รายละเอียด
1. Happiness in older people
ชีวิตที่มีความสุขคือชีวิตที่มีคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลักคือ
-ชีวิตที่มีสุขภาพดี ต้องผสมผสานทั้งสุขภาพกาย จิต สังคม และจิตปัญญา
-ชีวิตที่ประกอบกิจการงานดี ทั้งเพื่อตนเองและเพื่อผู้อื่น ที่สามารถกระทำได้ตาม อัตภาพของผู้สูงอายุ
-ชีวิตที่มีความมั่นคงดี คือมั่นคงทางเศรษฐกิจ ครอบครัว มีความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สิน และในสิ่งแวดล้อม
2. .Community cardiovascular health promotion for older adults
ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจหลอดเลือด
-ประวัติครอบครัวและกรรมพันธุ์
-การสูบบุหรี่
-ความดันโลหิตสูง
-ไขมันในเลือดสูง
-เบาหวาน
-อ้วน
-ไม่ออกกำลังกาย
-มีการติดเชื้อ อักเสบ
-ภาวะทางจิต
ดังนั้นจำเป็นต้องมีการสำรวจปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อคัดกรองโรคและ สร้างเสริมสุขภาพรวมทั้งป้องกัน โดยอาจจัดทำเป็นโครงการ ซึ่งจะต้องทำร่วมกันเป็นทีม สหสาขาวิชาชีพ
3. common pitfalls in managing a diabetic older patients
ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น มองไม่ชัด มือสั่น รวมทั้งหากขาดผู้ดูแล โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานหากต้องได้รับการฉีดยาอินสุลินด้วยตนเองในขณะที่ไม่มีผู้ดูแล ทำให้ได้รับยาฉีดอินสุลินไม่ครบจำนวนเป็นผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำตามมา นอกจากนี้ผู้สูงอายุบางรายใช้ยาหลายตัวเนื่องจากโรคที่เป็นอยู่ซึ่งจำเป็นต้องทราบปฏิกิริยาของยา ดังนั้นผู้ให้บริการจำเป็นต้องมีการประเมินในส่วนนี้ด้วย
4.practical approach to diabetic foot ulcer
foot ulcer เป็นภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานมากที่สุด สถิติ ทุกๆ ๑ ใน ๖ คน ของผู้ป่วยเบาหวานจะเกิดเป็นแผลที่เท้า ซึ่งสามารถรักษาแผลให้หายได้ ไม่แนะนำให้ตัดขา เพราะจะทำให้มีคุณภาพชีวิตไม่ดี เพราะขาเทียมมีน้ำหนักมาก แต่ผู้สูงอายุมีอายุเพิ่มขึ้น แต่กำลังลดลง
การประเมินเท้าผู้สูงอายุเบาหวาน
-มีประวัติเป็นแผลมาก่อนหรือไม่
-คุมเบาหวานเป็นอย่างไร
-มีปัจจัยเสี่ยงใดบ้าง
-เดินได้คล่องหรือไม่ หรือเดินๆหยุดๆ
-ใส่รองเท้าหรือไม่ ดูแลเท้าอย่างไร
-ดูว่าเท้ามีความพิการหรือไม่ คลำชีพจรที่เท้า การรับรู้ความรู้สึก
-ดูรองเท้าที่สวมใส่ เพราะถ้ามีแผลที่เท้า พบว่ารองเท้าในส่วนนั้นจะยุบลง
-สอนการดูแลเท้า
การบริหารจัดการแผลที่เท้า
-การประเมิน (assess)
-การทำแผล (dressing)
-การลดการกระแทก (off loading)
การป้องกันแผลเบาหวานที่เท้ากลับเป็นซ้ำ ต้องทำรองเท้าตามสภาพแผล
รองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า
-รองเท้าพลาสติก
-รองเท้าแตะแบบหนีบ
-รองเท้าส้นสูง
5.practical diabetic care in hospitals and home
ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า ๖๐ ปีที่เป็นเบาหวานไม่ควรควบคุมน้ำตาลในเลือดมากเกินไป ควรพิจารณาเฉพาะเป็นรายๆ
การควบคุมอาหารในผู้สูงอายุเบาหวาน โดยให้กิน charbohydrate, protein, fat เหมาะสมกับ ผู้ป่วยแต่ละราย การคำนวณอาหารต้องให้พลังงานต่อวันอย่างเพียงพอ โดยพิจารณาจาก Basal Metabolic Rate (BMR)
การออกกำลังกาย แนะนำว่าการทำงานบ้านไม่ใช่การออกกำลังกาย แต่เป็น physical movement สำหรับผู้สูงอายุเบาหวานควรออกกำลังกาย ๓ วันต่อสัปดาห์ ซึ่งก่อนออกกำลังกาย ต้องประเมินว่ามีโรคประจำตัวหรือไม่ ถ้ามีความเสี่ยงสูง ให้ออกกำลังกายช่วงสั้นๆ เบาๆก่อน จากนั้นค่อยๆเพิ่มช้าๆ และถ้าอยู่ในภาวะน้ำตาลต่ำหรือสูง ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ สงสัย เป็นโรคหัวใจขาดเลือด ไม่สามารถควบคุมภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ให้งดออกกำลังกาย ในขณะนั้น หรือมีปัญหาทางตา เลี่ยงการออกกำลังกายที่เพิ่มความดันในลูกตา การออก กำลังกาย ควรเป็นแบบ moderate intensity คือ การออกกำลังกายที่เพิ่ม อัตราการเต้นหัวใจ ๕๐-๗๐%
การใช้ยาในผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน เช่น metformin, กลุ่ม sulfonylurea, กลุ่มTZD, กลุ่ม DDP-IV inhibitors, insulin ซึ่งการเลือกใช้ยา จำเป็นต้องพิจารณาตามความเหมาะสมกับ ผู้สูงอายุเป็นรายๆ
6.Can we delay an aging process
วิธีการชะลอวัย๑. Detoxification ๒. Antioxidant ๓. Oxygen therapy ๔. Hormone therapy ๕. Immuno therapy
6. Cell therapy: stem cell therapy, autologous stem cell therapy จากตัวเราเอง , alloenic stenm cell therapy จากผู้อื่น
การชะลอวัยด้วยโภชนาการ 1. อย่ามากเกินไป เช่น น้ำตาลทราย ฟรุคโตสไซรับ ไขมัน แอลกอฮอล์ 2. ให้เพียงพอ เช่น สังกะสี โอเมก้า 3 วิตามินE เซเลเนียม อะเตวิน ฟลาโวนอยด์ 3. จำกัดอาหารให้พลังงาน 4. ปรับพฤติกรรม เช่นออกกำลังกาย งดสูบบุหรี่
7.Can we reverse disability?
Disability คือ loss of function ทั้ง basic เช่น eating, bathing, dressing, transfer, ambulate, hygine care และ advance เช่น cooking, home making, laundry, transpotation
Disability ในผู้สูงอายุ
-multiple and chronic pathology
- reduce body reverse
-secondary life style
ปัจจัยที่ลด disability
-deficiency of vitamin D
-cognition status
-social engagement
การป้องกัน disability ควรมี physical activity : ล้างรถ ทำกับข้าว เดินไปหยิบแก้วน้ำ เดินซื้อของ เป็นต้น
การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ
-flexibility exercise : yoga, tai chi
-strengthening exercise; dumbbell, rubber band
-balancing exercise; wii fit, tai chi, hip adduction, hip abduction
-cardiovascular fitness: walking, arobic, dancing
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
-ภาคทดลองรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ
-การเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลพื้นฐานและพื้นฐานวิชาชีพ
-การพัฒนาบุคลากร
-เพิ่มพูนความรู้ด้านการดูแลผู้สูงอายุเบาหวาน
(306)