ถวายเทียนพรรษา ประจำปี 2565 ณ วัดคูพาย
การถวายเทียนพรรษาเป็นโบราณประเพณีที่ทำสืบๆ มาเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงฤดูเข้าพรรษา ภิกษุทั้งปวงต้องจำพรรษาในอาวาสของตน 3 เดือน
การถวายเทียนพรรษาเป็นโบราณประเพณีที่ทำสืบๆ มาเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงฤดูเข้าพรรษา ภิกษุทั้งปวงต้องจำพรรษาในอาวาสของตน 3 เดือน
วันที่ 16 กพ 2565 ผู้อำนวยการ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ ร่วมกิจกรรมทำบุญใส่บาตร แห่ผ้าพระบฏพระราชทาน ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารนครศรีธรรมราช
การถวายเทียนพรรษาเป็นโบราณประเพณีที่ทำสืบๆ มาเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงฤดูเข้าพรรษา ภิกษุทั้งปวงต้องจำพรรษาในอาวาสของตน 3 เดือน พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงได้จัดทำให้เป็นกุศลพิธีขึ้น เมื่อได้นำเทียนไปถวายพระสงฆ์แล้ว ท่านก็จะได้จุดบูชาต่อหน้าพระประธานในพระอุโบสถ ส่งผลให้ผู้ถวายย่อมได้รับอานิสงส์ คือ 1. ทำให้เกิดปัญญา ทั้งชาตินี้และชาติหน้า เปรียบเหมือนแสงสว่างแห่งเทียน 2. ทำให้สว่างไสวรุ่งเรือง ผู้ถวายย่อมทำให้มีความรุ่งเรืองด้วย ลาภ ยศ สรรเสริญ 3. ทำให้คลี่คลายเรื่องราวต่างๆ ที่มีปัญหาให้ร้ายกลายเป็นดี 4. เจริญไปด้วยมิตรบริวาร 5. ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย … Read More
ทอดผ้าป่า หมายถึง พิธีบุญอย่างหนึ่งของชาวพุทธ ผ้าป่า คือ ผ้าที่ผู้ทำบุญนำไปวางไว้ที่ใดที่หนึ่งไม่ต้องการให้พระรู้ว่าตนเป็นผู้ทำบุญ และตั้งใจไว้ว่าหากภิกษุรูปใดมาพบผ้านั้นก่อนให้หยิบเอาไป กิริยาที่เอาผ้ามาวางไว้ แล้วตั้งใจอธิษฐานนั้น เรียกว่า ทอดผ้าป่า ในปัจจุบันการทอดผ้าป่าได้มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยนิยมนำกิ่งไม้มาปักไว้ในกระถาง และนำผ้ามาผูกแขวนไว้ และอาจจะนำผ้ามาทำเป็นรูปร่าง ต่างๆ เช่น ชะนี รูปผี แขวนไว้ที่กิ่ง และสิ่งของเครื่องใช้ที่จะถวายพระ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว … Read More
วันวิสาขบูชา เป็นวันที่ระลึกถึงวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือนวิสาขมาส (เดือน 6) บรรจบกันทั้ง 3 คราว ชาวพุทธจึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า วันวิสาขบูชา ซึ่งหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 บางแห่งอาจเรียกว่า วันพระพุทธเจ้า หรือ พุทธ ชยันตี พุทธศาสนิกชนจะเดินทางเข้าวัดบำเพ็ญกุศล ถือศีล ฟังธรรมแล้ว ปล่อยนกปล่อยปลา ตั้งใจรักษาศีล 5 ศีล 8 งดเว้นการทำบาปทั้งปวง … Read More
วันสงกรานต์ ตามความเชื่อของประเพณีสงกรานต์แบบดั้งเดิมที่ภาคใต้แล้ว สงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งการผลัดเปลี่ยนเทวดาผู้รักษาดวงชะตาบ้านเมือง พวกเขาจึงถือเอาวันแรกของสงกรานต์ (13 เม.ย.) เป็น “วันส่งเจ้าเมืองเก่า” โดยจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์สิ่งไม่ดีออกไป ส่วน “วันว่าง” (14 เม.ย.) ชาวนครจะไปทำบุญตักบาตรที่วัด และสรงน้ำพระพุทธรูป และวันสุดท้ายเป็น “วันรับเจ้าเมืองใหม่” (15 เม.ย.) จะทำพิธีต้อนรับเทวดาองค์ใหม่ด้วยการแต่งองค์ทรงเครื่องอย่างสวยงามส่งท้ายสงกรานต์ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งทางวพบ.นครศรีธรรมราช ได้จัดกิจกรรมสืบสานอนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์ ผู้บริหาร อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ร่วมสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ ณ หอพระ ประจำวิทยาลัย เพื่อความร่มเย็นเป็นสิริมงคลตามขนบธรรมเนียม